backup og meta

ผ้าห่มถ่วงน้ำหนัก (Weighted Blankets) นวัตกรรมใหม่ สำหรับคนนอนหลับยาก

ผ้าห่มถ่วงน้ำหนัก (Weighted Blankets) นวัตกรรมใหม่ สำหรับคนนอนหลับยาก

ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาการวิตกกังวล และปัญหาในการนอนหลับ อาจจะพยายามหาทางที่จะช่วยบรรเทาความกังวล และทำให้ตัวเองสามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดื่มนมก่อนนอน ดื่มชาสมุนไพร หรือแม้แต่การใช้ยานอนหลับ แต่วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำอีกหนึ่งนวัตกรรม อย่าง ผ้าห่มถ่วงน้ำหนัก ที่จะช่วยแก้ปัญหาสำหรับผู้ที่มีปัญหานอนหลับยาก มาฝากกันค่ะ

ผ้าห่มถ่วงน้ำหนัก คืออะไร

ผ้าห่มถ่วงน้ำหนัก (Weighted blankets) นั้นเป็นผ้าห่มที่หน้าตาภายนอกก็เหมือนกับผ้าห่มปกติทั่วไป แต่ภายในกลับอัดแน่นไปด้วย พลาสติก หรือแก้ว เพื่อช่วยถ่วงให้ผ้าห่มนั้นมีน้ำหนักมากขึ้น น้ำหนักของผ้าห่มถ่วงน้ำหนักนั้นจะมีตั้งแต่ 1-10 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับความชอบและน้ำหนักตัวของผู้ใช้ แต่น้ำหนักของผ้าห่มที่ผู้ผลิตแนะนำคือ ประมาณ 10% ของน้ำหนักตัวผู้ใช้

แนวคิดของการใช้ผ้าห่มถ่วงน้ำหนัก คือการใช้หลักการของ “การบำบัดด้วยแรงกดทับ’ (Pressure therapy) เป็นการใช้แรงระดับหนึ่ง กดลงบนร่างกายทั่วทั้งร่าง เป็นการกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) เพื่อให้ความรู้สึกคล้ายกับกำลังถูกกอด ลูบ หรือถูกโอบอุ้มเอาไว้ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง และทำให้รู้สึกสงบมากยิ่งขึ้น จนสามารถนอนหลับได้ดีขึ้น

มีงานวิจัยที่ได้ทำการทดลองกับอาสาสมัครจำนวน 32 ราย พบว่า กว่า 63% ของผู้เข้ารับการทดลองนั้นรู้สึกว่ามีความวิตกกังวลลดลง เมื่อได้นอนภายใต้ผ้าห่มถ่วงน้ำหนัก เป็นเวลา 5 นาที

ส่วนอีกหนึ่งงานวิจัย ที่ทำการทดลองกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต ที่เข้ารับการรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เป็นจำนวน 30 ราย ก็พบว่าผู้ทดลองกว่า 60% นั้นรู้สึกมีความวิตกกังวลน้อยลงหลังจากที่ได้ใช้ผ้าห่มถ่วงน้ำหนัก

ความจริงแล้ว การบำบัดด้วยแรงกดทับ โดยการใช้ผ้าห่มถ่วงน้ำหนักนั้นไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่อะไร เพราะมีการใช้เพื่อช่วยในการบำบัดเด็กที่มีปัญหาออทิสติก หรือสมาธิสั้นมาตั้งแต่สมัยก่อน แต่ในปัจจุบัน การใช้ผ้าห่มถ่วงน้ำหนักจะเน้นเพื่อช่วยในจัดการปัญหาการนอนหลับ และความวิตกกังวลไปแทน

ผ้าห่มถ่วงน้ำหนักเหมาะสำหรับใครบ้าง

งานวิจัยได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของผ้าห่มถ่วงน้ำหนัก และพบว่า ผ้าห่มถ่วงน้ำหนักนั้นอาจจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีสภาวะดังต่อไปนี้

ผู้ที่มีปัญหาวิตกกังวล

อาการวิตกกังวล กระวนกระวาย และรู้สึกไม่สบายใจอยู่บ่อยครั้ง สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ โดยการทำให้หัวใจเต้นเร็ว และหายใจเร็วอยู่เสมอ จนทำให้ร่างกายเกิดความเครียด และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น ปวดหัว นอนไม่หลับ อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน

ผ้าห่มถ่วงน้ำหนักนั้นอาจจะสามารถช่วยบรรเทาความวิตกกังวลลงไปได้ โดยการสร้างแรงกดทับให้กับระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัตินั้นเข้าสู่โหมดพัก และช่วยลดความวิตกกังวลลงมาได้ โดยการทำให้อัตราการหายใจและหัวใจเต้นลดลง ทำให้รู้สึกสงบมากยิ่งขึ้น

ผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ

หนึ่งในปัญหาที่มาพร้อมกับความเครียดและความกังวลนั้น มักจะนำไปสู่ปัญหาการนอนไม่หลับในเวลากลางคืน ผ้าห่มถ่วงน้ำหนักนั้นจะสามารถช่วยทำให้ร่างกายของคุณสงบลงได้ ทำให้สามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น และตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น

ออทิสติก (Autism)

หนึ่งในอาการของออทิสติกคือ อาการนอนไม่หลับ มีงานวิจัยที่พบว่า การใช้ผ้าห่มถ่วงน้ำหนัก สามารถช่วยบรรเทาปัญหาการนอนไม่หลับเนื่องจากออทิสติกได้ นอกจากนี้ยังมีการผ้าห่มถ่วงน้ำหนักเพื่อเป็นหนึ่งในกระบวนการบำบัดสำหรับผู้ป่วยออทิสติกอีกด้วย

สมาธิสั้น

เด็กที่มีสมาธิสั้นมักจะมีปัญหาในการควบคุมตนเอง และมีอาการลุกรี้ลุกลน และกระวนกระวายอยู่เป็นประจำ การใช้ผ้าห่มถ่วงน้ำหนักจะทำให้เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้น รู้สึกเหมือนว่ากำลังถูกกอดเอาไว้ ทำให้ช่วงดึงสมาธิของเด็กไว้ได้ และทำให้เด็กมีสมาธิได้นานขึ้น สามารถนั่งอยู่นิ่งๆ และให้ความสนใจกับบางสิ่งได้นานขึ้นได้

ข้อควรระวังเกี่ยวกับผ้าห่มถ่วงน้ำหนัก

แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับความเสี่ยงในการให้ผ้าห่มถ่วงน้ำหนัก แต่จากข้อมูลของผู้ผลิตผ้าห่มถ่วงน้ำหนักนั้น ได้ให้คำแนะนำว่า ไม่ควรใช้ผ้าห่มถ่วงน้ำหนักกับผู้ที่มีสภาวะดังต่อไปนี้

  • เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี เนื่องจากอาจทำให้เด็กรู้สึกอึดอัด และขาดอากาศหายใจได้
  • ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดตัน (Obstructive sleep apnea) เนื่องจากผ้าห่มถ่วงน้ำหนักนั้นอาจทำให้หายใจลำบากมากกว่าเดิมได้
  • ผู้ป่วยโรคหอบหืด เพราะผ้าห่มถ่วงน้ำหนักอาจทำให้หายใจลำบากในเวลากลางคืน
  • โรคกลัวที่แคบ (Claustrophobia) เนื่องจากผ้าห่มถ่วงน้ำหนักนั้นอาจให้ความรู้สึกรัดแน่นเหมือนอยู่ในที่แคบ และอาจกลายเป็นตัวกระตุ้นความกลัวที่แคบนี้ได้

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Can Weighted Blankets Banish Nighttime Anxiety? https://health.clevelandclinic.org/can-weighted-blankets-banish-nighttime-anxiety/

More Than Just a Fad: 4 Ways Weighted Blankets Can Actually Help You https://www.pennmedicine.org/updates/blogs/health-and-wellness/2019/february/weighted-blankets

Weighted Blankets: Do They Work? https://www.healthline.com/health/anxiety/do-weighted-blankets-work

Anxiety and stress weighing heavily at night? A new blanket might help https://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/anxiety-and-stress-weighing-heavily-at-night-a-new-blanket-might-help

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/08/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาณเหล่านี้ บ่งบอกว่า ถึงเวลาแล้วที่คุณควร ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ

ทารกไม่ชอบนอนเปล เป็นเพราะอะไร แก้ไขอย่างไรดี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 21/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา