backup og meta

5 ประโยชน์ของเสียงดนตรี ที่ฟังเมื่อไหร่ ก็ทำให้คุณยิ้มได้ทันที

5 ประโยชน์ของเสียงดนตรี ที่ฟังเมื่อไหร่ ก็ทำให้คุณยิ้มได้ทันที

สงสัยกันไหม ว่าทำไมเวลาที่เรามีเรื่องไม่สบายใจ หรือมีความรู้สึกไม่สบอารมณ์ พอได้ฟังเสียงดนตรีแล้ว กลับทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายขึ้นมาได้ทันที และยังเกิดความเพลิดเพลินอินไปกับเพลงที่เราชื่นชอบ ทำให้จิตใจพร้อมที่จะเริ่มกิจกรรมดี ๆ ได้ตลอดทั้งวัน นอกจากข้อดีข้างต้นแล้ว วันนี้ Hello คุณหมอ ก็ได้นำ ประโยชน์ของเสียงดนตรี ด้านอื่น ๆ มาฝากอีกด้วย เพื่อให้ทุกคนลองหันมาปรับอารมณ์ด้วยการฟังเสียงเพลงแทนการทำลายสิ่งของ จนอาจทำไปสู่การทำร้ายตนเอง หรือคนรอบข้างได้

ประโยชน์ของเสียงดนตรี ที่อาจเสริมสร้างจิตใจ และร่างกายให้ดีขึ้น

จากการวิจัยล่าสุดในวารสารจิตเวชศาสตร์ พบว่าดนตรีสามารถใช้เป็นการรักษาบำบัดผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังปรับปรุงการทำงานของสมองของผู้ป่วยพาร์กินสัน สมองเสื่อม โรคหลอดเลือดในสมอง และเส้นเลือดตีบในสมองอีกด้วย

ซึ่งการทดลองนี้นักวิจัยได้ทำการทดลองกับผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 25 ครั้ง ด้วยกัน จึงจะได้ข้อสรุปว่าการใช้ดนตรีบำบัด หรือการฟังเสียงเพลงช่วยลดความเศร้าในจิตใจ และความวิตกกังวลได้ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีของผู้ป่วยนั้นดีขึ้น แต่นอกจากการวิจัยข้างต้นแล้ว การฟังเสียงดนตรีที่เราชื่นชอบยังให้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้อีกดังนี้

1.ลดความเครียด

ในการศึกษาปี 2013 ผู้เข้าร่วมการทดสอบที่นักวิจัยได้คัดมาส่วนใหญ่มักมีภาวะความเครียดจากสิ่งรอบข้างในสังคม แต่เมื่อได้รับการฟังเสียงเพลง เนื้อหา ทำนอง หรือจังหวะ คลื่นเสียงคุณได้ยินนั้น จะถูกส่งเข้าสู่ระบบประสาทอัตโนมัติ จึงทำให้ผู้ทดสอบเริ่มผ่อนคลายตนเองจากความเครียดได้ค่อนข้างรวดเร็ว

2.ปรับปรุงหน่วยความจำ

เพราะการฟังเพลงเป็นประจำ ทำให้เกิดความคิดในเชิงบวก ปรับอารมณ์ให้อยู่ในระดับดีได้เสมอ จึงไม่เกิดการขัดขวางการทำงานของหน่วยความจำ และยังพบการศึกษาชิ้นหนึ่งสรุปผลออกมาได้ว่า ผู้ที่รักเสียงดนตรีเรียนรู้ภาษา และความหมายจากเพลงนั้น ๆ ที่พวกเขาได้ฟัง จนเกิดการจดจำเปล่งเสียงร้องตาม หรืออาจนำมาพูดสื่อสารปรับในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย นับได้ว่าเป็นการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาเลยทีเดียว

3.นอนหลับได้ดีขึ้น

อาการนอนไม่หลับ หรือนอนผิดเวลา เป็นปัญหาที่ทุกช่วงวัยมักเจอกันอยู่บ่อย ๆ นักวิจัยได้เผยว่าการฟังดนตรีคลาสสิกเป็นเสียงเพลงที่ให้ความเบาสบายผ่อนคลายเหมาะกับช่วงเวลาเข้านอนมากที่สุด และมีความปลอดภัยมากกว่ารับประทานยานอนหลับ โดยเฉพาะกรณีที่คุณไม่ได้มีปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า วิตกกังวล เป็นต้น

4.เสริมสร้างอารมณ์ให้ดีขึ้น

การฟังเพลงบ่อย ๆ ทำให้เรานั้น เพลิดเพลิน และรู้สึกสนุกไปกับจังหวะ จนเกิดการกระตุ้นทางด้านอารมณ์ในเชิงบวก จนคุณมีความสุขขึ้นมาเองโดยที่ไม่รู้ตัวมาก่อน พอส่องกระจกอีกทีก็เห็นรอยยิ้มบนใบหน้าแทนสีหน้าบึ้งตึงเสียแล้ว

5.เพลิดเพลินไปกับการออกกำลังกาย

เมื่อเราเข้าไปยังสถานที่ที่ผู้รักสุขภาพรวมตัวกัน อย่างฟิตเนส หรือสวนสาธารณะ คุณมักจะพบเห็นคนส่วนใหญ่ใส่หูฟังไป วิ่งไป แม้กระทั่งฟิตเนสที่ต้องคอยเปิดเพลงกระตุ้น นั่นอาจหมายความได้ว่าเป็นเทคนิคเล็ก ๆ ที่ทำให้คุณเพลิดเพลินกับการออกกำลังกายมากขึ้น ไม่เช่นนั้นคุณอาจจดจ่อกับท่าบริหารต่าง ๆ มากเกินไป ซึ่งจะทำให้ร่างกายคุณเหนื่อยล้ากว่าเดิม จนเกิดเป็นความเครียด และเจ็บปวดกล้ามเนื้อได้

สไตล์เพลงที่ฟังของแต่ละบุคคลมักแตกต่างกันออกไป แต่ถึงอย่างไรก็ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของช่องหู โดยการปรับระดับเสียงให้อยู่ในระดับกึ่งกลาง หรือลดน้อยลงกว่านั้น ไม่ควรเพิ่มระดับเสียงสูงสุดโดยเฉพาะผู้ที่ชอบใส่หูฟังมากกว่าการเปิดดนตรีแบบลำโพง เพราะอาจทำให้แก้วหูภายในนั้นอักเสบ จนคุณรู้สึกเจ็บปวด จนนำไปสู่อาการหูหนวกได้อย่างถาวร

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How Listening to Music Can Have Psychological Benefits https://www.verywellmind.com/surprising-psychological-benefits-of-music-4126866 Accessed March 16, 2020

Music Benefits Both Mental And Physical Health https://www.medicalnewstoday.com/articles/258383#1 Accessed March 16, 2020

Does Music Affect Your Mood? https://www.healthline.com/health-news/mental-listening-to-music-lifts-or-reinforces-mood-051713#1 Accessed March 16, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย วรภพ ไกยเดช

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

อากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตก ร้อนจัด ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา