backup og meta

วัยเก๋าต้องรู้! การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ เพิ่มความฟิตปั๋งให้กับร่างกาย

วัยเก๋าต้องรู้! การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ เพิ่มความฟิตปั๋งให้กับร่างกาย

คุณรู้จัก การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ดีแค่ไหน แน่นอนว่าการออกกำลังกายสำคัญกับทุกเพศทุกวัยเพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกายแล้ว ยังเพิ่มความสดชื่นและลดโอกาสการเกิดโรคบางชนิดได้ การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ จึงสำคัญต่อผู้สูงอายุหลายอย่าง วันนี้เราลองมาอ่านบทความนี้ไปพร้อม ๆ กันเพื่อดูว่าแนวทางการออกกำลังกายในผู้สูงอายุจะมีอะไรบ้าง

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ สำคัญอย่างไร

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะการออกกำลังกายสามารถป้องกันปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง นอกจากนั้นยังช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้ยืดหยุ่นและแข็งแรงมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น

การออกกำลังกายนั้นให้ประโยชน์ในหลายด้านแม่ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังก็สามารถออกกำลังกายได้ แต่ในบางคนสภาพร่างกายอาจมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวจึงจำเป็นที่จะต้องปรึกษาหมอเพื่อรับคำแนะนำในการออกกำลังกายที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง

แนวทาง ออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

เริ่มที่กิจกรรมเบา ๆ หรือกิจกรรมประจำวันที่ผู้สูงอายุทำก็ถือเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง เช่น

  • เดินไปชงชา
  • ย้ายของในบ้าน
  • เดินช้ารอบ ๆ บ้าน
  • ทำความสะอาดบ้าน
  • ลุกนั่งบ่อย ๆ ไม่นั่งติดที่

หรือถ้าอยากเพิ่มระดับอัตราการเต้นของหัวใจให้รู้สึกกระปรี้กระเร่าลองหันมาทำกิจกรรมในระดับกลาง จะทำให้คุณหายใจเร็วขึ้นและรู้สึกอบอุ่นมากขึ้น ควรทำกิจกรรมเป็นเวลา 30 นาทีต่อวัน เช่น

ลองเพิ่มระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกายขึ้นมาอีกจะทำให้คุณหายใจแรงและเร็วขึ้น ควรทำกิจกรรมเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ทุกสัปดาห์

  • วิ่งจ๊อกกิ้ง
  • แอโรบิก
  • ว่ายน้ำเร็ว
  • ขี่จักรยานเร็ว
  • ฟุตบอล
  • เต้นแรง ๆ
  • ออกกำลังกายด้วยศิลปะการต่อสู้

เพื่อให้ได้รับประโยชน์ด้านสุขภาพอย่างเต็มที่การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นก็เป็นสิ่งสำคัญในผู้สูงอายุเช่นกัน ควรทำกิจกรรมสร้างกล้ามเนื้อสัปดาห์ละ 2 วันขึ้นไป กิจกรรมที่จะช่วยสร้างกล้ามเนื้อ เช่น

  • โยคะ
  • พิลาทิส
  • ไทเก็ก
  • ยกน้ำหนัก
  • การออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัว เช่น วิดพื้น ซิทอัพ
  • การทำสวน ขุดดิน พรวนดิน

ความปลอดภัยของ การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุควรระมัดระวังในการออกกำลังกาย และหากมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ร่วมด้วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกายทุกชนิดเพื่อความปลอดภัย เช่น

  • มีอาการวินเวียนศีรษะหรือหายใจถี่
  • อาการเจ็บหน้าอกหรือความดัน
  • มีลิ่มเลือด
  • การติดเชื้อ
  • แผลที่รักษาไม่หาย
  • มีอาการข้อบวม
  • ไส้เลื่อน
  • ศัลยกรรม

ควรสวมเสื้อผ้าและรองเท้าที่กระชับ รองเท้าควรรองรับเท้าของคุณได้ดีเมื่อทำกิจกรรมที่มีแรงกระแทก ทางที่ดีควรเลือกรองเท้าที่ออกแบบมาสำหรับการออกกำลังกายโดยเฉพาะจะดีกว่า และเมื่อเริ่มออกกำลังกายให้เริ่มต้นอย่างช้า ๆ เลือกแนวทางการออกกำลังกายที่คุณรู้สึกสบายที่สุด เพื่อป้องการอาการปวดหรืออันตรายที่อาจเกิดกับคุณได้

ถ้าคุณมีอาการป่วย เป็นไข้หวัดหรือเจ็บป่วยอื่น ๆ ให้หยุดการออกกำลังกายไว้ก่อน ทำการรักษาและพักผ่อนจนร่างกายกลับมาเป้นปกติจึงสามารถเริ่มออกกำลังกายได้อีกครั้ง แต่ควรเริ่มต้นอย่างช้า ๆ เพื่อปรับสภาพร่างกายก่อน

เมื่อออกกำลังกายแล้วมีอาการ

  • เจ็บหน้าอก ความดันขึ้น
  • มีปัญหาเรื่องการหายใจถี่
  • วิงเวียนศีรษะ
  • ทรงตัวได้ยากลำบาก
  • คลื่นไส้
  • กล้ามเนื้อ ข้อต่อ เจ็บหลังออกกำลังกาย

อาการเหล่านี้อาจแสดงว่าคุณอาจกำลังออกกำลังกายที่หนักเกินไป ดังนั้นเมื่อออกกำลังกายครั้งต่อไปควรลดระดับความเข้มข้นให้ต่ำลงเพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บเพิ่ม หรือหากมีอาการข้างต้นควรเข้าพบหมอเพื่อรับคำแนะนำต่อไป

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Physical activity guidelines for older adults. https://www.nhs.uk/live-well/exercise/physical-activity-guidelines-older-adults/. Accessed July 8, 2021

Physical Activity. https://www.cdc.gov/physicalactivity/basics/older_adults/index.htm. Accessed July 8, 2021

Exercise for Older Adults. https://medlineplus.gov/exerciseforolderadults.html. Accessed July 8, 2021

Benefits of Walking for Seniors. https://www.elmcroft.com/blog/2019/february/benefits-of-walking-for-seniors/. Accessed July 8, 2021

Exercise and Seniors. https://familydoctor.org/exercise-seniors/. Accessed July 8, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2024

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ใครว่าผู้สูงอายุ เล่นกล้ามไม่ได้ รวม 5 ท่าฝึกกล้ามเนื้อ ที่ปลอดภัย สำหรับผู้สูงอายุ

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ความเชื่อผิดๆ ที่ควรเชื่อใหม่ได้แล้ว!!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา