backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

วิธีการลดคอเลสเตอรอล ด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์

วิธีการลดคอเลสเตอรอล ด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์

คอเลสเตอรอล เป็นไขมันในเลือดที่ได้มาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพบางประการ เช่น ช่วยให้ฮอร์โมนปกติ ช่วยให้เซลล์มีความแข็งแรง แต่หากร่างกายมีปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ดังนั้น จึงควร ลดคอเลสเตอรอล ด้วยการเปลี่ยนแปลง ไลฟ์สไตล์ เพื่อช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง และป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ

[embed-health-tool-heart-rate]

คอเลสเตอรอลสูง ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

อย่างที่ทราบกันดีว่า คอเลสเตอรอล เป็นไขมันที่อยู่ในเลือด แต่หากเมื่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือดนั้นสูงขึ้น ก็อาจทำให้คอเลสเตอรอลเกาะตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือด จนทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการแข็งตัว และตีบตัน ส่งผลทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลง บางครั้งคราบเหล่านั้นอาจไปอุดตันเส้นเลือด หรือเกิดลิ่มเลือดบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะบริเวณหลอดเลือดหัวใจ จนขัดขวางการไหลเวียนไปยังหัวใจอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้ และหากลิ่มเลือดมีการไปอุดตันยังเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงในสมอง ก็อาจยังเป็นการขัดขวางการไหลเวียนของเลือดที่จะไปเลี้ยงสมองก็อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้ด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าเพียงแค่ระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้นมาก็สามารถทำให้สุขภาพร่างกายเข้าสูความเสี่ยงการเกิดโรคที่รุนแรงขึ้น จนนำไปสู่การเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วในอนาคตเลยทีเดียว

ปัจจัยที่ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีสูงขึ้น

ปัจจัยที่ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีอยู่ในระดับที่สูงขึ้นได้ มีดังต่อไปนี้

  • อาหาร คอเลสเตอรอลส่วนหนึ่งที่ร่างกายได้รับนั้นมาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป โดยอาหารบางชนิดช่วยทำให้ร่างกายได้รับคอเลสเตอรลชนิดไม่ดี เช่น ไขมันอิ่มตัวที่พบได้ในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ไขมันทรานส์ ที่พบได้ในคุกกี้ นอกจากนี้ยังมีอาหารจำพวก เนื้อแดง ผลิตภัณฑ์จากนม ก็สามารถช่วยให้คอเลสเตอรอลนั้นสูงขึ้นได้อีกด้วย
  • โรคอ้วน หากเมื่อมีการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) แล้วพบว่าตนเองนั้นอยู่ในระดับ ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป นั่นอาจเป็นผลลัพธ์ที่แสดงให้เห็นได้ว่ากำลังเสี่ยงต่อการเป็นโรคคอเลสเตอรอลสูง และโรคอ้วน
  • การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานาน และจำนวนมากต่อวัน อาจส่งผลให้สารต่าง ๆ เข้าไปทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้มีแนวโน้มที่จะสะสมไขมันได้มากขึ้น อีกทั้งการสูบบุหรี่อาจทำให้ระดับคอเลอเตอรอล HDL หรือ คอเลสเตอรอลดีลดลงได้
  • อายุ เมื่อายุมากขึ้นสารเคมีในร่างกายก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการมีคอเลสเตอรอลสูง เช่น เมื่ออายุมากขึ้นตับจะกำจัดคอเลสเตอรอล LDL หรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีได้น้อยลง
  • โรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมักจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลที่เป็นอันตรายสูงขึ้น พร้อมทั้งยังทำให้ระดับคอเลสเตอรอลHDL ลดลง นอกจากนี้หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ยังไปทำลายเยื่อบุหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงบาง แตกเปราะได้ง่าย และยังทำให้เกิดคราบจับตัวที่ผนังหลอดเลือดแดง จนหลอดเลือดเกิดการตีบตัน ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

วิธี ลดคอเลสเตอรอล ด้วยการเปลี่ยนแปลง ไลฟ์สไตล์ 

การที่ร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลที่สูงขึ้น จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหัวใจวาย ปกติแล้วผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลที่สูงมากอาจจะได้รับยาจาดแพทย์เพื่อช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล แต่การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์บางอย่างนั้น ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้คอเลสเตอรอลลดลงโดยสามารถปฏิบัติตามได้ ดังนี้

  • ลดบริโภคไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อแดง และผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันอิ่มตัว
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์ เพราะไขมันทรานส์จะช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลได้
  • รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน วอลนัท เพราะกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ และมีประโยชน์อื่น ๆ ต่อร่างกาย พร้อมยังลดความดันโลหิตได้
  • เพิ่มไฟเบอร์ การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง โดยเฉพาะไฟเบอร์แบบละลายน้ำได้ จะสามารถช่วยดูดซึมคอเลสเตอรอลที่อยู่ในเลือด ที่สำคัญไฟเบอร์แบบละลายน้ำยังพบได้ง่ายในอาหารหลายชนิด เช่น ข้าวโอ๊ต ถั่วแดง แอปเปิ้ล
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั้นมีส่วนช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล HDL ได้ และยังมีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล LDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีได้อีกด้วย โดยควรออกกำลังกายในระดับปานกลาง หรืออกกำลังกายสัปดาห์ละ 4-6 วัน ครั้งละ 30 นาที
  • เลิกสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่นอกจากจะส่งผลเสียต่อปอด เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เพราะการสูบบุหรี่ยังช่วยเร่งการสะสมคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงตีบตัน ไหลเวียนเลือดได้ไม่สะดวก ที่สำคัญการสูบบุหรี่หรือการได้รับควันบุหรี่จากผู้สูบ มีผลทำให้ระดับคอเลสเตอรอล HDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดีลดลงได้ไม่แพ้กับคนสูบเลยทีเดียว
  • ลดน้ำหนัก การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีส่วนช่วยให้มีน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ลดความเสี่ยงการเกิดโรคอ้วน ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลนั้นคงที่ และดีขึ้นได้

การปรับและเปลี่ยนไลฟสไตล์การใช้ชีวิต เป็นเพียงวิธีหนึ่งที่ช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอลในเลือดได้ แต่สำหรับบางคนอาจจะต้องใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงไลฟสไตล์การใช้ชีวิต เนื่องจากภาวะสุขภาพที่ทุกคนเผชิญมักมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน จึงอาจจำเป็นต้องเข้าขอคำปรึกษาจากแพทย์ หรือใช้วิธีที่แพทย์กำหนดให้เพียงเท่านั้น จึงจะได้รับความปลอดภัยมากที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Top 5 lifestyle changes to improve your cholesterol. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-cholesterol/in-depth/reduce-cholesterol/art-20045935

Lifestyle Changes to Improve Your Cholesterol. https://familydoctor.org/lifestyle-changes-improve-cholesterol/

How to lower your cholesterol without drugs. https://www.health.harvard.edu/heart-health/how-to-lower-your-cholesterol-without-drugs

Lower your cholesterol. https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/lower-your-cholesterol/

High cholesterol. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-cholesterol/diagnosis-treatment/drc-20350806

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/08/2022

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 30/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา