backup og meta

หวัดแดด VS หวัดฝน

หวัดแดด VS หวัดฝน

ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีอากาศร้อนชื้นเกือบตลอดปี ทั้งยังมีฝนตกบ่อย ๆ อีกด้วย จึงทำให้หลายท่านมีโอกาสเป็นหวัดกันได้ง่ายๆ หลายๆ ท่านอาจจะคิดว่าการเป็นหวัดนั้นจะเกิดช่วงหน้าฝนได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่โดนฝนบ่อ ยๆ แต่จริง ๆ แล้วยังมีหวัดอีกประเภทคือ หวัดแดด หรือหวัดหน้าร้อนก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่มีโอกาสเป็นกันได้ง่าย

[embed-health-tool-heart-rate]

หวัดแดด เกิดจากอะไร?

ไข้หวัดแดด (Summer Flu) เกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ ที่มีปัจจัยทางด้านอากาศและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อยเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการหวัดแดด โดยร่างกายจะสะสมความร้อนเอาไว้ภายใน จนทำให้ล้มป่วยลง คนที่ต้องเข้า ๆ ออก ๆ ระหว่างห้องแอร์เย็นฉ่ำ กับนอกห้องที่ร้อนจัดบ่อยครั้ง ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเป็น ไข้หวัดแดด ได้ง่าย เพราะร่างกายปรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยไม่ทันนั่นเอง

โดยผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ที่สามารถป่วยเป็น ไข้หวัดแดด ได้มากกว่าปกติ คือ

  • ผู้ที่ต้องเข้าออกไปมาบ่อย ๆ ระหว่างห้องที่อากาศเย็นจากเครื่องปรับอากาศ กับภายนอกที่อากาศร้อนกว่ามาก
  • ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง หรือทำงานท่ามกลางอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่กำลังป่วย หรือมีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงพอ
  • ผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีความแออัดเป็นเวลานาน
  • เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไม่คุ้นกับอากาศร้อนจัด

อาการของไข้หวัดแดด

ปกติแล้วอุณหภูมิในร่างกายของคนเราจะอยู่ที่ 36-37 องศาเซลเซียส แต่หากเจออากาศร้อนมาก ๆ อุณหภูมิร่างกายอาจสูงขึ้นได้ โดยอุณหภูมิร่างกายจะไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเพลียแดด รู้สึกเหมือนเป็นไข้รุม ๆ ร่วมกับอาการเฉพาะของหวัดแดด ดังต่อไปนี้

  • ตัวร้อน มีไข้รุม ๆ แต่ต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส
  • ปวดศีรษะ มึนศีรษะ อ่อนเพลียไม่มีแรง
  • ตาแดง *** อาจมีการปวดแสบที่กระบอกตา ซึ่งกรณีนี้ต้องระวังมาก เพราะเป็นอาการแสดงว่า ร่างกายสะสมความร้อนไว้มาก จนร่างกายรับไม่ไหว ควรรีบไปพบแพทย์***
  • ริมฝีปากแห้ง แข็งแต่ไม่แตกลอก ปากแห้ง คอแห้ง แสบคอ แต่ไม่ถึงกับเจ็บคอ
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว เป็นตะคริว
  • ปากจืด ปากขม เบื่ออาหาร กินอะไรก็ไม่อร่อย คลื่นไส้ อาเจียน
  • นอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ
  • ปั่นป่วนท้อง ท้องเสีย ขับถ่ายไม่ปกติ เช่น ถ่ายไม่เป็นเวลา ถ่ายยาก ปัสสาวะกะปริบกะปรอย เวลาปัสสาวะจะรู้สึกมีความร้อนสูงออกมาด้วย

หวัดแดด กับหวัดธรรมดา ต่างกันตรงไหน

  • ไข้หวัดธรรมดา- มีไข้ ปวดศีรษะ เป็นหวัด ปวดหัว คัดจมูกมาก อ่อนเพลีย และมีอาการเจ็บคอ น้ำมูกไหล มีเสมหะร่วมด้วย
  • ไข้หวัดแดด- จะเกิดจากร่างกายสะสมความร้อนเอาไว้มาก จนระบายออกไม่ทัน ผู้ป่วยจะมีไข้ตัวร้อน ปวดศีรษะมาก ตาแดง แต่ไม่ค่อยคัดจมูก มีน้ำมูก หรืออาจมีน้ำมูกใสเล็กน้อยและไม่มีอาการเจ็บคอ แต่จะรู้สึกขมปาก คอแห้ง แสบคอแทน

วิธีป้องกันและรักษาหวัดแดด

เมื่อเป็นหวัด! เรามีวิธีป้องกันและรักษาโรคหวัดง่าย ๆ เพียงแต่ผู้ป่วยต้องมีวินัยในการดูแลสุขภาพตัวเองด้วย

  • ลดอุณหภูมิร่างกาย อยู่ในที่ร่ม ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ใช้ผ้าเช็ดตัวเพื่อลดความร้อนในร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดด และความร้อนโดยตรงเป็นเวลานาน ควรพกร่มหรือใส่เสื้อคลุมกันแดด หากต้องอยู่กลางแจ้งนาน ๆ
  • ช่วงที่อากาศร้อน ควรสวมเสื้อผ้าโปร่งสบาย เนื้อผ้าไม่หนาเกินไป สีอ่อน และระบายอากาศได้ดี
  • อย่าหลบร้อนด้วยการพึ่งแอร์เย็น ๆ ทันทีทันใด เพราะร่างกายจะปรับอุณหภูมิไม่ทัน จนเป็น ไข้หวัดแดด ได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8 แก้วและทานอาหารผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง
  • ใช้หน้ากากอนามัยเมื่อเป็นหวัด เพื่อป้องกันไม่ให้ใครติดหวัด ไม่อยู่ในที่แออัด ล้างมือบ่อย
  • หลีกเลี่ยงบุหรี่และแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้งอย่างน้อย และต่อเนื่องเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์

หลังจากได้ทราบถึงความแตกต่างระหว่าง ไข้หวัดแดด และไข้หวัดกันแล้วก็อย่าลืมรักษาสุขภาพกันนะคะ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Is It a Cold or the Flu? How to Tell the Difference. https://symptoms.webmd.com/cold-flu-map/difference-cold-or-flu. Accessed June 28, 2019

9 Way Not To Get Sick during The Rainy Season. https://www.culi.chula.ac.th/salc/9%20ways%20how%20to.htm. Accessed June 28, 2019

Common Colds: Protect Yourself and Others. https://www.cdc.gov/features/rhinoviruses/index.html. Accessed June 28, 2019

Aucott JN, et al. (2011). Misdiagnosis of early Lyme disease as the summer flu. DOI: 10.4081/or.2011.e14. Accessed June 28, 2019

The flu season. (2016). cdc.gov/flu/about/season/flu-season.htm. Accessed June 28, 2019

Key facts about influenza (flu). (2017). cdc.gov/flu/keyfacts.htm. Accessed June 28, 2019

Komaroff AL. (2009). When to contact your doctor about flu symptoms.
health.harvard.edu/staying-healthy/when-to-contact-your-doctor-about-flu-symptoms

Lofgren E, et al. (2007). Influenza seasonality: Underlying causes and modeling theories. DOI: 10.1128/JVI.01680-06. Accessed June 28, 2019

Lowen AC, et al. (2007). Influenza virus transmission is dependent on relative humidity and temperature. DOI: 10.1371/journal.ppat.0030151. Accessed June 28, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/04/2024

เขียนโดย พญ. จิรภัทร สุริยะชัยสวัสดิ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง

ไข้หวัด คืออะไร อาการ สาเหตุ และการรักษา


เขียนโดย

พญ. จิรภัทร สุริยะชัยสวัสดิ์

สุขภาพ · โรงพยาบาลกรุงเทพ


แก้ไขล่าสุด 05/04/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา