backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราว (Transient Global Amnesia)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 08/07/2020

กลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราว (Transient Global Amnesia)

กลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราว (Transient Global Amnesia) เป็นการสูญเสียความทรงจำชั่วคราวโดยฉับพลัน ซึ่งไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ในขณะนั้นชั่วคราว ผู้ป่วยจะรู้สึกสับสน มึนงง

คำจำกัดความ

กลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราว (Transient Global Amnesia) คืออะไร

กลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราว (Transient Global Amnesia) เป็นการสูญเสียความทรงจำชั่วคราวโดยฉับพลัน ซึ่งไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ในขณะนั้นชั่วคราว ผู้ป่วยจะรู้สึกสับสน มึนงง จำไม่ได้ว่าตนเองอยู่ในที่ไหน หรือสถานที่ใด

อย่างไรก็ตาม กลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราวนั้นเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในช่วงระยะเวลาสั้นมักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่อยู่ในวัยกลางคนถึงวัยชรา หากพบว่ามีอาการรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยโรค

พบได้บ่อยเพียงใด

ผู้ที่ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราวส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคนถึงวัยชรา

อาการ

อาการของกลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราว

ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราวจะลืมเหตุการณ์ ความทรงจำช่วงเวลานั้นชั่วคราว นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ที่สังเกตได้ ดังนี้

  • ผู้ป่วยมีการรับรู้สิ่งต่างๆ ตามปกติ เช่น จำชื่อสิ่งที่คุ้นเคย การทำตามคำแนะนำแบบง่ายๆ
  • ผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติใดๆ ที่บ่งบอกถึงความผิดปกติทางสมอง
  • ผู้ป่วยไม่มีประวัติของโรคลมชักหรืออาการบาดเจ็บทางศีรษะ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการสูญเสียความทรงจำ

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของกลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราว (Transient Global Amnesia)

  • ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์หรือผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม
  • สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่การสูญเสียความทรงจำ
  • ความผิดปกติของฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ที่ทำหน้าที่ จัดระบบการเรียนรู้ต่อความทรงจำ
  • อาการบาดเจ็บบริเวณศีรษะ เช่นเดียวกับโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียความจำที่มักเกิดขึ้นชั่วคราว
  • การดื่มแอลกอฮอล์เป็นระยะเวลานาน ส่งผลทำให้สมองเสื่อม
  • อาการเครียดรุนแรง

ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราว

  • อายุ ผู้ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราวมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า
  • ประวัติไมเกรน ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นไมเกรนมีความเสี่ยงสูงต่อกลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราว
  • การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยกลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราว       

    ในเบื้องต้นแพทย์หรือนักประสาทวิทยา จะทำการสอบถามประวัติเกี่ยวกับความทรงจำ โดยอาจให้สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลช่วยในการประเมิน

    หลังจากนั้นแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการทำซีที สแกน  (Computerized Tomography Scan : CT SCAN) หรือตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( Magnetic Resonance Imaging : MRI) เพื่อตรวจสอบความเสียหายของสมองอย่างละเอียด

    การรักษากลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราว

    โดยปกติกลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราวจะหายไปเองโดยไม่ต้องรับการรักษา อย่างไรก็ตามหากมีอาการผิดปกติทางร่างกายหรือส่งผลกระทบต่อจิตใจอาจต้องได้รับการรักษา เช่น การใช้จิตบำบัด การสะกดจิต การใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทในการเตือนความทรงจำผู้ป่วย (การรับประทานยา รายชื่อคนที่เรารู้จัก ภาพถ่าย)

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษากลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราว

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับกลุ่มอาการลืมความทรงจำทั้งหมดชั่วคราวทำได้โดยการรักษาสุขอนามัยที่ดี และวิธีอื่นๆ ดังนี้

    • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์รวมถึงอาหารที่บำรุงหัวใจ
    • ใส่หมวกป้องกันเมื่อเล่นกีฬา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกกระทบกระเทือน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 08/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา