backup og meta

อาการเมาค้าง ปัญหาแสนหงุดหงิดของนักดื่ม สามารถป้องกันได้

อาการเมาค้าง ปัญหาแสนหงุดหงิดของนักดื่ม สามารถป้องกันได้

ดื่มหนักทีไร วันถัดไปอาการ เมาค้าง ตามมาเสียทุกที อีกทั้งบางคนที่มี อาการเมาค้าง อาจจะต้องใช้เวลาถึงหนึ่งวันเต็มๆ กว่าจะฟื้นตัว และกลับมาเข้าสู่การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ปกติอีกครั้ง แต่ไม่ต้องกังวลกันไปค่ะ เพราะบทความของ Hello คุณหมอ วันนี้มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้คุณไม่ต้องทุกข์ทรมานกับ อาการเมาค้าง มากฝากทุกคนกัน

วิธีแก้ อาการเมาค้าง หลังจากดื่มหนัก

วิธีแก้อาการเมาค้าง นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี แต่มีเพียงไม่กี่วิธีที่ได้รับการทดสอบทางวิทยศาสตร์ หรือพิสูจน์แล้วว่าได้ผล อาหารเมาค้างคือสิ่งที่บางคนต้องพบในตอนเช้าหลังจากดื่มหนักในตอนเย็น อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้แก่ ปวดศีรษะ ภาวะขาดน้ำ เหนื่อยง่าย คลื่นไส้และอาเจียน

ความรุนแรงของ อาการเมาค้าง ของแต่ละคนอาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป มีอาหารหรือน้ำที่ดื่มเข้าไปด้วยหรือไม่ หากไม่อยากตื่นมาแล้วมีการเมาค้าง คุณสามารถปฏิบัติตามวิธีเหล่านี้ เพื่อแก้อาการเมาค้างให้หายไป และพร้อมลุกขึ้นมาทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างสดชื่น

  • ตรวจสอบฉลากบนผลิตภัณฑ์

ลองมองหาเครื่องหมายเปอร์เซ็นต์บนขวด เพื่อดูปริมาณแอลกอฮอล์เป็นเปอร์เซ็นต์ของปริมาตรเครื่องดื่ม (Alcohol by Volume หรือ ABV) พยายามเลือกเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์เป็นเปอร์เซ็นต์ของปริมาตรเครื่องดื่มในปริมาณที่น้อยลง เพื่อให้ร่างกายได้รับแอลกอฮอล์น้อยลง และลดความเสี่ยงต่อการเกิด อาการเมาค้าง ในวันถัดไป

  • วัดปริมาณเครื่องดื่ม

การวัดปริมาณเครื่องดื่มถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการวัดปริมาณเครื่องดื่ม และตระหนักถึงปริมาณที่พวกเขาดื่มเข้าไป เมื่อดื่มที่บ้านบางคนอาจใช้มาตรการที่สำคัญกว่านี้ หรือบางคนอาจจะไม่ตระหนักถึงปริมาณของการดื่ม สิ่งเหล่านี้อาจทำให้แต่ละคนดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่ไม่สามารถจำกัดได้

  • กำหนดจังหวะการดื่มของตัวเอง

คนที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างช้าๆ จะมีโอกาสน้อยที่จะมีอาการเมาค้างอย่างรุนแรงในวันรุ่งขึ้น คนทั่วไปสามารถดื่มแอกอฮอล์ 1 แก้วได้ทุกชั่วโมง นอกจากนั้น การดื่มช้าๆ ยังหมายความว่าบุคลลนั้นอาจดื่มแอลกอฮอล์ได้น้อยลงอีกด้วย

  • เว้นวรรคการดื่ม

พยายามหาเครื่องดื่มอื่นที่ปราศจากแอลกอฮอล์มาดื่มร่วมด้วยทุกวินาที เช่น การไปหาน้ำดื่ม หรือเครื่องดื่มที่ไม่มีฟอง เนื่องจาก คาร์บอเนชั่น (Carbonation) ในเครื่องดื่มที่มีฟอง จะทำให้ร่างกายดูดซึมแอลกอฮอล์ได้เร็วขึ้น

  • ดื่มพอประมาณ

ยิ่งคุณดื่มมาก อาการเมาค้างก็จะยิ่งตามมามากขึ้น ฉะนั้น วิธีป้องกันอาการเมาค้างที่ดีที่สุดก็คือ ดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งก็ไม่มีเกณฑ์ตายตัวว่า ต้องดื่มขนาดไหน เนื่องจากแต่ละคนจะเกิดอาการเมาค้างกับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ต่างกัน

ฉะนั้น คุณต้องสังเกตเอาเองว่า ดื่มแค่ไหนแล้วจะไม่เกิดอาการเมาค้าง บางคนก็ดื่มได้แค่แก้วสองแก้ว แต่บางคนก็ดื่มได้มากกว่านั้น จากงานวิจัยบางชิ้นระบุว่า มีผู้คนจำนวน 23 เปอร์เซ็นต์ ที่ไม่เกิดอาการเมาค้างเลย ไม่ว่าจะดื่มมากขนาดไหน

  • หลีกเลี่ยงคอนจีเนอร์

คอนจีเนอร์ (Congener) คือสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตแอลกอฮอล์ สารคอนจีเนอร์ที่รู้จักกันดีก็ได้แก่ เมทานอล ไอโซเพนทานอล และอะซีโตน เครื่องดื่มที่มีสารคอนจีเนอร์ในปริมาณสูง มักจะทำให้เกิดอาการเมาค้างขั้นรุนแรงได้ ซึ่งเครื่องดื่มที่มีคอนจีเนอร์ในระดับที่สูง ได้แก่

  • วิสกี้ โดยเฉพาะ เบอร์เบิน
  • คอนยัค (Cognac)
  • เตกีล่า

ส่วนเครื่องดื่มที่มีคอนจีเนอร์ในระดับต่ำ ได้แก่

  • วอดก้า
  • รัม
  • จิน

จากการศึกษาของแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ นักวิจัยพบว่า คอนจีเนอร์มีผลต่อความรุนแรงของอาการเมาค้าง โดยผู้คนจะรู้สึกแย่ลงหลังจากการดื่มเบอร์เบินมากกว่าวอดก้า

  • ใช้เหล้าถอน อาการเมาค้าง

การใช้เหล้าถอนพิษเหล้า ฟังดูขัดแย้งกันยังไงไม่รู้ แต่วิธีนี้เป็นวิธีแก้อาการเมาค้างที่นิยมกันมาก เนื่องจากมีการพิสูจน์กันมาแล้วว่าใช้ได้ผล เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็เชื่อกันว่า หลังจากดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปแล้ว เมทานอลจะแปรสภาพเป็นฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) ซึ่งเป็นสารที่มีพิษในระดับสูง ซึ่งสารพิษตัวนี้แหละที่ทำให้เกิดอาการเมาค้างขึ้นมา แต่ถ้าเราดื่มแอลกอฮอล์ในเช้าวันรุ่งขึ้นซ้ำเข้าไปอีก ก็จะช่วยไม่ให้สารพิษที่ว่านี้ก่อตัวขึ้นมาได้ โดยจะสลายไปกับลมหายใจและปัสสาวะในที่สุด

อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำการแก้อาการเมาค้างด้วยวิธีนี้ เนื่องจากอาจทำให้เกิดปัญหาในการดื่ม ที่อาจนำไปสู่การติดเหล้า และกลายเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่ากันเลยทีเดียว

  • ดื่มน้ำเยอะๆ

แอลกอฮอล์ คือยาขับปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้เราปัสสาวะบ่อยขึ้น ถ้าเราดื่มในปริมาณเดียวกับน้ำ ซึ่งในกรณีนี้แอลกอฮอล์ทำให้เกิดอาการขาดน้ำ (Dehydration) ขึ้นมาได้ ถึงแม้ว่าอาการขาดน้ำจะไม่ใช่สาเหตุหลักของอาการเมาค้าง แต่อาจจะส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการต่าง ๆ อย่างเช่น หิวน้ำ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และปากแห้ง

โชคดีที่อาการนี้แก้ไขได้ง่าย ๆ เพียงแค่เราต้องดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอเท่านั้นเอง ซึ่งกฎในการดื่มแอลกอฮอล์ให้ปราศจากอาการเมาค้างก็คือ ดื่มเหล้าแก้วนึงแล้วดื่มน้ำตามแก้วนึง แล้วก่อนจะเข้านอนก็ดื่มน้ำแก้วใหญ่อย่างน้อย ๆ หนึ่งแล้ว

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

แอลกอฮอล์อาจมีผลรบกวนการนอนหลับของเราได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทั้งคุณภาพและระยะเวลาในการนอน ถึงแม้การนอนไม่พอ จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการเมาค้างมากนัก แต่อาจจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ที่มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการเมาค้างขึ้นมาได้

ดังนั้นการนอนเยอะๆ หลังจากดื่มมาอย่างหนัก อาจช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้นได้ แต่ถ้าคุณไม่สามารถข่มตานอนในคืนนั้นได้ลง แล้วต้องมาสิ้นเรี่ยวแรงในวันรุ่งขึ้นล่ะก็ คุณก็ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ให้เมามายในระดับนี้แต่แรกนะ

  • กินอาหารเช้า

บางครั้งอาการเมาค้างก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เหมือนกัน เพราะยิ่งระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ก็ยิ่งทำให้มีอาการเมาค้างรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ถึงแม้ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจะไม่ใช่สาเหตุหลักของอาการเมาค้าง แต่อาจก่อให้เกิดอาการต่างๆ ขึ้นมาได้ อย่างเช่น อ่อนเพลียและปวดศีรษะ ฉะนั้น การกินอาหารเช้าหรืออาหารมื้อดึก นอกจากจะช่วยเพิ่มสารอาหารอย่าง วิตามิน และเกลือแร่ให้แก่ร่างกายแล้ว ยังเป็นการช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดเอาไว้ได้ด้วย

  • อาหารเสริมก็อาจช่วยได้

การอักเสบคือกลไกสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายทำการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เกิดความเสียหาย ซึ่งอาการเมาค้างต่าง ๆ นั้น เชื่อกันว่าเกิดจากการอักเสบในระดับต่ำ ซึ่งมีการพิสูจน์กันมาแล้วว่าการใช้ยาต่อต้านการอักเสบบางชนิด สามารถช่วยเยียวยาอาการเมาค้างอย่างได้ผล แต่ก็อาจส่งผลอันตายต่อตับให้ทำงานหนักมากขึ้นได้เช่นกัน

คุณจึงควรหันมาหาอาหารเสริมที่แสดงให้เห็นว่าช่วยแก้อาการเมาค้างมารับประทานทดแทนเสียดีกว่า เช่น อาหารเสริมที่มีสารสกัดจากโสมแดง และขิง เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นว่าสมุนไพรนี้สามารถช่วยลดระดับแอกอฮอล์ในเลือด อีกทั้งยังช่วยลดอาการหลายอย่างที่เกิดขึ้นของการเมาค้างได้

อาหารเสริมชนิดใหม่ที่กำลังให้ความสนใจกันอย่างมากในต่างประเทศก็คือ อาหารเสริมจากผลกระบองเพชรที่กินได้เรียกว่า พริคลีย์ แพร์ (Prickly Pear) เนื่องจากมีงานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการลดอาการเมาค้างลงได้ถึง 62% เมื่อกินก่อนดื่มเหล้า 5 ชั่วโมง แต่ขณะนี้ยังไม่มีอาหารเสริมชนิดนี้มีจำหน่ายในบ้านเรา

ถึงแม้ว่าอาหารเสริมเหล่านี้อาจไม่ได้ช่วยในการป้องกันอาการเมาค้างได้อย่างสมบูรณ์ แต่อาหารเสริมจากพืชนั้นอาจช่วยบรรเทาหรือเยียวยาอาการเมาค้างได้อย่างมีนัยสำคัญ

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

การดื่มในปริมาณที่พอเหมาะหรือไม่ดื่มเลยเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยง อาการเมาค้าง อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องจำเอาไว้ว่าการดื่มมากเกินไป หรือแม้แต่การดื่มในระดับปานกลาง อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะสั้นหรือระยะยาวได้ ซึ่งผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากกว่าที่แนะนำ อาจทำให้ตนเองมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ เหล่านี้

  • โรคหัวใจ
  • มะเร็งบางชนิด
  • โรคตับ
  • ความเสียหายของระบบประสาท รวมถึงความเสียหายของสมอง และโรคระบบประสาทส่วนปลาย

โดยความเสี่ยงของการเกิดภาวะเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นตามปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปนั่นเอง

วิธีข้างต้นนี้อาจช่วยให้คุณสร่างเมา และหายจากอาการเมาค้างได้เร็วขึ้นไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับสภาวะของร่างกายแต่ละบุคคล แต่ทางที่ดีนั้น คุณควรรู้ตนเองว่าลิมิตในการดื่มแอลกอฮอล์แต่ละครั้งควรจำกัดอยู่ปริมาณเท่าใด เพื่อเป็นการป้องกันอีกขั้นไม่ให้คุณมีอาการเมาค้างในวันถัดไป หรือเป็นการรักษาสุขภาพตนเองเบื้องต้นไม่ให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาในอนาคต

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

7 Evidence-Based Ways to Prevent Hangovers https://www.healthline.com/nutrition/7-ways-to-prevent-a-hangover Accessed on August 31, 2018

Is it possible to prevent a hangover? https://www.medicalnewstoday.com/articles/322254.php Accessed on August 31, 2018

7 steps to cure your hangover https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/7-steps-to-cure-your-hangover-and-ginkgo-biloba-whats-the-verdict Accessed on August 31, 2018

HOW TO AVOID A HANGOVER. https://www.nhs.uk/oneyou/for-your-body/drink-less/how-to-avoid-a-hangover/. Accessed October 12, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/10/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

อากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตก ร้อนจัด ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 16/10/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา