อาการเจ็บหน้าอกมักทรุดลงในผู้ชายขณะทำกิจกรรมทางร่างกาย และอาการจะหายไปหลังพักผ่อน ผู้หญิงมีโอกาสเกิดอาการปวดเค้นในหน้าอกมากกว่าผู้ชายในขณะพักผ่อนหรือนอนหลับ
ในผู้หญิงที่เป็นโรค coronary microvacular disease (โรคหัวใจชนิดหนึ่งที่กระทบกับเส้นเลือดที่เล็กที่สุดของหลอดเลือดหัวใจ) อาการปวดเค้นหน้าอก มักเกิดขึ้นในระหว่างทำกิจวัตรประจำวัน อย่างเช่น ซื้อของหรือทำกับข้าว มากกว่าในขณะออกกำลังกาย ความเครียดยังมักจะกระตุ้นอาการปวดเค้นในหน้าอกในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
ความรุนแรงของอาการปวดเค้นในหน้าอก มีหลายรูปแบบ อาการอาจทรุดลงหรือเกิดขึ้นบ่อยกว่าเดิม เนื่องจากการก่อตัวของคราบพลัคที่ไปทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบลงอย่างต่อเนื่อง
สัญญาณบ่งชี้ของอาการแทรกซ้อน
โรคหัวใจบางประเภท จะสามารถตรวจพบได้โดยไม่ต้องนัดตรวจ ตัวอย่างเช่น หากเด็กเกิดมาพร้อมกับโรคหัวใจพิการขั้นรุนแรง โรคนี้จะถูกตรวจพบในไม่ช้าหลังการคลอด ในอีกกรณีหนึ่ง โรคหัวใจของคุณอาจถูกวินิจฉัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่างเช่น หัวใจวาย
แม้ว่าคุณอาจไม่แสดงอาการของโรคหัวใจ เข้ารับความช่วยเหลือทางการแพทย์ทันที หากคุณมีอาการของโรคหัวใจดังต่อไปนี้ ได้แก่
- เจ็บหน้าอก
- หายใจถี่
- หน้ามืด
เมื่อไหร่ที่ควรพบหมอ
โรคหัวใจเป็นโรคที่ทำการรักษาได้ง่ายหากตรวจพบได้ไว พูดคุยกับหมอของคุณ เกี่ยวกับความกังวลของคุณเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจ หากคุณกังวลว่าคุณจะเป็นโรคหัวใจ พูดคุยกับหมอของคุณเกี่ยวกับขั้นตอนที่คุณสามารถทำได้ เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ สิ่งนี้ยิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งหากคุณมีประวัติของสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคหัวใจ
หากคุณคิดว่า คุณอาจเป็นโรคหัวใจ โดยอ้างอิงจากสัญญาณและอาการที่คุณกำลังเป็น นัดพบหมอทันที
อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
อาการแทรกซ้อนของโรคหัวใจ ได้แก่
- โรคหัวใจล้มเหลว หนึ่งในอาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคหัวใจ หัวใจล้มเหลวเกิดขึ้น เมื่อหัวใจของคุณไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หัวใจล้มเหลวเป็นอาการที่มาจากโรคหัวใจหลายรูปแบบ ได้แก่ โรคหัวใจพิการ โคหัวใจและหลอดเลือด โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจติดเชื้อหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม (cardiomyopathy)
- หัวใจวาย ลิ่มเลือดจะไปปิดกั้นการไหลเวียนเลือดผ่านหลอดเลือดที่ส่งให้กับหัวใจ ก่อให้เกิดหัวใจวาย ความเสียหายหรือกล้ามเนื้อหัวใจส่วนใดส่วนหนึ่งถูกทำลาย โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) สามารถก่อให้เกิดโรคหัวใจวายได้
- หลอดเลือดในสมองแตกหรือสโตรก ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถนำไปสู่ภาวะสมองขาดเลือด ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดสมองของคุณตีบหรือถูกอุดกั้น ทำให้เลือดไปถึงสมองน้อยเกินไป หลอดเลือดในสมองแตก เป็นอาการฉุกเฉินทางการแพทย์ เนื้อเยื่อสมองจะเริ่มตายภายในไม่กี่นาทีของการเกิดภาวะนี้
- ผนังเส้นเลือดโป่งพอง (Aneurysm) อาการแทรกซ้อนรุนแรงที่สามารถเกิดขึ้นตรงบริเวณไหนก็ได้ของร่างกาย ผนังเส้นเลือดโป่งพองเป็นการพองในผนังเส้นเลือดของคุณ หากผนังเส้นเลือดโป่งพองเกิดระเบิดออก คุณอาจพบกับการตกเลือดภายในที่อันตรายถึงชีวิต
- หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral artery disaese: PAD) ภาวะหลอดเลือดแข็งยังสามารถนำไปสู่โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ เมื่อคุณเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ แขนและขาของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขา จะไม่มีการไหลเวียนของเลือดอย่างเพียงพอ สิ่งนี้จะทำให้เกิดอาการเจ็บขาในขณะที่ออกเดิน
- ภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน (Sudden cardiac arrest) ภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน เป็นการสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ การหายใจ และสติสัมปชัญญะอย่างฉับพลัน ซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจาก ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน เป็นอาการฉุกเฉินทางการแพทย์ หากไม่ได้รับการรักษาโดยทันที ภาวะนี้อันตรายถึงชีวิต ก่อให้เกิดการเสียชีวิตอย่างฉับพลัน
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคหัวใจ
หมอจะทำการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยอ้างอิงจากประวัติทางการแพทย์ และประวัติครอบครัว ปัจจัยเสี่ยงของคุณ การตรวจร่างกาย และผลจากการตรวจ
ไม่มีการตรวจเดี่ยวๆ ชนิดใดที่สามารถวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจได้ หากหมอของคุณคิดว่าคุณเป็นโรคนี้ หมออาจแนะนำการตรวจทางการแพทย์ประเภทหนึ่งหรือมากกว่านั้น
การตรวจที่ช่วยวินิจฉัยโรคหัวใจ
นอกเหนือจากการตรวจเลือดและการเอ็กซเรย์หน้าอก การตรวจเพื่อวินิจฉัย โรคหัวใจอื่นๆ ได้แก่
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)
- การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว (Holter monitoring)
- การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram)
- การสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac catheterization)
- การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การรักษาและการจัดการ
การรักษาโรคหัวใจ
การรักษาโรคหัวใจ มีความหลากหลายตามอาการ นอกจากนี้ หากคุณมีอาการติดเชื้อที่หัวใจ คุณมักจะได้รับยาปฏิชีวนะ โดยทั่วไป การรักษาโรคหัวใจ ได้แก่
- การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ การรับประทานอาหารที่มีไขมันและโซเดียมต่ำ ออกกำลังกายทั่วๆ ไปอย่างน้อย 30 นาที หลายวันในสัปดาห์ เลิกสูบบุหรี่ และจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- กินยา หากการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์อย่างเดียว ยังไม่เพียงพอ หมอของคุณอาจจ่ายยาเพื่อควบคุมโรคหัวใจของคุณ ประเภทของยาจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรคหัวใจ
- วิธีการทางการแพทย์หรือการผ่าตัด หากการใช้ยายังไม่เพียงพอ มีความเป็นไปได้ที่หมอของคุณ จะแนะนำวิธีการเฉพาะหรือการผ่าตัด ประเภทของวิธีการจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรคหัวใจ และขอบเขตความเสียหายของหัวใจคุณ
วิธีจัดการกับโรคหัวใจ
โรคหัวใจสามารถรักษาให้ดีขึ้นหรือป้องกันได้ โดยการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่าง การเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้ จะสามารถช่วยใครก็ตามที่ต้องการพัฒนาสุขภาพหัวใจ
- หยุดสูบบุหรี่
- ควบคุมอาการโรคอื่นๆ อย่างเช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูงและเบาหวาน
- ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หลายๆ วันต่อสัปดาห์
- รับประทานอาหารที่มีเกลือและมีไขมันอิ่มตัวต่ำ
- ควบคุมน้ำหนักในเกณฑ์ที่ดี
- ลดและจัดการความเครียด
- รักษาสุขอนามัยที่ดี
นอกจากนี้ การเข้ารับการตรวจร่างกายเป็นประจำ การตรวจพบและการรักษาอย่างรวดเร็ว สามารถวางแผนคุณภาพชีวิตของการมีสุขภาพหัวใจที่ดียิ่งขึ้นได้
คุณอาจรู้สึกหงุดหงิด เศร้า หรือกดดัน หลังทราบว่าคุณหรือคนที่คุณรักเป็นโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม มันยังมีหนทางที่จะช่วยจัดการกับโรคหัวใจหรือทำให้อาการดีขึ้นได้ เช่น การตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่อง หากคุณมีอาการของหัวใจที่เกิดขึ้นซ้ำหรือเรื้อรัง การตรวจสุขภาพเป็นประจำกับหมอของคุณ จะช่วยให้คุณมั่นใจว่าคุณจัดการกับอาการโรคของคุณอย่างเหมาะสม
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย