backup og meta

กิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ เสริมสร้างความสุขยามสูงวัย

กิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ เสริมสร้างความสุขยามสูงวัย

กิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเสริมสร้างความสุขให้กับผู้สูงอายุ เพราะกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ อย่างการร้องเพลง การวาดภาพ ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร นอกจากจะส่งผลดีต่อสุขภาพกายแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวควรประเมินสุขภาพตนเองก่อนเลือกทำกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน 

[embed-health-tool-heart-rate]

กิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ

กิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ คือ กิจกรรมที่ผู้สูงอายุสนใจเลือกทำในเวลาว่าง เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้แบ่งประเภทกิจกรรรมนันทนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ดังต่อไปนี้

  • กิจกรรมประเภทการออกกำลังกาย เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างการเดิน โยคะ การวิ่ง การปั่นจักรยาน  เป็นต้น 
  • กิจกรรมประเภทศิลปะและวัฒนธรรม เช่น เล่นเครื่องดนตรี ชมภาพยนต์  ดูพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ 
  • กิจกรรมประเภทหัตถกรรม เช่น ปั้นเครื่องปั้นดินเผาหรือการเย็บปักถักร้อย
  • กิจกรรมประเภทงานอดิเรก เช่น สะสมแสตมป์ สะสมเหรียญ การสะสมโบราณวัตถุ ร้องเพลง อ่านหนังสือ 
  • กิจกรรมทางสังคม เช่น การพบปะสังสรรค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด ไปเยี่ยมญาติหรือเพื่อน 

กิจกรรมนันทนาการมีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ อย่างไร

กิจกรรมนันทนาการมีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุทั้งทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • สุขภาพกาย กิจกรรมนันทนาการอาจช่วยให้ระบบทางเดินหายใจและระบบหมุนเวียนเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและข้อต่าง ๆ  นอกจากนี้กิจกรรมนนันทนาการบางประเภทอย่างการหนังสือ วาดภาพ เขียนหนังสือ อาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุได้อีกด้วย  
  • สุขภาพจิตใจ  กิจกรรมนันทนาการอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต ให้รู้สึกสดชื่นแจ่มใสและผ่อนคลายความเครียด ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะความเครียดและภาวะซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นขณะทำกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน เช่น เต้นรำ ไทเก๊ก

คำแนะนำเมื่อผู้สูงอายุทำกิจกรรมนันทนาการ

เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ ผู้สูงอายุจะต้องคำนึงถึงภาวะสุขภาพของตนเอง เช่น โรคประจำตัว ความสามารถในการทำกิจกรรม เพราะอาจเกิดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ นอกจากนี้ผู้สูงอายุจะต้องเข้าใจถึงรูปแบบในการทำกิจกรรมอย่างชัดเจน อย่างกิจกรรมเดินป่า อาจไม่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่าและขา กิจกรรมเต้นรำ อาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่แขนขาอ่อนแรง 

กิจกรรมนันทนาการเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้สูงอายุ นอกจากจะช่วยให้ผู้สูงอายุใช้เวลาว่างได้อย่างเกิดประโยชน์แล้วยังส่งผลดีต่อสุขภาพอีกด้วย 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Activity and Elderly.https://www.elderly.gov.hk/english/healthy_ageing/exe_leisure_travel/activity_and_elder.html.Accessed August 29, 2021

Aging Brains Gain More From Exercise With Good Hydration.https://www.webmd.com/brain/news/20180423/hydration-may-be-key-to-a-beneficial-workout.Accessed August 29, 2021

Exercise for Older Adults.https://medlineplus.gov/exerciseforolderadults.html.Accessed August 29, 2021

Cognitive Health and Older Adults.https://www.nia.nih.gov/health/cognitive-health-and-older-adults.Accessed August 29, 2021

The impact of leisure activities on older adults’ cognitive function, physical function, and mental health.https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6839878/.Accessed August 29, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/08/2024

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สูงวัยอย่างมีคุณภาพ เคล็ดลับในการเตรียมความพร้อม

เคล็ดลับการดูแล สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ให้เหมาะสมกับช่วงวัย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 4 สัปดาห์ก่อน

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา