backup og meta

นอนกรน สาเหตุเกิดจากอะไร และวิธีรับมือกับอาการนอนกรน

นอนกรน สาเหตุเกิดจากอะไร และวิธีรับมือกับอาการนอนกรน

อาการ นอนกรน จะเกิดขึ้นขณะหลับ ซึ่งจะเกิดเมื่อกล้ามเนื้อหย่อนตัวลง ทำให้ทางเดินหายใจแคบเกินไป อากาศที่หายใจเข้าไปก็จะเคลื่อนผ่านทางเดินหายใจที่แคบลง ทำให้เกิดการสั่นของเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดเสียงกรนขึ้น ซึ่งมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่ทำให้เกิด อาการนอนกรน ส่วนการรักษาก็จะแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความรุนแรงและผลกระทบที่เกิดกับร่างกาย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการของเราหนักเกินไปจนต้องไปปรึกษาแพทย์แล้ว วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเหล่านี้มาให้อ่านกันแล้วค่ะ

ทำความรู้จักอาการนอนกรน

หากคนรักของคุณบอกว่าคุณนอนกรนจนรบกวนการนอนหลับของเขา ถือว่างานเข้าแล้วแหละ คุณควรรีบหาวิธี แก้การ นอนกรน อย่างเร่งด่วน แต่ถ้าหากคุณไม่เชื่อว่าตัวเองนอนกรนให้ลองอัดเสียงตัวเองเวลานอน เพื่อตรวจสอบว่าคุณนอนกรนจริงหรือไม่ ส่วนสาเหตุที่ทำให้นอนกรนและวิธีรับมือกับอาการมีดังนี้

นอนกรน หรือการกรนเป็นเสียงที่เกิดจาก ลมผ่านทางเดินหายใจส่วนบนที่แคบลงและเกิดการสั่น สะเทือนของเนื้อเยื่อบริเวณนั้น มีความสัมพันธ์อย่างมากกับโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น หรือ Obstructive Sleep Apnea (OSA) โดยถ้าช่องทางเดินหายใจแคบจนส่งผลให้ลมหายใจผ่านได้น้อยกว่าปกติ หรือไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ จนเกิดภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (Hypoxemia) อาจส่งผลให้เกิดอาการคล้ายอดนอน ไม่สดชื่น ทั้งยังส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดหัวใจตีบ ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น

สาเหตุของการ นอนกรน

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนกรนมีมากมาย รวมถึงปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการนอนกรน มีดังต่อไปนี้

  • อายุ การนอนกรนเป็นอาการที่พบบ่อยตอนที่คุณมีอายุมากขึ้น
  • เพศ ผู้ชายมีแนวโน้มว่าจะนอนกรนมากกว่าผู้หญิง
  • น้ำหนัก ความอ้วนหรือน้ำหนักเกินเป็นสาเหตุให้มีเนื้อเยื่อมากบริเวณคอ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการนอนกรน
  • ทางเดินหายใจแคบ คุณอาจมีแนวโน้มที่จะนอนกรนมากกว่าถ้าคุณมีทางเดินหายใจด้านบนแคบ
  • พันธุกรรม คุณอาจมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หากมีสมาชิกในครอบครัวมีภาวะนี้
  • การติดเชื้อหรือภูมิแพ้ การติดเชื้อหรือภูมิแพ้ตามฤดูกาลอาจเป็นสาเหตุของการอักเสบในโพรงจมูกและลำคอ ซึ่งอาจนำไปสู่การนอนกรน
  • การดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์จะคลายกล้ามเนื้อซึ่งทำให้เกิดอาการนอนกรน
  • ท่านอน การนอนกรนมักจะเกิดขึ้นบ่อยกว่าหากคุณนอนในท่านอนหงาย

อาการนอนกรน

หากคุณมีอาการนอนกรนบ่อย ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากคุณอาจเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือเป็นโรคร้ายแรงอื่น โดยคุณหมอจะทำการทดสอบ หรือศึกษาการนอนหลับเพื่อวินิจฉัยรูปแบบ  โดยอาการนอนกรนจะมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้

  • การหายใจทางปาก
  • มีอาการคัดจมูก
  • ตื่นนอนตอนเช้าด้วยอาการคอแห้ง

แต่หากคุณมีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณกว่าคุณนอนกรนบ่อยหรือมีอาการรุนแรง

  • ตื่นระหว่างกลางคืนเนื่องจากหายใจไม่ออก
  • หายใจเฮือก หรือสำลักอากาศ
  • กรนดังเป็นประจำ
  • งีบหลับบ่อย
  • ความจำและสมาธิไม่ค่อยดี
  • รู้สึกง่วงนอนระหว่างวัน
  • เจ็บคอ
  • เจ็บหน้าอก หรือความดันโลหิตสูง

นอนกรน-สาเหตุ-การรักษา

วิธีรับมือกับอาการนอนกรน

1.ใช้ยารักษา

ยารักษาอาการคัดจมูก เช่น ยาพ่นจมูกกลุ่มสเตียรอยด์ (Intranasal steroid) ยาลดบวมของ เยื่อบุจมูกแบบใช้เฉพาะที่ (Topical Decongesant) และยาต้านลิวโคไตรอีน (Anti- Leukotrienes) สามารถช่วยบรรเทาอาการนอนกรนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าอาการนอนกรนของ คุณมีสาเหตุจากการเป็นโรคจมูกอักเสบเรื้อรัง (Chronic Rhinitis) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิแพ้ แต่การใช้ยาเหล่านี้ คุณควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์เสียก่อน

2.หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์ผ่อนคลายกล้ามเนื้อคอของคุณ อาจส่งผลให้เกิดอาการนอนกรน ลองหยุดดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะช่วงเวลา 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

3.เลิกบุรี่

การสูบบุหรี่ไม่ดีต่อสุขภาพ และยังสามารถทำให้อาการนอนกรนแย่ลง คุณควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำในการเลิกบุหรี่

4.นอนตะแคงด้านข้าง

การนอนหงายอาจเป็นสาเหตุของการนอนกรน เนื่องจากลิ้นอาจลงไปอยู่บริเวณคอ ทำให้ทางเดินอากาศแคบลง ส่งผลให้เกิดอาการนอนกรน การนอนตะแคงจะช่วยป้องกันไม่ให้ลิ้นปิดกั้นทางเดินอากาศได้ ซึ่งจะส่งผลให้อาการนอนกรนดีขึ้น

5.ใช้ฟันยางสำหรับแก้ปัญหานอนกรน (Oral appliances)

หากการกินยาไม่ได้ผล คุณอาจลองใช้ฟันยางเพื่อแก้ปัญหาการนอนกรน โดยให้เลือกฟันยางที่มีขนาดพอดีกับช่องปาก ที่จะทำให้กราม ลิ้น และเพดานอ่อนอยู่ในตำแหน่งที่จะช่วยป้องกันอาการ นอนกรน นอกจากนี้คุณอาจต้องพบทันตแพทย์เป็นประจำ เพื่อทำให้แน่ใจว่าฟันยางยังคงมีประสิทธิภาพ

6.ลดน้ำหนัก

คุณมีแนวโน้มว่าจะนอนกรนถ้าคุณอ้วนหรือน้ำหนักเกิน โดยเฉพาะถ้ารอบคอของคุณมีขนาดมากกว่า 17 นิ้ว คุณสามารถลดน้ำหนักได้ด้วยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน ผลการศึกษาพบว่า ช่วยลดอาการและความรุนแรงของโรคได้

7.ใช้เครื่องอัดอากาศแรงบวก (Continuous Positive Airway Pressure : CPAP) 

เครื่องตัวนี้จะมีลักษณะคล้ายเครื่องช่วยหายใจ โดยเครื่องจะอัดอากาศแรงดันบวกต่อเนื่องเพื่อค้ำยันให้ทางเดินหายใจส่วนบนเปิดตลอดเวลา ทำให้ไม่เกิดการยุบตัวหรืออุดกลั้นจาก เนื้อเยื่อรอบข้าง ซึ่งจะช่วยลดการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หากคุณไปพบคุณหมอ ด้วยอาการนอนกรน และได้รับการวินิจฉัยว่าคุณเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย คุณหมออาจ แนะนำให้ใช้เครื่องนี้

8.การผ่าตัด

การผ่าตัด มีจุดประสงค์เพื่อ แก้ไขลักษณะทางกายวิภาคโดยเพิ่มขนาดของช่องทางเดินหายใจส่วน บน หรือเพิ่มความตึงตัวของเนื้อเยื่อในตำแหน่งที่อาจเป็นสาเหตุของโรค การผ่าตัดควรแก้ไขให้ตรงจุดที่มีปัญหา ซึ่งอาจเป็นตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง อาจเป็นการผ่าตัดเพื่อนำเส้นใยไปใส่ในเพดานอ่อน ผ่าตัดทอนซิล หรือผ่าตัดตกแต่งลิ้นไก่เพดานอ่อน ซึ่งคุณควรปรึกษาคุณหมอว่า คุณควรรักษาอาการนอนกรนด้วยการผ่าตัดหรือไม่

9.รักษาอาการภูมิแพ้เรื้อรัง

อาการภูมิแพ้สามารถลดการไหลเวียนอากาศทางจมูก อาจทำให้คุณต้องหายใจทางปากซึ่งเพิ่มความเป็นไปได้ในการนอนกรน คุณควรปรึกษาคุณหมอเพื่อทำให้อาการภูมิแพ้ดีขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Why You Snore and How to Stop. https://www.webmd.com/sleep-disorders/ss/slideshow-stop-snoring. Accessed on September 14, 2018.

15 Remedies That Will Stop Snoring. https://www.healthline.com/health/snoring-remedies. Accessed on September 14, 2018.

This Is Why You Snore, Plus Tips on How to Stop Snoring. https://www.healthline.com/health/healthy-sleep/how-to-stop-snoring. Accessed on September 14, 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/08/2020

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

นอนหลับหลายครั้งใน 24 ชั่วโมง (Polyphasic Sleep) อันตรายหรือไม่

เช็กด่วน! โรคไอกรน อาการ ในเด็กเป็นอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 03/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา