backup og meta

แก้ปัญหาริมฝีปากดำคล้ำ ด้วยการ สักปาก อมชมพูแลดูสุขภาพดี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/06/2020

    แก้ปัญหาริมฝีปากดำคล้ำ ด้วยการ สักปาก อมชมพูแลดูสุขภาพดี

    สักปาก ในปัจจุบันเป็นการเสริมความงามอีกสิ่งที่สาวๆ นิยมใช้บริการอย่างมาก เพราะมีเฉดสีให้เลือกตามความชอบของตน และยังทำให้ไม่จำเป็นต้องพึ่งลิปสติกอีกต่อไป แค่เพียงตื่นขึ้นมาก็มีริมฝีปากที่แลดูสุขภาพดี อิ่มฟู หากสาวๆ คนไหนกำลังตัดสินใจ หรือศึกษาอยู่ละก็ ลองอ่านในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ ที่ได้นำเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ มาฝากทุกคนกัน

    รู้จักกับการ สักปาก อย่างละเอียดก่อนใช้บริการกันเถอะ

    การสักปาก หรือ สักริมฝีปาก เป็นการสักโดยระดับมืออาชีพเฉพาะทาง ที่ผ่านการฝึกฝน และมีใบผ่านการรับรองมาตรฐานเท่านั้น พร้อมอุปกรณ์เครื่องสักที่มีเข็มขนาดเล็ก และยังสามารถเลือกเฉดสีที่ต้องการ ซึ่งเป็นเทคนิคการฝังเม็ดสีนลงไปบนขอบริมฝีปาก หรือภายในของริมฝีปากคุณให้สวยงาม อาจมีความเจ็บปวดเล็กน้อย ผู้ที่จะตัดสินใจใช้บริการนี้ควรศึกษาร้าน และช่างให้ดีเสียก่อน เพราะถ้าหากไม่ทำการตรวจสอบแต่เบื้องต้น อาจทำให้สาวๆ เสี่ยงติดเชื้อบางชนิดได้

    ผลข้างเคียงหลังจากได้รับจากการ สักปาก

    ก่อนที่ทุกคนจะตัดสินใจไปเพิ่มสีสันบนริมฝีปาก ควรพิจารณาจากผลข้างเคียง ดังต่อไปนี้ ที่อาจเกิดขึ้นหลังใช้บริการ

  • ริมฝีปากมีอาการบวม
  • ด้วยเข็มสักที่จิ้มลงไปในจำนวนที่ค่อนข้างหลายครั้ง อาจมีอาการบวม และปวด ซึ่งจริงๆ เป็นเรื่องที่ค้นพบได้ทั่วไปทุกกรณี และจะบรรเทาลงจนอาการบวมหายไปได้เอง เมื่อดูแลอย่างถูกต้องตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

  • การติดเชื้อ
  • หลังจากการสักเสร็จสิ้น หากมีอาการที่ผิดปกติบริเวณริมฝีปาก อาจมาจากการติดเชื้อที่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยพฤติกรรมของคุณเอง เช่น การใช้น้ำยาบ้วนปาก หรือ การเลียริมฝีปากอยู่บ่อยๆ รวมทั้งได้รับการสักจากอุปกรณ์ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน และการฆ่าเชื้อก่อนสัก ทำให้เกิดการติดเชื้อ จากแบคทีเรีย ดังนั้นคุณควรรีบปรึกษาแพทย์โดยทันทีถึงวิธีการรักษาอย่างถูกต้อง

    • แผลเป็น

    เมื่อคุณบกพร่องในการดูแลแผลจากการสักปาก อาจทำให้เกิดร่องรอยแผลเป็นบนริมฝีปากของคุณได้ จากความสวยงามที่หวังไว้ อาจเหลือเพียงความเด่นชัดของรอยแผลเป็นปรากฏแทน

    • โรคติดต่อทางเลือด

    เมื่อร้านที่คุณไปใช้บริการไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่มีการค้นหาข้อมูลทางร้านให้ดีเสียก่อน อาจส่งผลให้คุณติดเชื้อทางเลือดก่อให้เกิดโรคได้ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี เชื้อเอชไอวี เป็นต้น โดยผ่านอุปกรณ์ที่ไม่มีกระบวนการฆ่าเชื้อ หรือเข็มสักที่ไม่ได้รับการเปลี่ยนในลูกค้ารายต่อราย

    เตรียมตัว สักปากชมพู

    เตรียมตัวให้พร้อมอย่างไร ก่อน และ หลังสักปาก

    ก่อนการสักปาก

    1. ไม่ดื่มเครื่องดื่ม เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนการนัดหมาย

    2. ล้างเครื่องสำอางบนใบหน้าให้สะอาด ก่อนเดินทางถึงร้านบริการสักปาก

    3. เตรียมร่างกาย และจิตใจให้พร้อม เพราะผู้ใช้บริการบางคนอาจมีอาการกลัวเข็ม หรือไม่สามารถทนความเจ็บปวดได้นาน แต่อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญอาจมีการใช้ยาชาก่อนเข้ารับบริการประมาณ 30 นาที เพื่อให้คุณรู้สึกปวดน้อยลง

    4. ไม่ควรรับประทานยาบางชนิด เช่น แอสไพริน ก่อนการเข้ารับบริการ 5 วัน

    5. งดการใช้ยารักษาสิว ที่อาจก่อให้ระคายเคืองผิว อย่าง เรตินเอ (Retin-a)

    6. แจ้งประวัติถึงโรคประจำตัว อาการ เช่น ไข้หวัด เริม รวมถึงยาที่คุณใช้อยู่ปัจจุบัน

    วิธีดูแลหลังการสักปาก

    1. ลดอาการบวมด้วยน้ำแข็ง หรือเจลเย็น เป็นเวลา 10 -15 นาที ทุกๆ 4 ชั่วโมง

    2. ระวังสบู่ล้างหน้า แชมพู ไหลลงมาโดนริมฝีปาก ในขณะที่คุณกำลังชำระล้างร่างกาย รวมถึงงดการใช้น้ำยาบ้วนปากเพราะอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อได้

    3. งดใช้วาสลีนทาบริเวณริมฝีปาก หลังจากการสักปาก ภายในเวลา 24 ชั่วโมงแรก  ให้เปลี่ยนเป็นทาครีมวิตามินเอ และ ดี โดยใช้คัตตอนบัตทาเบาๆ เพื่อป้องกันการปากแห้ง ให้ชุ่มชื้น โดยอาจเว้นระยะการทาประมาณ 30 นาที และควรทาอีกครั้ง ช่วงเวลาก่อนนอน

    4. ควรแปรงฟันเบาๆ และบีบยาสีฟันเล็กน้อย ใน3 วันแรก อาจมีการทาครีมวิตามินก่อนการแปรง เพื่อป้องกันการเสียดสีระหว่างแปรงสีฟัน และริมฝีปากของคุณ

    5. หลีกเลี่ยงอาหาร ที่สัมผัสกับริมฝีปากโดยตรง และเครื่องดื่ม ที่มีความเป็นกรด เช่น แซนด์วิช น้ำผลไม้

    6. งดแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่ จนกว่า แผลจะหายดี

    7. งดการทาลิปสติก หรือเครื่องสำอางใดๆ โดยรอบเป็นเวลา 7 วัน

    8. หลีกเสี่ยงการเผชิญกับแสงแดด หรือปกป้องริมฝีปากให้เจอแดดน้อยที่สุกเป็นเวลา 2 สัปดาห์

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/06/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา