backup og meta

ประโยชน์หลากหลายของ แอลกอฮอล์ล้างแผล ที่จำเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน

ประโยชน์หลากหลายของ แอลกอฮอล์ล้างแผล ที่จำเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน

ในปัจจุบันแอลกอฮอล์ยังคงเป็นความต้องการต่อหลาย ๆ คน ไม่ว่าจะคนทั่วไป หรือในวงการแพทย์ เพราะแอลกอฮอล์ล้างแผลนั้นเป็นสิ่งที่สามารถกำจัดเชื้อโรคบางชนิดที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ซึ่งมีโมเลกุลค่อนข้างเล็กไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ และที่สำคัญยังเป็นส่วนประกอบหลักในการทำเจลล้างมือเพื่อป้องกันไวรัสโควิด-19 ที่กำลังเป็นภาวะวิกฤติระดับโลกอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอจะพาทุกคนมารู้จักกับประโยชน์ของ แอลกอฮอล์ล้างแผล นี้ ว่าสามารถทำอะไรได้อีกบ้าง เป็นความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้นำมาฝากกันค่ะ

รู้จักกับ แอลกอฮอล์ล้างแผลให้มากขึ้น ก่อนนำไปใช้

“เกรดไอพีเอ” หรือชื่อเต็มที่ทางการแพทย์ และนักวิจัยเรียกกันว่า ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl alcohol ; IPA) หรือ “แอลกอฮอล์ล้างแผล” ที่เป็นยาใช้ในการฆ่าเชื้อภายนอกได้เพียงอย่างเดียว ซึ่งมักจะผลิตในระดับความเข้มข้น 70% และ 99% เท่านั้น

ในส่วนความแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% นั้นจะมีประสิทธิภาพ และนิยมใช้ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขณะเดียวกันในรูปแบบของ 99%  ก็มักนำมาเป็นตัวทำความสะอาดภายในโรงงานอุตสาหกรรมเสียมากกว่า เช่น อุปกรณอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ที่สำคัญมีราคาถูกกว่า แต่ก็มีกลิ่นฉุนกว่า เช่นเดียวกัน ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้ทำแอลกอฮอล์ล้างมือแบบเปล่าๆ ที่ใช้เพียงสารชนิดเดียว เพราะเป็นเกรดที่กินไม่ได้ เมื่อล้างมือแล้วไปหยิบจับอาหารเข้าปากก็จะมีผลกระทบกับร่างกาย

แต่ถ้าอยากอยากนำมาทำเป็นเจลล้างมือใช้เอง ก็สามารถใช้ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl alcohol 75% v/v) ในปริมาณ 751.5 มิลลิลิตร นำมาผสมกับ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์ (Hydrogen peroxide 3%) 41.7 มิลลิลิตร และกลีเซอรีน (Glycerin 98%) 14.5 มิลลิลิตร โดยผสมในภาชนะที่มีปริมาตรบอกขนาด 1,000 มิลลิลิตร จากนั้นเติมน้ำกลั่น หรือน้ำต้มสุกที่มีอุณหภูมิค่อนข้างเย็นแล้ว จนถึงปริมาตรของภาชนะ 1,000 มิลลิลิตร และคนเบา ๆ ให้เข้ากัน เพียงเท่านี้ก็จะได้เป็น เจลล้างมือใช้เอง (อ้างอิงสูตรจากองค์การอนามัยโลก)

ประโยชน์ของ แอลกอฮอล์ล้างแผล ที่มีดีกว่าการรักษา

ยามเกิดอุบัติเหตุ สิ่งที่เรานั้นนึกถึงเป็นอย่างแรกนั่นก็คือ การใช้แอลกอฮอล์เพื่อทำความสะอาดสิ่งสกปรกโดยรอบ แต่คุณรู้หรือไม่ ว่านอกจากการใช้เพื่อเป็นการรักษาแล้ว ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ได้อีกหลายด้านด้วยกัน ดังนี้

1. การใช้แอลกอฮอล์ทางการแพทย์

  • ฆ่าเชื้อโรค

แพทย์มักนิยมนำแอลกอฮอล์มาใช้รักษาเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ยับยั้งการเจริญเติบโตของพวกมัน เพราะสิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดไวรัส หรือนำไปสู่การติดเชื้อได้ และควรเป็นแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 50% ขึ้นไป

  • บรรเทาอาการคลื่นไส้

จากการทดสอบพบว่ากลิ่นของแอลกอฮอล์สามารถบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ได้เร็วกว่ายาธรรมดาทั่วไปถึงร้อยละ 50 % และทำให้อาการดีขึ้นรวดเร็วเช่นเดียวกัน ในการรักษานี้ คือการนำสำลีชุบกับแอลกอฮอล์ ให้พอได้กลิ่นเบาๆ เท่านั้น

  • ทำความสะอาดอุปกรณ์ทางแพทย์

ในการรักษาผู้ป่วยแต่ละรายมักมีอาการเจ็บป่วยต่างกัน และถ้าหากไม่ทำความสะอาดอุปกรณ์ในการรักษาก็คงจะส่งผลได้รับเชื้อติดต่อกันเป็นแน่ ดังนั้น บุคลลากรทางการแพทย์จึงนำแอลกอฮอล์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำความสะอาดอุปกรณ์ในการใช้แต่ละครั้ง แต่ถึงอย่างไรก็ตามโรงพยาบาลบางแห่งอาจจำเป็นต้องทิ้งอุปกรณ์ที่ใช้แล้วในทันที เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย

2. การใช้แอลกอฮอล์ภายในครัวเรือน

  • กำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในรองเท้า

หากรองเท้าของคุณมีกลิ่นอับชื้นจากเหงื่อแล้วละก็การนำแอลกอฮอล์มาฉีดพ่นเล็กน้อย ถือว่าเป็นประโยชน์ที่ไม่ค่อยมีคนรู้กันมากนัก อย่างที่ทราบกันดีว่าแอลกอฮอล์มีส่วนช่วยลดแบคทีเรียตัวการที่ทำให้เกิดกลิ่น หลังจากที่คุณฉีดเสร็จแล้ว ควรนำรองเท้าไปตากแดดให้แห้งสนิท ก่อนนำมาสวมใส่อีกครั้ง

  • กำจัดเชื้อบนเครื่องใช้ภายในบ้าน

ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์สมาร์ทโฟน โต๊ะคอมพิวเตอร์ ผ้าม่าน กระจก พื้นบ้าน เครื่องประดับ เป็นต้น เราก็สามารถนำแอลกอฮอล์มาชำระล้างทำความสะอาดได้ อย่างสิ่งของที่เข้าทำความสะอาดได้ง่ายก็อาจนำผ้า หรือลำสีมาชุบเพื่อเช็ดทำความสะอาด หรือหากเป็น ผ้าม่าน อาจต้องใช้วิธีการพ่นแทน

  • กำจัดเห็บจากสัตว์เลี้ยง

บ้านไหนที่กำลังเลี้ยงสัตว์อย่าง สุนัข และแมว อาจต้องพบปัญหากับปรสิตตัวเล็กที่กระจายอยู่ภายใต้ขนที่คุณชอบลูบคลำอย่างแน่นอน ดังนั้น ในการกำจัดเห็บนี้ออกไปอย่างง่ายดาย ควรนำแอลกอฮอล์ถูกับเห็บก่อนจะดึงออกจากผิวหนังของสัตว์เลี้ยง โปรดระวังการนำแอลกอฮอล์สัมผัสกับผิวหนังของสัตว์เลี้ยงโดยตรงหรือในปริมาณที่มากไป เพราะอาจทำให้เกิดการไหม้ได้ และควรเทแอลกอฮอล์ในถ้วยใบเล็กเพื่อแช่เห็บไว้ จนกว่ามั่นใจว่ามันจะตาย แล้วจึงนำไปเททิ้ง

  • ใช้ทาสำหรับบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ

อีกอย่างหนึ่งที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนถึงการนำแอลกอฮอล์มาช่วยรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ เพราะความเย็นของแอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสกับผิวหนัง สามารถกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่ปวดได้ โดยใช้ผ้าชุบแอลกอฮอล์ และประคบในบริเวณนั้น แต่ถึงอย่างไรคุณควรใช้ในปริมาณที่พอดี เพราะอาจเกิดอาการแพ้ และอันตรายของผิวหนังได้

  • นำน้ำออกจากช่องหู

เมื่อคุณรู้สึกถึงอาหารหูอื้อ หรือมีน้ำอยู่ภายในหูหลังการทำกิจกรรมอย่างการว่ายน้ำ คุณสามาถนำแอลกอฮอล์ในปริมาณ ½ ช้อนชา ผสมกับ น้ำส้มสายชู ½ ช้อนชา เช่นเดียวกัน เอียงศีรษะ และหยดสารละลายนี้ลงไปในช่องหู เพื่อให้น้ำที่เข้าไปนั้นไหลออกมา ข้อแนะนำของการทำวิธีนี้ได้ก็คือ ผู้ที่มีการติดเชื้อ หรือผู้มีปัญหาทางหูมาก่อนไม่ควรใช้โดยเด็ดขาดเพราะอาจทำให้สุขภาพช่องหูร้ายแรงกว่าเดิม

อาการแพ้ แอลกอฮอล์ล้างแผล

ผลข้างเคียงเมื่อคุณแพ้แอลกอฮอล์ล้างแผล

ควรเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที หากคุณมีอาการดังนี้

นอกจากนี้คุณไม่ควรใช้แอลกอฮอล์กับการรักษาสิว หรือผู้ที่เป็นไข้ไม่สบาย เพราะอาจทำให้สุขภาพผิวภายนอก และภายในแย่ลง เกิดเป็นสารพิษแทนประโยชน์ ส่งผลไปทำให้ผิวหนังไหม้ ระบบประสาท และหัวใจมีการทำงานที่ผิดปกติได้

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

26 Uses for Rubbing Alcohol, Plus What You Shouldn’t Use It For https://www.healthline.com/health/rubbing-alcohol-uses Accessed March 02, 2020

9 Surprising Benefits Of Rubbing Alcohol You Didn’t Know About  https://www.indiatimes.com/health/healthyliving/9-surprising-benefits-of-rubbing-alcohol-you-didn-t-know-about-321701.html Accessed March 02, 2020

Isopropyl alcohol (topical) https://www.drugs.com/mtm/isopropyl-alcohol-topical.html Accessed March 02, 2020

Guide to Local Production: WHO-recommended Handrub Formulations https://www.who.int/gpsc/5may/Guide_to_Local_Production.pdf  Accessed March 17, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/07/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาคลายกล้ามเนื้อ แอลกอฮอล์ ส่วนผสมอันตราย ที่ห้ามรับประทานพร้อมกัน เด็ดขาด!

อย.เผย วิธีทำเจลล้างมือใช้เอง แสนง่าย ป้องกันเชื้อโรคร้ายให้ไกลห่างคุณ



เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 20/07/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา