backup og meta

ไขข้อสงสัย พาราเบน ในเครื่องสำอาง ส่งผลอันตรายต่อผิวเราได้จริงหรือ

ไขข้อสงสัย พาราเบน ในเครื่องสำอาง ส่งผลอันตรายต่อผิวเราได้จริงหรือ

แน่นอนว่าผลิตภัณฑ์เสริมความงามอย่าง เครื่องสำอาง และสกินแคร์ ที่เราพบเห็นกันอยู่ทั่วไปนั้น อาจล้วนมีสารเคมีบางอย่างปะปน เพื่อรักษาคุณสมบัติภายในของผลิตภัณฑ์ไว้ แต่ใครจะไปรู้ว่าในขณะเดียวกัน เจ้าสารตัวนี้ก็อาจส่งผลเสียให้แก่ผิวของผู้ใช้ได้เช่นกัน บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ จึงขอพาทุกคนมารู้กับสาร พาราเบน ให้มากขึ้น เพื่อป้องกันก่อนเกิดอันตรายแก่ผิวพรรณของเรา

สารพาราเบน คืออะไร

พาราเบน (Parabens) เป็นสารเคมีกลุ่มหนึ่งที่มาจาก กรดพาราไฮดรอกซีเบนโซอิก (Para-hydroxybenzoic acid) ซึ่งใช้เพื่อเป็นสารกันบูดในเครื่องสำอาง อาหาร และยา รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต้องมีการยืดอายุการใช้งานให้อยู่กับเราได้นานมากขึ้น พร้อมทั้งยังเป็นการป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเกิดการเน่าเสียจากแบคทีเรีย จุลินทรีย์รอบตัวได้อีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่มีพาราเบนเป็นส่วนประกอบ

หากคุณต้องการหลีกเลี่ยง หรือลดการใช้งานจากผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารพาราเบนลง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ คุณสามารถตรวจสอบได้จากฉลากด้านข้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รวมไปถึงอาหารในชีวิตประจำของเราได้ ดังต่อไปนี้

  • สกินแคร์ดูแลผิวหน้า
  • แชมพู ครีมบำรุงผม
  • ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย
  • เครื่องสำอาง
  • น้ำอัดลม
  • แยมผลไม้
  • ผลไม้ และผักดอง
  • อาหารแปรรูป
  • อาหารแช่แข็ง
  • น้ำเชื่อม
  • ซอสปรุงอาหาร

ที่สำคัญผลิตภัณฑ์บางยี่ห้อ ผู้ผลิตอาจไม่ได้ระบุสารพาราเบนโดยตรง แต่อาจระบุเป็นชื่อ หรือชนิดของสารพาราเบนทดแทน เช่น เมทิลพาราเบน (Methyl paraben) โพรพิวพาราเบน (Propylparaben) บูทิลพาราเบน (Butylparaben) และ เอทิลพาราเบน (Ethylparaben) เป็นต้น

ไขข้องใจ พาราเบน ส่งผลเสียต่อผิวของเราได้หรือไม่

จากข้อมูลขององค์การอาหารและยา ในประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration; US FDA) ระบุว่า พาราเบนที่ทางผู้ผลิตนิยมนำมาใช้ทั่วไปค่อนข้างได้รับการยอมรับอย่างมากในหมู่ผู้เชี่ยวชาญถึงความปลอดภัย หากผลิตภัณฑ์นั้นได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดจากอย. เพราะการที่จะนำผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทออกวางขายสู่ท้องตลาดได้ จำเป็นต้องผ่านการรับรอง ตรวจสอบ และจดแจ้งข้อมูลภายใต้กฎหมายเสียก่อนว่าเป็นสินค้าที่ให้ความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

การได้รับพาราเบนเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากเกินไป ในบางกรณีก็อาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งบางชนิดอย่าง มะเร็งเต้านมได้ เนื่องจากพาราเบนเหล่านี้เข้าไปมีปฏิกิริยาก่อให้เกิดเซลล์มะเร็ง แต่ถึงอย่างไรยังคงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงการใช้งานของพาราเบนที่เชื่อมโยงกับการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มเติม เพื่อเป็นการระมัดระวังถึงความปลอดภัยที่แน่ชัด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Parabens in Cosmetics https://www.fda.gov/cosmetics/cosmetic-ingredients/parabens-cosmetics Accessed August 28, 2020

Parabens Factsheet https://www.cdc.gov/biomonitoring/Parabens_FactSheet.html Accessed August 28, 2020

Parabens https://www.chemicalsafetyfacts.org/parabens/ Accessed August 28, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/09/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทัลคัม (Talcum) ในเครื่องสำอาง..อันตรายจริงหรือไม่

เครื่องสำอางปลอม ความเสี่ยงในการใช้งานที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 15/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา