backup og meta

ทำไมเมื่อยล้าถึงต้องมองสีเขียว สี มีอิทธิพลต่อร่างกายจริงหรือ?

ทำไมเมื่อยล้าถึงต้องมองสีเขียว สี มีอิทธิพลต่อร่างกายจริงหรือ?

คุณเป็นคนที่ชอบเลือกซื้อของใช้ส่วนตัวตามสีที่ชอบหรือเปล่า? แม้จะเป็นสิ่งของที่ชอบแต่หากไม่มีสีที่คุณชอบ คุณก็เลือกที่จะรอให้ของสิ่งนั้นผลิตสีที่คุณชอบออกมาหรือไม่? ถ้าเป็นเช่นนั้น คุณต้องไม่พลาดหาคำตอบเรื่องอิทธิพลของ สี กับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ

สี มีอิทธิพลกับเราอย่างไร

โลกของเราเต็มไปด้วยสีสันต่างๆ มากมาย สีสันเหล่านั้นแต่งแต้มให้สิ่งต่างๆ ดูมีชีวิตชีวา สวยงาม และสร้างสรรค์ แต่สีไม่ได้เกิดมาเพียงสร้างสีสันสวยงามเท่านั้น เพราะสียังมีอิทธิพลต่อผู้พบเห็นได้เช่นกัน สีสามารถเปลี่ยนอารมณ์และพฤติกรรม รวมถึงเสริมความมั่นใจให้คุณได้เป็นอย่างดี

สีมีอิทธิพลต่อคนเราไม่น้อย ซึ่งคุณอาจได้ประโยชน์จากสี ดังนี้

สีช่วยเสริมความจำ

สีมีผลต่อความจำของคนเรา เวลาที่เห็นสีแดงเราจะจำได้ทันทีว่านี่เป็นสัญญาณของคำเตือน ในขณะที่เวลาเราเห็นสีเขียวร่างกายจะจำได้ว่านี่เป็นสัญญาณของความสบายใจ รวมถึงการใช้ปากกาสีบันทึกข้อความต่างๆ ก็จะช่วยให้เราสามารถจดจำข้อมูลเหล่านั้นได้

สีกับนาฬิกาชีวิต

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า โทนสีฟ้าสว่างสดใส จะช่วยในการรีเซ็ตนาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm) ของคุณ ซึ่งนาฬิกาชีวภาพหรือนาฬิกาชีวิตที่ว่านี้ ก็คือระบบวงจรการทำงานภายในร่างกายของมนุษย์ตลอด 24 ชั่วโมง จากงานวิจัยยังพบอีกว่า สีฟ้าเป็นสีของพลังบวก ยิ่งมองสีฟ้ามากเท่าไหร่ก็จะช่วยคลายความเครียดและความกดดันลงได้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเวลาที่เรามองไปยังท้องฟ้ากว้างแล้วจะรู้สึกสดชื่นและสบายใจ เสมือนว่าร่างกายได้รับการฟื้นฟูจากความเหนื่อยล้าและความเครียดที่รุมเร้า

สีกับความคิดสร้างสรรค์

นักวิทยาศาสตร์แนะนำว่าสีเขียวจะช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของคนทำงานและคนทั่วไปได้ เมื่อเปรียบเทียบกับสีเทา สีขาว สีแดง และสีฟ้า พบว่าสีเขียวสามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ดีกว่า ดังนั้นหากใครที่กำลังจะแต่งบ้าน หรือทำออฟฟิศใหม่ การมีพื้นที่สีเขียว หรือผนังสีเขียว ก็จะช่วยให้ผู้ที่อาศัยได้รับประโยชน์ในส่วนนี้

สีกับอาหารการกิน

มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าสีสันในจานอาหาร ช่วยให้คุณเจริญอาหารได้มากขึ้น คุณสามารถที่จะรับประทานได้มากขึ้นหากในเมนูนั้นๆ มีสีสันจับตา มองดูแล้วน่ารับประทาน โดยจะเห็นว่าเวลาที่มีอาหารวางเรียงรายอยู่มากมาย เรามักจะเลือกตักอาหารที่มีสีสันสวยงามชวนรับประทานก่อนเสมอ  ขณะเดียวกันสีบางสีในอาหารก็มีผลทำให้ความอยากอาหารลดลง หรือทำให้คุณเบื่ออาหารได้ด้วยเช่นกัน สีดังกล่าวก็คือ สีฟ้า ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำว่าหากคุณต้องการที่จะลดน้ำหนัก หรืออยากรับประทานอาหารน้อยลงให้เลือกรับประทานอาหารที่มีสีฟ้า

สีต่างกันก็ให้ความรู้สึกต่างกัน

สีต่างกัน ก็ให้ความรู้สึกต่อผู้ที่พบเห็นแตกต่างกัน เช่น

สีแดง ให้ความรู้สึกถึงความมีพลัง อำนาจ อันตราย ความปรารถนา รวมถึงความรัก ใครหลายคนมักจะเลือกสิ่งของหรืออะไรก็ตามให้เป็นสีแดง เพื่อบ่งบอกถึงอำนาจ มีความมั่นใจ ปราดเปรียว

สีดำ ให้ความรู้สึกลึกลับ พลัง อำนาจ ความตาย ความหรูหรา  ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าสีดำไม่ได้เป็นเพียงสีแห่งความมืดมิดอีกต่อไป สินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก็หันมาใช้สีดำกันมากขึ้น เพราะให้ความรู้สึกหรูหราและคลาสสิคมากกว่าเฉดสีสันอื่นๆ

สีขาว ให้ความรู้สึกถึงความว่างเปล่า สะอาด เรียบง่าย บริสุทธิ์ ทันสมัย ทุกวันนี้สีขาวจึงมักถูกนำมาใบ้ในการออกแบบที่สื่อถึงสิ่งใหม่ๆ กลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ ใช้ในอาคารและสถาปัตยกรรมที่มีความทันสมัย

สีฟ้า ให้ความรู้สึกสงบ สดชื่น ขณะเดียวกันสีฟ้าก็ให้ความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัย ยิ่งไปกว่านั้นสีฟ้ายังทำให้รู้สึกถึงความน่าเชื่อถือได้อีกด้วย

สีเหลือง ให้ความรู้สึกถึงความสนุกสนาน สดใส การเฉลิมฉลอง พลัง และคนรุ่นใหม่ มักใช้ในงานสร้างสรรค์ที่สนุกสนาน รื่นเริง เป็นสีที่ให้พลังานของการเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและความกระตือรือร้น 

การมองสีเขียวช่วยให้เราผ่อนคลายจริงหรือ

หลายคนคงจะคุ้นหูกับคำแนะนำที่ว่า เวลาทำงานมาเหนื่อย จ้องมองจอคอมพิวเตอร์นานๆ ให้หาเวลาพักสายตาด้วยการมองสีเขียว จะช่วยให้ผ่อนคลายและสบายสายตามากขึ้น 

เราควรเริ่มกันที่อิทธิพลของสีเขียว สีเขียวให้ความรู้สึกถึงธรรมชาติ ความสบาย การพักผ่อน และความโชคดี มีงานวิจัยเกี่ยวกับสีหลายชิ้นที่ให้ผู้เข้าร่วมทำการวิจัยเลือกมองสีต่างๆ และแทบทุกครั้ง สีเขียวมักจะเป็นสีที่สรุปออกมาในเรื่องของการช่วยผ่อนคลายความเมื่อยล้าเสมอ โดยเฉพาะสีเขียวที่เป็นธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ป่าไม้ หรือทุ่งหญ้า

ศาสตรจารย์ โรเจอร์ เอส อัลริช (Roger S. Ulrich) ผู้อำนวยการศูนย์ระบบสุขภาพและการออกแบบแห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส เอแอนด์เอ็ม (Center for Health Systems and Design at Texas A&M University) กล่าวว่า ธรรมชาติช่วยเยียวยาร่างกายของมนุษย์ และจากผลงานวิจัยสร้างชื่อของศาสตรจารย์ โรเจอร์ พบว่า การให้คนไข้ได้มองเห็นพื้นที่สีเขียว เห็นต้นไม้ หรือป่าไม้ ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้เร็วขึ้น 

อย่างไรก็ตามมีบทความจากมหาวิทยาลัยนันยาง ประเทศสิงคโปร์ได้กล่าวเอาไว้ว่า การมองสีเขียวอาจไม่ได้ช่วยอะไร หรือไม่ได้ช่วยให้สายตาได้พักผ่อนเสียทีเดียว หากแต่เป็นการมองออกไปไกลๆ มากกว่าถึงจะเรียกได้ว่าเป็นการพักสายตาที่แท้จริง เพราะถึงแม้คุณจะจ้องมองสีเขียวเพื่อประโยชน์ทางสายตา แต่หากสิ่งนั้นอยู่ใกล้มากเกินไป สายตาก็ยังคงใช้งานไปกับการเพ่งไปยังของสิ่งนั้นอยู่ เช่นเดียวกับเวลาที่จ้องมองคอมพิวเตอร์ หรือเล่นโซเชียลมีเดียในสมาร์ทโฟน ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพของการมองสีเขียวที่ดีที่สุด คือการมองสีเขียวที่อยู่ไกลออกไป เพื่อให้สายตาคลายความล้าจากการจ้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน และการมองเห็นสีเขียวจะมีประสิทธิภาพสูงสุดยิ่งขึ้น เมื่อคุณหาเวลาว่างไปพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติดูบ้างสักครั้ง

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How Colors Can Affect You . https://www.webmd.com/balance/ss/slideshow-colors-affect-you. Accessed November 29, 2019

Eye Care Tips: Does Looking at Green Help Ease Myopia?. http://www.nanyang.com.sg/blog/eye-care-tips-does-looking-at-green-help-ease-myopia.C. Accessed November 29, 2019

olour-Coded Emotions. https://tvtropes.org/pmwiki/pmwiki.php/Main/ColourCodedEmotions. Accessed November 29, 2019

Color Psychology. https://www.colorpsychology.org/. Accessed November 29, 2019

Color Psychology: Does It Affect How You Feel?. https://www.verywellmind.com/color-psychology-2795824. Accessed November 29, 2019

The Color Psychology of Green. https://www.verywellmind.com/color-psychology-green-2795817. Accessed November 29, 2019

Green is good for you. https://www.apa.org/monitor/apr01/greengood. Accessed November 29, 2019

‘Simply seeing green spaces’ may help reduce cravings. https://www.medicalnewstoday.com/articles/325765.php#1. Accessed November 29, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิตามินบำรุงสายตา กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์

ใช้สายตามากเกินจนเกิด อาการตาล้า จัดการอย่างไรดี?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา