backup og meta

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism)

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism)

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญออกมาไม่เพียงพอ โดยต่อมไทรอยด์นี้ตั้งอยู่บริเวณส่วนด้านล่างลำคอ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเข้าไปในกระแสเลือด

คำจำกัดความ

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism)  คืออะไร

ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญออกมาไม่เพียงพอ โดยต่อมไทรอยด์นี้ตั้งอยู่บริเวณส่วนด้านล่างลำคอ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเข้าไปในประแสเลือด 

อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า โรคไฮโปไทรอยด์ส่งผลกระทบต่อทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่หัวใจไปยังสมอง และจากกล้ามเนื้อไปถึงผิวหนัง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้

 พบได้บ่อยเพียงใด

ภาวะไฮโปไทรอยด์ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย  แต่มักพบในผู้สูงอายุเพศหญิงที่อายุ 60 ปี 

อาการ

อาการ ภาวะไฮโปไทรอยด์

ในช่วงแรกผู้ป่วยที่อยู่ใน ภาวะไฮโปไทรอยด์ อาจไม่มีอาการแสดงให้เห็น แต่จะรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย น้ำหนักเพิ่มขึ้น ซึ่งเราอาจคิดว่าเป็นแค่เพียงอาการอ่อนเพลียทั่วไป เราอาจจะเห็นสัญญาณและอาการที่ชัดเจนขึ้น โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ 

กรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรืออยู่ในภาวะมิกซีดีมา (Myxedema) จะมีลักษณะอาการความดันโลหิตต่ำ อุณหภูมิในร่างกายลดลง ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุ ภาวะไฮโปไทรอยด์

สาเหตุส่วนใหญ่ของ ภาวะไฮโปไทรอยด์ เกิดจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์จึงไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาได้เพียงพอ รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เมื่อระบบภูมิคุ้มกันสร้างแอนติบอดี (Antibody) ขึ้นมาทำลายเนื้อเยื่อของตัวเอง จนนำไปสู่ภาวะขาดไทรอยด์
  • ผลข้างเคียงจากการรักษาต่อมไทรอยด์ ผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์มากเกินไป จะต้องได้รับการักษาด้วยการฉายรังสี หรือรับประทานยาต้านไทรอยด์ ซึ่งการรักษาดังกล่าวข้างต้นนี้ อาจนำไปสู่ภาวะไทรอยด์ได้
  • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์อาจส่งผลให้ร่างกายหยุดการสร้างฮอร์โมน (ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยาฮอร์โมนไทรอยด์ไปตลอดชีวิต)
  • การรักษาด้วยรังสี การฉายรังสีใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่ศีรษะและลำคอ ซึ่งอาจส่งผลต่อต่อมไทรอยด์และอาจนำไปสู่ภาวะขาดไทรอยด์ 
  • ยาบางชนิด การยาบางชนิดที่อาจนำไปสู่ภาวะขาดไทรอยด์ เช่น ยาลิเทียม (Lithium) เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะไฮโปไทรอยด์

  • เพศหญิง
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
  • สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นไทรอยด์ 
  • มีโรคประจำตัว เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคเบาหวานชนิดที่ 1 
  • ได้รับการฉายรังสีที่คอ หรือหน้าอก
  • เคยผ่าตัดต่อมไทรอยด์ 
  • ตั้งครรภ์ หรือคลอดทารกภายใน 6 เดือน 

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะไฮโปไทรอยด์

ในเบื้องต้นแพทย์จะตรวจเลือดเพื่อตรวจระดับฮอร์โมน รวมถึงการตรวจฮอร์โมนทีเอสเอชเพื่อดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์

การรุักษาภาวะไฮโปไทรอยด์

หากผู้ป่วยมีภาวะไฮโปไทรอยด์แพทย์อาจแนะนำให้ตัดเอาไทรอยด์ออก แต่ต้องทายาฮอร์โมนไทรอยด์ตลอดชีวิต เพื่อรักษาระดับฮอร์โมนไทรอยด์ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เช่น ยาเลโวไทรอกซิน (Levothyroxine)  ซึ่งเป็นยาสังเคราะห์สำหรับรับประทาน จะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนในร่างกายให้กลับมาเป็นปกติ 

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อบรรเทาอาการไฮโปไทรอยด์

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง เพื่อบรรเทาอาการไฮโปไทรอยด์ สามารถทำได้ด้วยการเฝ้าสังเกตสัญญาณของโรคเพื่อรักษาได้อย่างทันท่วงที บางคนอาจจะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะขาดไทรอยด์สูงแต่ไม่มีอาการ อาจทำการตรวจเพื่อดูว่ามีภาวะขาดไทรอยด์ในระดับเบาหรือเกือบมีอาการ (Subclinical) หรือไม่หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hypothyroidism (underactive thyroid). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hypothyroidism/symptoms-causes/syc-20350284. Accessed March 10, 2020

Everything You Need to Know About Hypothyroidism. https://www.healthline.com/health/hypothyroidism/symptoms-treatments-more.Accessed March 10, 2020

Hypothyroidism (Underactive Thyroid) https://www.webmd.com/women/hypothyroidism-underactive-thyroid-symptoms-causes-treatments. Accessed March 10, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/03/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเกือบหมด (Subtotal Thyroidectomy)

มารู้ทัน!! มะเร็งต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Cancer) ก่อนสาย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 19/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา