ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

การสูงวัยทำให้อวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลง นั่นจึงเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุประสบปัญหาสุขภาพค่อนข้างบ่อยกว่าคนวัยอื่น Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ มาไว้ที่นี่ เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงวัย อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงวัย เป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นที่ชัดเจน มักพบในผู้สูงวัยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยอาจมีสัญญาณเตือน เช่น ตาเริ่มพร่ามัว การมองเห็นภาพไม่ชัด และเมื่อเวลาผ่านไปอาการอาจแย่ลง หากไม่ทำการรักษา อาจสร้างความไม่สะดวกสบายในการใช้ชีวิต และสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร เมื่ออายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป คำจำกัดความ จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงวัย คืออะไร  จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงวัย เป็นโรคที่เกี่ยวข้องทางสายตา เกิดจากความผิดปกติบริเวณเรตินาที่เป็นชั้นบาง ๆ ของจุดกลางการรับภาพ และรับรู้แสงที่อยู่ด้านหลังของดวงตา โดยที่ภาพด้านข้างของการมองเห็นยังสามารถมองได้ ซึ่งจอประสาทตาเสื่อมจะไม่ทำให้ตาบอดแต่อย่างใด แต่อาจส่งผลกระทบในการมองเห็นระยะยาว เช่น เห็นขอบของนาฬิกา แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเวลาเท่าไร ประเภทของจอประสาทตาเสื่อม โดยประเภทของจอประสาทตาเสื่อม สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ จอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง เกิดจากการเสื่อมและบางตัวลงของบริเวณศูนย์กลางรับภาพของจอตา โดยมีจุดเหลืองบริเวณจอรับภาพตรงกลางของประสาทตา ที่เรียกว่า ดรูเซ่น (Drusen) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านการมองเห็น รวมถึงการมองเห็นค่อย ๆ ลดลง และสูญเสียการมองเห็นส่วนกลาง พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี จอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก เกิดจากการเสื่อมโดยมีเส้นเลือดผิดปกติงอกขึ้นมาใหม่ ภายใต้เรติน่าและแมคูล่าหากเส้นเลือดนี้เปราะบางจะเกิดการรั่วไหลเข้าสู่เรตินา  ทำให้การมองเห็นบิดเบี้ยว ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นส่วนกลางอย่างถาวร จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงวัย พบได้บ่อยแค่ไหน โดยส่วนใหญ่จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงวัยมักจะพบในช่วงอายุ 50 […]

สำรวจ ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ท้องผูกในผู้สูงอายุ สามารถแก้ไขได้อย่างไร

เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ระบบเผาผลาญ ระบบย่อยอาหารอาจเริ่มมีปัญหา ทำให้อาจส่งผลต่อระบบขับถ่าย ท้องผูกในผู้สูงอายุ อาจสร้างความยากลำบาก ไม่สบายตัวให้กับผู้สูงอายุ อาจถ่ายอุจจาระโดยใช้เวลามากกว่าปกติ อุจจาระอาจมีลักษณะแข็ง แห้ง และก้อนเล็ก รวมถึงถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาการท้องผูกในผู้สูงอายุ เนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้น ระบบเผาผลาญ ระบบย่อยอาหารของผู้สูงอายุอาจมีปัญหา ส่งผลให้ผู้สูงอายุท้องผูก โดยอาจถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้เวลาในการถ่ายนานกว่าปกติ ลักษณะของอุจจาระเป็นก้อนเล็ก แข็ง และแห้ง รวมถึงรู้สึกเหมือนยังถ่ายไม่เสร็จ สาเหตุของท้องผูกในผู้สูงอายุ   สาเหตุของท้องผูกในผู้สูงอายุ อาจมีหลายปัจจัยดังต่อไปนี้  รับประทานอาหารที่มีใยอาหาร หรือไฟเบอร์น้อย ทำให้ลำไส้ไม่มีตัวกระตุ้นช่วยทำให้ขับถ่าย ดื่มน้ำไม่เพียงพอในแต่ละวัน ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร เนื่องจากขาดการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ และอาจทำให้ไม่สามารถขับอุจจาระออกมาได้ เพราะอุจจาระอาจแห้งเกินไป ความเครียด อาจทำให้ลำไส้หยุดบีบตัวชั่วคราว  ผู้สูงอายุอาจรับประทานยาเยอะ เช่น ยาคลายเครียด ยาแก้โรคซึมเศร้า ยาแก้ความดันสูง เนื่องจากยาบางชนิดมีฤทธิ์ลดการบีบไล่อาหาร ทำให้อุจจาระอัดเป็นก้อนแข็ง และเคลื่อนที่ยากจนกลายเป็นอาการท้องผูก  ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ภาวะการบาดเจ็บของกระดูกและไขสันหลัง โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง ลำไส้แปรปรวน ภาวะเรื้อรังของลำไส้ เป็นกลุ่มอาการที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ลำไส้อุดตัน ภาวะการบีบตัวของลำไส้ถูกรบกวนหรือมีสิ่งอุดตัน ทำให้อาหารและของเหลวไม่สามารถเคลื่อนผ่านได้ตามปกติ มะเร็งลำไส้ใหญ่ การอุดกั้นทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นก้อนเนื้องอก หรือเซลล์มะเร็ง ทำให้เกิดการตีบแคบของลำไส้ วิธีแก้ท้องผูกในผู้สูงอายุ  วิธีเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการท้องผูกในผู้สูงอายุได้ เช่น  ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุเดินผิดปกติ อาการ สาเหตุ และการป้องกัน

เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุอาจต้องประสบปัญหาการเดินที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บ หรือความผิดปกติของกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ และโรคทางระบบประสาท ผู้สูงอายุเดินผิดปกติ อาจเดินช้า เดินลากเท้า และในรายที่รุนแรง อาจไม่สามารถเดินหรือช่วยเหลือตัวเองได้ ผู้สูงอายุจึงควรสังเกตอาการและหาสาเหตุ เพื่อการรักษาและป้องกัน อาการของผู้สูงอายุเดินผิดปกติ อาการของความผิดปกติในการเดิน อาจมีอาการแตกต่างกันในแต่ละประเภท โดยอาการที่แสดงอาจมีดังนี้  สูญเสียความสมดุลในการเดิน หรือเสียการทรงตัว  สูญเสียการควบคุมเคลื่อนไหวของการเดิน ยืน หรือลุกนั่งลำบาก เมื่อจะลุกขึ้นยืนใช้เวลานานกว่าปกติและยากในการก้าวเท้าไปข้างหน้า  เดินถอยหลังอย่างมีนัยสำคัญของโรคทางระบบทางประสาท เดินช้าลง ที่อาจเกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแอ  ซึ่งอาการของการเดินที่ผิดปกติอาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และประเภทการเดินผิดปกติ  ประเภทของความผิดปกติในการเดิน มีอะไรบ้าง ผู้สูงอายุเดินผิดปกติ อาจแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ เช่น  การเดินแบบพาร์กินสัน (Parkinsonian Gait หรือ Propulsive Gait) เป็นลักษณะที่อาจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มีลักษณะการเดินลากเท้า ก้าวขาได้สั้น คอและศีรษะโน้มไปข้างหน้า การเดินผิดปกติประเภทนี้มักเกิดขึ้นชั่วคราว ขณะอยู่ในที่แคบหรือเห็นสิ่งกีดขวางในทางเดิน อาจเกิดปัญหาการก้าวขา การหมุนตัว หรือการเดินซอยเท้า สาเหตุอาจเกิดจากโรคพาร์กินสัน   การเดินกระตุก (Spastic Gait) ขามีความอ่อนแอและแข็งผิดปกติ สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติในการควบคุมกล้ามเนื้อที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลาง หรือเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอย่างกะทันหัน ทำให้เกิดการเดินลากเท้า ซึ่งขาดความยืดหยุ่นของข้อเท้าและหัวเข่า พบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาต โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง การเดินขาไขว้เหมือนกรรไกร (Scissors Gait) การทำงานของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายไม่สัมพันธ์กัน […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ป้องกันปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาพที่ดีและมีชีวิตชีวา

ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ เนื่องจากสุขภาพร่างกายย่อมเสื่อมลงเมื่ออายุมากขึ้น และอาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ ดังนั้นการดูแลและ ป้องกันปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ปัจจุบันผู้สูงอายุในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า พ.ศ. 2563 มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 12 ล้านคน หรือราว 18% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอีก 20% ในปี พ.ศ. 2564 จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นตามมา และปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ได้แก่ โรคสามัญทั่วไป เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคไต รวมถึงกลุ่มอาการที่เกี่ยวของกับความชราภาพของร่างกาย การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้แข็งแรงและมีสุขภาพดี ด้วยการมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมถึงครอบครัวและสังคมที่เข้าใจและให้ความช่วยเหลือจึงเป็นเรื่องสำคัญ การดูแลและ ป้องกันปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ อาจเกิดจากกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะในผู้สูงอายุเนื่องจากความเสื่อมของร่างกายเมื่อชราภาพ หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงจากโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ซึ่งการดูแลและการป้องกันโรคที่ผู้สูงอายุกำลังเผชิญก็แตกต่างกันออกไป ดังนี้ ปัญหาความสมดุลของร่างกาย มึนงง และวิงเวียนศีรษะ ปัญหาความสมดุลของร่างกาย อาการมึนงง และวิงเวียนศีรษะ อาจเกิดจาก โรคทางสมอง โรคข้อเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความดันโลหิตต่ำ […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ กับสาเหตุและวิธีแก้ไข

เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น อะไร ๆ ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ หรือด้านอื่น ๆ ที่อาจทำได้ช้าลง ซึ่งรวมไปถึง ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ เช่น ง่วงเร็วขึ้น ตื่นเช้าขึ้น นอนหลับลึกน้อยลง แล้วเราจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรให้ผู้สูงอายุนอนหลับได้ง่ายขึ้น มาดูกันเลย ทำไมผู้สูงอายุมักมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ อาจมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัญหาทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้ต้องลุกมาเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ในช่วงเวลากลางดึก โรคกรดไหลย้อน หากมีการรับประทานอาหารมื้อหนักในช่วงเวลาเย็น หรือกลางดึก ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถส่งผลกระทบต่อระดับออกซิเจนในร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ง่วงนอนในตอนกลางวัน รวมไปถึงอาจมีปัญหาด้านกระบวนการทางความคิด มีภาวะเครียด หรือเป็นโรคซึมเศร้า ความเจ็บปวดที่เกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น ข้ออักเสบ ข้อเข่าเสื่อม การเปลี่ยนแปลงการผลิตฮอร์โมน เช่น เมลาโทนิน คอร์ติซอล ปัญหา การนอนหลับ ของผู้สูงอายุจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การดื่มคาเฟอีน หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การนอนงีบในช่วงเวลากลางวัน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ เทคนิคช่วยแก้ ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ การวิจัยเผยว่าผู้สูงอายุสามารถทำตามขั้นตอนต่าง ๆ อาจช่วยปรับปรุงปัญหา การนอนหลับ ของผู้สูงอายุได้ โดยทั้งนี้ ผู้สูงอายุอาจจำเป็นจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเพื่อ การนอนหลับ อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่ก่อนนอนไม่นาน […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

เคล็ดลับการดูแล สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ให้เหมาะสมกับช่วงวัย

ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใด การรักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก ก็ย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่ควรต้องเอาใจใส่อยู่เสมอ  ถึงแม้จะมีวิธีการดูแลช่องปากพื้นฐานอย่างการแปรงฟันที่เหมือนกัน แต่บางครั้งเมื่ออายุมากขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องตระหนักถึงการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้นตามไปด้วย วันนี้ บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำเคล็ดลับดี ๆ เกี่ยวกับการดูแล สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ มาฝากให้ทุกครอบครัวได้ทราบไปพร้อม ๆ กันค่ะ ปัญหาช่องปาก ที่มักพบเจอในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป มักเริ่มมีจำนวนฟันลดน้อยลงตามช่วงวัยและตามการดูแลรักษาสุขภาพฟัน ถ้าหากไม่มีการ ดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ หรือดูแลไม่ดี ก็อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุนั้นมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาทางด้านสุขภาพช่องปาก ดังต่อไปนี้ โรคเหงือก เป็นอาการที่เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ และเศษอาหารที่อยู่ติดตามซอกฟัน โดยมักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุจำนวนมากประมาณ 68% ในช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป สูญเสียฟัน ส่วนมากการสูญเสียฟันในช่องปากไปมักเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้น แต่ก็สามารถเริ่มหลุดร่วงได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 65-74 ปี จนบางครั้งทำให้จำเป็นต้องหันมาปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน ให้เป็นอาหารที่มีลักษณะอ่อนลง ง่ายต่อการเคี้ยวมาทดแทน ฟันผุ เมื่อรู้สึกปวดฟัน แต่ไม่เข้ารับการตรวจ หรือการรักษาอย่างเท่าทัน ก็อาจทำให้เศษอาหาร หรือแบคทีเรีย ๆ ต่าง ๆ เข้าไปกัดกร่อนจนก่อให้เกิดฟันผุ จนสามารถส่งผลเสียลึกต่อรากฟัน และค่อย ๆ […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

รับมือกับอาการซันดาวน์ ภาวะที่เกิดในผู้ป่วยสมองเสื่อม ช่วงพระอาทิตย์ใกล้ตกดิน

อาการซันดาวน์ (Sundown Syndrome) เป็นอาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ซึ่งมักจะเกิดในช่วงพระอาทิตย์ตกไปจนถึงช่วงค่ำ ๆ ของวัน ในช่วงนี้จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการสับสน กระวนกระวาย ปัญหาเหล่านี้อาจสร้างความลำบากใจให้กับผู้ที่ต้องดูแล วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับที่น่าสนใจ ในการช่วยดูแล รับมือกับอาการซันดาวน์ ในผู้ป่วยสมองเสื่อมมาให้อ่านกันค่ะ อาการซันดาวน์ คืออะไร อาการซันดาวน์ (Sundown Syndrome) เป็นพฤติกรรมที่มักจะเกิดในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ในช่วงพลบค่ำ หรือช่วงที่พระอาทิตย์ใกล้ตกดินไปจนถึงช่วงค่ำ ๆ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่สับสน ก้าวร้าว ต่อต้าน ไม่อยู่นิ่ง ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น ปีนเตียง เห็นภาพหลอน หูแว่วร่วมด้วย สาเหตุของอาการนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนสถานที่ สิ่งแวดล้อม หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น เปลี่ยนที่นอน เปลี่ยนเวลาในการทำกิจกรรมที่เคยทำทุกวัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านี้ส่งผลกับกับอาการที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ความเหนื่อยล้าของวันและแสงที่ลดลงอาจเป็นอีกหนึ่งตัวการที่ทำให้อาการซันดาวน์กำเริบ เคล็ดลับการ รับมือกับอาการซันดาวน์ ในผู้ป่วยสมองเสื่อม อาการซันดาวน์ ที่มักจะเกิดกับผู้ป่วยสมองเสื่อมในช่วงพลบค่ำนั้นมักจะสร้างความกังวล สับสนให้กับผู้ป่วย และอาจสร้างความเหนื่อยล้าให้กับผู้ดูแลได้เช่นกัน เคล็ดลับเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการซันดาวน์ในผู้ป่วยสมองเสื่อมให้ดีขึ้นได้ ปฏิบัติตามตารางเวลา ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมักจะมีปัญหากับการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน เมื่อกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวันเปลี่ยนไป ทำให้พวกเขาไม่รู้สึกคุ้นชิน บางครั้งอาจทำให้เกิดความเครียด สับสน และอาการจะยิ่งรุนแรงขึ้นในช่วงพระอาทิตย์ตกดิน ดังนั้นการมีตารางเวลาในการทำกิจกรรม […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

อาการฉี่ไม่ออก ในผู้สูงอายุ ลูกหลานควรดูแลอย่างไร?

หากคุณตาคุณยาย หรือผู้สูงอายุในครอบครัวมี อาการฉี่ไม่ออก ลูกหลานอย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ คิดว่าเป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุนะคะ เพราะปัญหาสุขภาพที่คนเรามักละเลยอย่างอาการฉี่ไม่ออกนี้ หากปล่อยไว้ในระยะยาวโดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคนี้อย่างละเอียดกันค่ะ อาการ ฉี่ไม่ออก (Urinary Retention) คืออะไร อาการ ฉี่ไม่ออก เป็นภาวะที่ร่างกายรู้สึกปวดปัสสาวะแต่ไม่สามารถขับปัสสาวะออกมาได้ตามปกติ เกิดจากกระเพาะปัสสาวะไม่บีบตัว หรือมีอาการท่อปัสสาวะอุดตัน ภาวะนี้แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง พบบ่อยในกลุ่มคนวัยผู้สูงอายุ และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ท่อปัสสาวะอุดตัน ในผู้สูงอายุ ท่อปัสสาวะอุดตัน เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิด อาการฉี่ไม่ออก และมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการฉี่ไม่ออกได้เช่นกัน ดังนี้ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก การอุดตันของท่อปัสสาวะ กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแอ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่อาจส่งผลให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของปัสสาวะบกพร่อง ภาวะ ฉี่ไม่ออก กับอาการที่ลูกหลานไม่ควรละเลย เมื่อผู้สูงอายุในครอบครัวแก่ตัวลง อาจทำให้เกิดอาการหลง ๆ ลืม ๆ ไปบ้าง ลูกหลานอย่างเราจึงต้องหมั่นคอยสังเกตดูพฤติกรรมและคอยถามอาการของท่านอย่างใกล้ชิด สัญญาณและอาการของภาวะฉี่ไม่ออก หรือปัสสาวะไม่ออก แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. ปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน (Acute Urinary […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

โรคปลายประสาทอักเสบในผู้สูงอายุที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ

อาการชาที่ปลายมือ ปลายเท้าเป็นอาการที่เดี๋ยวมาเดี๋ยวหาย จนหลายๆ คนนิ่งนอนใจ เพราะไม่คาดคิดว่าจะเป็นสัญญาณเตือนไปสู่โรคร้ายแรงอย่างอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคปลายประสาทอักเสบ คืออะไร ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) เป็นสภาวะหนึ่งของเส้นประสาท ที่ทำหน้าที่ในการส่งคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งก็คือสมอง และไขสันหลังไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เกิดความผิดปกติ หรือเกิดโรคบางชนิดได้ หากมันเกิดความเสียหายอาจทำให้เกิดอาการ ชาตามร่างกาย กล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคปลายประสาทอักเสบสามารถส่งผลต่อเส้นประสาทต่างๆ ในร่างกายได้  ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทที่ในหลายๆ แตกต่างกันออกไปในแต่ละคน สำหรับบางคนมันอาจส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทเพียงแห่งเดียว แต่สำหรับบางคนมันอาจส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทหลายๆ เส้นในเวลาเดียวกัน ประเภทของ โรคปลายประสาทอักเสบ โรคปลายประสาทอักเสบเป็นโรคที่สามารถแบ่งออกได้ตามสาเหตุของการเกิดโรค โรคปลายประสาทอักเสบเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีอายุเกิน 55 ปี โรคปลายประสาทอักเสบแบบเดี่ยว (Mononeuropathy) โรคปลายประสาทอักเสบแบบเดี่ยว เป็นโรคที่จะเกิดความเสียหายต่อระบบประสาทส่วนปลายเพียงเส้นเดียว จึงเรียกว่า โรคปลายประสาทอักเสบแบบเดี่ยว (Mononeuropathy) ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยในการเกิดโรคปลายประสาทอักเสบแบบนี้คือ การบาดเจ็บทางร่างกายหรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ นอกจากนี้การที่เส้นประสาทถูกกดทับเป็นเวลานาน ก็สามารถทำให้เกิดได้เช่นกัน เช่น นั่งรถเข็นนานๆ นอนติดเตียง ซึ่งการเคลื่อนไหวร่างกายมีส่วนช่วยกระตุ้นได้ กลุ่มอาการประสาทมือชา (Carpal tunnel syndrome) เป็นหนึ่งในชนิดของโรคปลายประสาทอักเสบแบบเดี่ยว เป็นการที่เส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับทำให้เกิดอาการชาที่มือ ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดกับผู้ที่ทำงานโดยการเคลื่อนไหวมือซ้ำๆ ผู้ที่ต้องพิมพ์งานทั้งวัน ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งวัน โรคปลายประสาทอักเสบแบบหลายเส้น (Polyneuropathy) โรคปลายประสาทอักเสบแบบหลายเส้น เป็นรูปแบบของโรคเส้นประสาทอักเสบรูปแบบหนึ่งซึ่งจะเกิดความผิดปกติกับเส้นประสาทส่วนปลายหลายเส้น โรคปลายประสาทอักเสบแบบหลายเส้นเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากหลายอย่างตั้งแต่การสัมผัสการสารพิษบางชนิด […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

โรคเพมฟิกอยด์ รู้ไว้ก่อนสายเกินแก้

โรคเพมฟิกอยด์ เป็นโรคภูมิต้านตนเองที่หาได้ยาก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย รวมทั้งในเด็ก แต่ส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ แม้โรค เพมฟิกอยด์ จะยังไม่มีวิธีรักษา แต่ก็มีวิธีรักษามากมายให้ได้เลือกใช้บรรเทาอาการที่เกิดขึ้น ดังนั้น หากคุณทำความรู้จักกับโรค เพมฟิกอยด์ เอาไว้ ก็จะทำให้สามารถสังเกตวามผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเอง และเข้ารับการรักษาจากแพทย์ได้อย่างทันท่วงที เพมฟิกอยด์ คือ โรค เพมฟิกอยด์ (Bullous Pemphigoid) ส่วนใหญ่พบในวัยผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย จากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ซึ่งมีการสร้างแอนติบอดี้มาทำลายการยึดของเซลล์ผิวหนังหลุดลอกของชั้นหนังกำพร้า ออกจากผิวหนังชั้นหนังแท้ แอนตี้บอดี้เหล่านี้ก่อให้เกิดการอักเสบ อาการตุ่มน้ำพองที่ผิวหนัง พองที่ขา แขน หน้าท้อง และเยื่อบุต่าง ๆ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของ โรคเพมฟิกอยด์  สาเหตุของการเกิดโรค เพมฟิกอยด์ เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา ร่วมกับมีปัจจัยทางพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมอื่น เช่น เชื้อโรคหรือสารเคมีเป็นปัจจัยกระตุ้น เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบว่า เพมฟิกอยด์ มีความเสี่ยงสูงในวัยผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ หรือบางกรณีอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ เช่น ยา ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ที่อาจทำให้เกิดการเสี่ยงเป็นโรค เพมฟิกอยด์ ได้แก่ ยารักษาโรคสะเก็ดเงิน ยาในกลุ่มยาซัลฟาที่มีกลไกการออกฤทธิ์ช่วยรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น แสงและรังสี การรักษาด้วยแสงและรังสี เพื่อรักษาสภาพผิวบางอย่างอาจกระตุ้นอาการทำให้เกิดเป็นโรค […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

อายุที่มากขึ้น ทำไมถึงทำให้คันตามผิวหนัง

อาการคัน นั้นเป็นความรู้สึกไม่พึงประสงค์ที่ทำให้คุณรู้สึกอยากที่จะเกา อาการคันนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผิวที่มีโรคและไม่มีโรค อาการคันสามารถเกิดขึ้นได้จากปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง โรคที่เกิดกับร่างกายทุกส่วน โรคทางระบบประสาท และโรคอื่นๆ อาการนี้เป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่รับคำปรึกษาด้านผิวหนัง อาการคันในผู้สูงอายุนั้นสามารถนิยามได้ว่าเป็น อาการคันเรื้อรัง ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป อายุและอาการคัน จะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ลองมาดูกันค่ะ เช่นเดียวกันกับอวัยวะอื่นๆ ผิวหนัง นั้นจะเสื่อมสภาพตามเวลาที่ผ่านไป ชีวะวิทยาของผิวหนังเกือบทุกแง่มุมนั้นจะได้รับผลกระทบจากช่วงอายุ ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของหนังกำพร้าที่เป็นเกราะป้องกันของร่างกายนั้นจะลดลงตามอายุ คอลลาเจนภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์จะอยู่ระดับของผิว กลุ่มของผิวหนังที่ให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นนั้นจะค่อยๆ หลุดลอกออก ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างอันตรายต่อคุณสมบัติทางกลุ่มของผิวหนังและการทำงานของเซลล์ผิวหนัง การเปลี่ยนแปลงของอายุและอาการคัน อายุและอาการคัน การมีอายุเพิ่มมากขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่ทำให้เกิดอาการคันผิว ซึ่งมีทั้งการทำงานเป็นเกราะป้องกันของผิวหนังชั้นนอก ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบประสาท เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ทำให้การผลิตไขมันบนชั้นผิวหนังที่ช่วยรักษาระดับของเกราะที่หนังกำพร้านั้นลดลง เริ่มตั้งแต่ช่วงประมาณอายุ 55 ปี ค่า pH ของผิวชั้นหนังกำพร้าจะมีความเป็นกรดลดลง ที่จำเป็นสำหรับการสร้างไขมันที่เป็นส่วนประกอบของเกราะป้องกันการสูญเสียน้ำที่ผิวชั้นนอกนั้นต้องการค่า pH ที่เป็นกรด เมื่อมีอายุ 70 ปี อัตราในการผลิตสารตั้งต้นของชั้นไขมันนั้นจะลดลง ส่งผลให้ไขมันที่จะรักษาระดับของเกราะผิวนั้นไม่เพียงพอ การที่เกราะป้องกันของผิวชั้นนอกไม่เพียงพอนั้นอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดโรคผื่นแพ้สัมผัส ซึ่งจะอธิบายว่าทำไมผู้สูงอายุจึงมักจะบ่นถึงอาการระคายเคืองและอาการคันจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผ้าที่เคยใช้ได้ในสมัยก่อน การสูญเสียต่อมเหงื่อและต่อมน้ำมันบนผิวก็สามารถนำไปสู่อาการคันเนื่องจากผิวแห้ง ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่พบได้มากที่สุดในผู้สูงอายุ   ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับระบบภูมิคุ้มกันเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นจะเรียกว่า “เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมถอยลง” (immunosenescence) ระบบภูมิคุ้มกันที่มีอายุเพิ่มขึ้นนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดการอักเสบเนื่องจากเซลล์ภูมิคุ้นกันที่ผิดปกติ ในผู้ป่วยบางรายนั้น อาการนี้อาจส่งผลให้เกิดอาการแพ้และทำให้ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งที่ทำให้เกิดโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ สภาวะทางประสาท เช่น โรคกระดูกสันหลังเสื่อมนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ ในบางกรณี เซลล์ประสาทรับความรู้สึกอาจจะได้รับผลกระทบและทำให้เกิดอาการคัน โรคเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน (Diabetes […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน