backup og meta

ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ กับสาเหตุและวิธีแก้ไข

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 16/08/2021

    ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ กับสาเหตุและวิธีแก้ไข

    เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น อะไร ๆ ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ หรือด้านอื่น ๆ ที่อาจทำได้ช้าลง ซึ่งรวมไปถึง ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ เช่น ง่วงเร็วขึ้น ตื่นเช้าขึ้น นอนหลับลึกน้อยลง แล้วเราจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรให้ผู้สูงอายุนอนหลับได้ง่ายขึ้น มาดูกันเลย

    ทำไมผู้สูงอายุมักมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ

    ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ อาจมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่

    • ปัญหาทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้ต้องลุกมาเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ในช่วงเวลากลางดึก
    • โรคกรดไหลย้อน หากมีการรับประทานอาหารมื้อหนักในช่วงเวลาเย็น หรือกลางดึก
    • ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน
    • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สามารถส่งผลกระทบต่อระดับออกซิเจนในร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ง่วงนอนในตอนกลางวัน รวมไปถึงอาจมีปัญหาด้านกระบวนการทางความคิด
    • มีภาวะเครียด หรือเป็นโรคซึมเศร้า
    • ความเจ็บปวดที่เกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น ข้ออักเสบ ข้อเข่าเสื่อม
    • การเปลี่ยนแปลงการผลิตฮอร์โมน เช่น เมลาโทนิน คอร์ติซอล

    ปัญหา การนอนหลับ ของผู้สูงอายุจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การดื่มคาเฟอีน หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การนอนงีบในช่วงเวลากลางวัน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ

    เทคนิคช่วยแก้ ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ

    การวิจัยเผยว่าผู้สูงอายุสามารถทำตามขั้นตอนต่าง ๆ อาจช่วยปรับปรุงปัญหา การนอนหลับ ของผู้สูงอายุได้ โดยทั้งนี้ ผู้สูงอายุอาจจำเป็นจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเพื่อ การนอนหลับ อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่ก่อนนอนไม่นาน โดยเปลี่ยนเป็นอาหารว่างก่อนนอนเบา ๆ หรือรับประทานนมอุ่น ๆ แทน
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีนอย่างน้อย 3 หรือ 4 ชั่วโมงก่อนนอน
  • หลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตในห้องนอน
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด โดยอาจใช้วิธีการฟังเพลง อ่านหนังสือ การนวด เพื่อลดความเครียด
  • พยายามเข้านอน และตื่นเวลาเดิม และพยายามที่จะไม่หลับในช่วงเวลากลางวัน
  • การออกกำลังกาย แต่ไม่ควรทำก่อนนอน 3 ชั่วโมง โดยออกกำลังกายเป็นเวลา 20 นาที อย่างเป็นประจำทุกวัน หรือ 4 ครั้ง/สัปดาห์ เช่น ไทเก็ก เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำ
  • ห้องนอนของผู้สูงอายุ ควรเป็นแบบไหนนะ

    เมื่ออายุยิ่งเยอะ การนอนหลับ ก็ยิ่งเพิ่มปัญหาต่าง ๆ หรือบางครั้งอาจจะเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้หากผู้สูงอายุนอนคนเดียว ดังนั้น ห้องนอนของผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญและใส่ใจเป็นพิเศษ

    • เรื่องของแสงไฟ ที่ไม่ควรสว่างหรือมืดจนเกินไป ให้เลือกใช้หลอดไฟที่มีแสงนวลสบายตา และสวิตช์ไฟควรอยู่ใกล้เตียงนอน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ จากการเดินไปเปิดไฟตอนกลางคืน
    • ระบบสื่อสารใกล้มือ เพื่อสามารถขอความช่วยเหลือจากเตียงได้หากเกินเหตุการณ์อะไรขึ้น และควรมีเบอร์โทรศัพท์สำคัญไว้ใกล้ตัว แต่ก็ควรระวังแสงจากการแจ้งเตือนของโทรศัพท์มือถือด้วย
    • ระวังการวางสิ่งของต่าง ๆ บนพื้น เนื่องจากอาจเกิดอันตรายในการสะดุดล้มได้ ทางที่ดีควรจัดวางสิ่งของต่าง ๆ ในห้องให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 16/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา