โรคคอ

โรคคอ หมายถึงอาการความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับช่วงคอ ไม่ว่าจะเป็นคออักเสบ คอติดเชื้อ หรือแม้กระทั่งอาการเจ็บคอต่าง ๆ ที่อาจเป็นผลมาจากสภาวะอื่น ในหมวด โรคคอ ของ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพคอ ตลอดจนถึงการดูแลรักษาสุขภาพคอให้แข็งแรง ไว้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคคอ

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เกิดจาก สาเหตุอะไรได้บ้าง

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เกิดจาก การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยทั่วไป ต่อมน้ำเหลืองอักเสบจะหายไปเองเมื่อการติดเชื้อหรืออาการป่วยดีขึ้น แต่หากไม่หาย ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ตรงจุด [embed-health-tool-bmi] ต่อมน้ำเหลือง คืออะไร ต่อมน้ำเหลือง เป็นต่อมขนาดเล็ก มีจำนวนประมาณ 600 ต่อม กระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นคอ รักแร้ หน้าท้อง หน้าอก หรือขาหนีบ โดยจัดเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีหน้าที่ กรองและกำจัดเชื้อโรค ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เกิดจาก อะไร ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Lymphadenitis) เป็นการบวมและอักเสบของต่อมน้ำเหลือง ซึ่งทำให้ต่อมน้ำเหลืองมีอาการเจ็บเมื่อถูกสัมผัส สาเหตุของต่อมน้ำเหลืองอักเสบ มาจากการติดเชื้อ หรือเป็นผลของอาการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา เช่น โรคคอหอยอักเสบ โรคหวัด โรคหัด โรคเอดส์ รวมถึงการติดเชื้อเอชไอวี โรคไซนัสอักเสบ วัณโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน ซิฟิลิส […]

สำรวจ โรคคอ

โรคคอ

คอพอก สาเหตุ อาการ และการรักษา

คอพอก เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ขยายใหญ่ขึ้น และส่งผลให้คอบวม นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หายใจลำบาก กลืนลำบาก แน่นคอ โดยปกติโรคคอพอกจะหายไปได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา ยกเว้นในกรณีที่อาการคอพอกรุนแรงมากจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ก็อาจทำการรักษาโดยการใช้ยา และการผ่าตัด คำจำกัดความคอพอก คืออะไร โรคคอพอก เป็นหนึ่งความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งต่อมไทรอยด์จะโตจนทำให้คอบวม แต่การเป็น โรคคอพอก ไม่ได้หมายความว่าต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โดยปกติแล้วโรคคอพอกจะไม่มีอันตราย และมักจะหายไปเองโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา ยกเว้นแต่ว่าคอพอกจะมีขนาดใหญ่จนทำให้เกิดความรำคาญ คอพอกพบได้บ่อยแค่ไหน โรคคอพอกเกิดจากการสร้างฮอร์โมนที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบอาการคอพอกในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน ส่วนใหญ่จะพบได้มากในผู้หญิงที่มาอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป อาการอาการของคอพอก โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการคอพอกมักจะมีเพียงอาการเดียวคือ อาการคอบวม บางครั้งอาการคอบวมก็มักจะใหญ่จนสามารถสัมผัสได้ด้วยมือเปล่า ซึ่งระดับอาการบวมและความรุนแรงของอาการนั้น จะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ รวมด้วย เช่น อาการแน่นลำคอ ไอ และมีเสียงแหบ กลืนลำบาก หากอาการรุนแรงอาจทำให้หายใจได้ลำบาก ควรไปพบหมอเมื่อใด โรคคอพอก เป็นโรคที่เกิดอาการบวมที่ต่อมไทรอยด์ โดยปกติแล้วไม่มีอันตรายต่อร่างกาย แต่บางครั้งสัญญาณเหล่านี้อาจบ่งบอกว่าต่อมไทรอยด์นั้นมีปัญหา หากอาการคอพอกมีอาการบวมมาก ๆ อย่างผิดปกติ และไม่ยุบลง ควรไปพบคุณหมอในทันที สาเหตุสาเหตุของคอพอก ขาดไอโอดีน สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคคอพอกนั้นมักจะเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายขาดไอโอดีน (Iodine) ต่อมไทรอยด์นั้นต้องการไอโอดีนเพื่อสร้างฮอร์โมน สำหรับใช้ในการควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย ซึ่งไอโอดีนสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิด เช่น อาหารทะเล นมวัว ไฮโปไทรอยด์ ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) เป็นผลมาจากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไป […]


โรคคอ

หูหนวก (Deafness)

หากคุณสังเกตตนเองแล้วพบว่า เริ่มมีอาการบกพร่องเกี่ยวกับการได้ยิน หรือเริ่มมีการสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างยากลำบากเมื่อใด โปรดรีบเร่งทำการรักษา หรืออาจเข้าขอรับคำปรึกษาเบื้องต้นจากคุณหมอโดยด่วน เพราะคุณอาจกำลังมีความเสี่ยต่อการมีภาวะสูญเสียการได้ยิน หรือโรค หูหนวก (Deafness) ก็เป็นได้ คำจำกัดความหูหนวก (Deafness) คืออะไร หูหนวก (Deafness) คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบการได้ยิน โดยเกิดจากเซลล์ประสาทในส่วนของ คอเคลีย (Cochlear) ที่อยู่ในหูชั้นในเสื่อมสภาพ หรือถูกทำลาย อาจนับได้ว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้เมื่อคุณมีอายุที่มากขึ้น บางครั้งก็อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงจนถึงขั้นสูญเสียการได้ยิน และอาจจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการช่วยฟังเข้ามามีส่วนร่วม หรือไม่ก็ต้องสื่อสารด้วยการอ่านริมฝีปากเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่อาจทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของคุณเป็นไปอย่างยากลำบากกว่าเดิมได้เลยทีเดียว การสูญเสียการได้ยินนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้ การสูญเสียการได้ยินระดับเบา เป็นการลดความสามารถในการได้ยินเสียงที่ไม่ค่อยรุนแรงมากนัก ซึ่งทุกคนสามารถเริ่มเป็นกันได้ตั้งแต่อายุยังน้อยจนถึงอายุมาก การสูญเสียการได้ยินระดับปานกลาง อาจมีอาการเบื้องต้นถึงการเริ่มไม่เข้าใจในคำพูดผู้คน หรือรู้สึกว่าผู้ที่สื่อสารด้วยมีเสียงแผ่วเบาลง ทั้งที่ในความเป็นจริงระดับเสียงยังคงปกติเท่าเดิม การสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง เป็นการขาดการได้ยินทั้งหมด โดยไม่อาจสามารถจะได้ยินเสียงใด ๆ ต่อไปได้อีก นอกจากเสียว่าจะมีอุปกรณ์ช่วยฟังมาเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกให้ ซึ่งทางแพทย์จะเป็นคนทำการตรวจ และพิจารณาเองว่าคุณนั้นอยู่ในความเสี่ยงระดับไหน จากนั้นจึงจะเริ่มหาทางการรักษา หรือวิธีแก้ไข เพื่อเพิ่มคุณภาพการใช้ชีวิตของคุณให้กลับมาปกติเหมือนบุคลทั่วไปอีกครั้ง โรค หูหนวก สามารถพบบ่อยได้เพียงใด ภาวะของโรคหูหนวก หรืออาการสูญเสียการได้ยิน ส่วนใหญ่แล้วอาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรืออยู่ในช่วงวัยผู้สูงอายุ อาการอาการของโรค หูหนวก สัญญาณเตือน และอาการของการสูญเสียการได้ยินเบื้องต้นที่คุณสามารถเริ่มสังเกตตนเองได้ มีดังนี้ เริ่มขาดการได้ยินเสียงพูด และเสียงอื่นรอบข้าง มีการใช้เวลานานกว่าปกติในทำความเข้าใจสื่อต่าง ๆ ที่ได้ยิน บางครั้งอาจมีการขอให้ผู้สื่อสารพูดช้าลง และเสียงดังมากขึ้น มีการเพิ่มระดับเสียงของสื่อรอบตัวอยู่สม่ำเสมอ […]


โรคคอ

เจ็บคอ ช่วงหน้าฝน ฝนมาทีไรเจ็บคอทุกที มีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรบ้างนะ

ช่วงหน้าฝน กลับมาอีกครั้ง หลายคนก็อาจจะเริ่มมีอาการ เจ็บคอ คัน ระคายเคืองที่ลำคอ กลืนน้ำและอาหารต่าง ๆ ได้ลำบาก พูดคุยไม่สะดวก จนรู้สึกรำคาญใจ เสียบุคลิกภาพ และเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต มาเตรียมตัวดูแลสุขภาพของเราให้แข็งแรงพร้อมรับหน้าฝนอย่างมีความสุขด้วยวิธีดูแลตัวเองที่ Hello คุณหมอ นำมาฝากทุกคนกัน อาการเจ็บคอ เกิดจากอะไร อาการ เจ็บคอ เกิดจากการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งเรามีโอกาสได้รับเชื้อเหล่านี้สูงขึ้นใน ช่วงหน้าฝน เนื่องจากอากาศเริ่มเย็นลงและมีความชื้นสูงขึ้นจึงทำให้เชื้อไวรัสและแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ง่ายขึ้น นอกจากอาการเจ็บคอแล้ว ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ตามมาด้วย เช่น เป็นหวัด คัดจมูก มีไข้ เป็นต้น อาการเจ็บคอ มีทั้งหมดกี่แบบ เราสามารถแบ่งอาการเจ็บคอ ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ อาการเจ็บคอแบบเฉียบพลัน (Acute sore throat) ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บคอเฉียบพลันเป็นบางวัน โดยอาจมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ควบคู่ด้วย เช่น เป็นหวัด คัดจมูก มีไข้ รู้สึกปวดศีรษะ หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น อาการเจ็บคอแบบเรื้อรัง (Chronic […]


โรคคอ

โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis)

โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis) เป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากความผิดปกติบริเวณหูชั้นกลางที่เกิดจากการก่อตัวของหินปูน เสียงจึงไม่สามารถเดินทางจากหูชั้นกลางไปยังหูชั้นในได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยิน มีอาการเวียนศีรษะ คำจำกัดความโรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis) คืออะไร โรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis) เป็นโรคที่พบได้ยาก เกิดจากความผิดปกติบริเวณหูชั้นกลางที่เกิดจากการก่อตัวของหินปูน เสียงจึงไม่สามารถเดินทางจากหูชั้นกลางไปยังหูชั้นในได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยิน มีอาการวิงเวียนศีรษะ อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงแพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้เครื่องช่วยฟัง ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจต้องได้รับการผ่าตัด พบได้บ่อยเพียงใด ผู้ป่วยโรคหินปูนเกาะกระดูกหูมักจะเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเพศหญิง ที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี อาการอาการของโรคหินปูนเกาะกระดูกหู อาการหลักของโรคหินปูนเกาะกระดูกหู คือการสูญเสียการได้ยิน ในระยะแรกคุณอาจสังเกตได้ว่าคุณได้ยินเสียงเบาลง และได้ยินเสียงเบาลงเรื่อย ๆ ซึ่งอาจเริ่มจากการได้ยินเพียงข้างเดียว และในระยะเวลาต่อมาอาจสูญเสียการได้ยินเสียงทั้งสองข้าง รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังนี้ วิงเวียนศีรษะ สูญเสียการทรงตัว หูอื้อ ได้ยินเสียงแว่วดังในหู ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของโรคหินปูนเกาะกระดูกหู (Otosclerosis) ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานในการระบุสาเหตุที่แน่ชัดของโรค โดยโรคดังกล่าวเกิดจากสะสมของหินปูนบริเวณหูชั้นกลาง ทำให้เสียงไม่สามารถผ่านบริเวณหูชั้นกลาง ไปสู่บริเวณหูชั้นในได้  และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา ปัจจัยเสี่ยงของโรคหินปูนเกาะกระดูกหู ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหินปูนเกาะกระดูกหู มีดังนี้ กรรมพันธุ์  หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคหินปูนเกาะกระดูกหู นั้นแสดงว่าคุณอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว การตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหินปูนเกาะกระดูกหู ไปจนถึงการสูญเสียการได้ยินได้มากกว่าคนปกติ เพศและอายุ  เพศหญิงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหินปูนเกาะกระดูกหูมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20-30 ปี   การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยโรคหินปูนเกาะกระดูกหู หากคุณสังเกตเห็นความผิดปกติเกี่ยวกับปัญหาการได้ยินควรรีบไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทดสอบการได้ยินเสียงและซักถามประวัติผู้ป่วยรวมถึงสมาชิกในครอบครัวของคุณ  ในบางกรณีแพทย์อาจทำซีที สแกน  […]


โรคคอ

แพทย์เตือน! แคะหูบ่อย ระวัง เสี่ยงเป็น โรคเชื้อราในช่องหู

ใครที่ชอบแคะหูอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังการอาบน้ำ ที่จะต้องนำคัตตอนบัดหรือสำลีมาปั่นหูเป็นประจำ พฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการขี้อุดตัน หูอื้อ แก้วหูทะลุ รวมถึงเสี่ยงต่อ “โรคเชื้อราในช่องหู” อีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปรู้จักกับโรคเชื้อราในช่องหูให้ละเอียดมากขึ้นกันค่ะ [embed-health-tool-bmr] โรคเชื้อราในช่องหู (Otomycosis) คืออะไร? โรคเชื้อราในช่องหู (Otomycosis)  หมายถึง หูชั้นนอกมีการติดเชื้อรา ทำให้หูเกิดการอักเสบ และมีกลิ่นเหม็นภายในช่องหู โดยโรคเชื้อราในช่องหูนั้นมักพบในคนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศอบอุ่นหรือร้อนชื้น และผู้ที่เล่นกีฬาว่ายน้ำ รวมถึงผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคผิวหนัง เป็นต้น อย่างไรก็ตามโรคเชื้อราในช่องหูนั้นไม่ใช่โรคอันตราย ร้ายแรง สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาต้านเชื้อ โรคเชื้อราในช่องหูเกิดขึ้นได้อย่างไร โรคเชื้อราในช่องหูเกิดจากเชื้อราเกือบ 60 สายพันธุ์ที่แตกต่างกัน พบได้บ่อยที่สุดคือเชื้อราสายพันธุ์แอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus) และแคนดิดา (Candida) นอกจากนี้แบคทีเรียบางชนิดสามารถรวมกับเชื้อราและทำให้เกิดการติดเชื้อมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะในบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อราในช่องหู ดังนี้ ผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่อากาศร้อนชื้น มีแนวโน้มในการเกิดเชื้อราในช่องหูมากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในภูมิอากาศอื่นๆ เนื่องจากเชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่อากาศร้อนชื้นนั่นเอง นักกีฬาว่ายน้ำ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราในช่องหูได้มากกว่าคนปกติทั่วไป หากว่ายน้ำในแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ รวมถึงผู้ที่มีปัญหาผิวเรื้อรัง ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อดังกล่าวนี้ หูอื้อ เรียกไม่ค่อยได้ยิน สัญญาณเตือนของอาการโรคเชื้อราในช่องหู อาการหูอื้อนั้น เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนของโรคเชื้อราในช่องหู อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นในหูข้างใดข้างหนึ่ง แต่ในบางกรณีอาจพบในหูสองข้างพร้อมๆกันได้ […]


โรคคอ

กล่องเสียงอักเสบ สาเหตุ อาการ และการรักษา

กล่องเสียงอักเสบ หมายถึงการอักเสบของกล่องเสียงและเส้นเสียงในลำคอ สามารถแบ่งออกได้เป็นอาการกล่องเสียงเฉียบพลัน ซึ่งเกิดแค่ชั่วคราว และอาการกล่องเสียงเรื้อรัง อาจเกิดขึ้นจากการใช้เสียงมากเกินไป การติดเชื้อ สารระคายเคือง หรืออาจเป็นอาการจากโรคอื่น เช่น ไซนัสอักเสบ การรักาษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบ คำจำกัดความกล่องเสียงอักเสบ คืออะไร กล่องเสียงอักเสบ หมายถึงอาการอักเสบของกล่องเสียง ที่อาจเกิดขึ้นจากการระคายเคือง การติดเชื้อ หรือการใช้เสียงมากเกินไป ทำให้มีอาการอักเสบ อาการบวม และอาจทำให้เสียงแหบแห้ง ภายในกล่องเสียงจะประกอบด้วยเส้นเสียง เยื่อเมือก 2 ชั้นที่ทำหน้าที่ปกคลุมกล้ามเนื้อ และกระดูกอ่อน โดยปกติแล้ว เส้นเสียงจะเปิดและปิดอย่างราบรื่น ทำให้สามารถสร้างเสียงจากการเคลื่อนไหวและการสั่นสะเทือนของเส้นเสียงที่อยู่ในกล่องเสียงได้ แต่อาการอักเสบของกล่องเสียงจะทำให้อากาศไหลผ่านยากขึ้น จนทำให้เสียงที่เปร่งออกมาผิดเพี้ยนได้ โรคกล่องเสียงอักเสบมีทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง โดยปกติอาการกล่องเสียงอักเสบที่พบได้บ่อยจะเป็นเพียงแค่อาการชั่วคราว ไม่ร้ายแรงเท่าไหร่นัก แต่หากมีอาการกล่องเสียงอักเสบเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หรือไม่หายไป ก็อาจเป็นสัญญาณที่ร้ายแรงได้เช่นกัน อาการอาการของกล่องเสียงอักเสบ ในกรณีส่วนใหญ่อาการของกล่องเสียงอักเสบ อาจมีดังนี้ เสียงแหบ เสียงอ่อนแอ หรือเสียงหาย ระคายเคืองในคอ เจ็บคอ คอแห้ง ไอแห้ง เป็นไข้ ต่อมน้ำเหลืองที่คอมีอาการบวม กลืนลำบาก สาเหตุสาเหตุของกล่องเสียงอักเสบ โรคกล่องเสียงอักเสบนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อไวรัส เช่น หวัด และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคกล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง นอกจากนั้นการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราก็สามารถทำให้เกิดโรคกล่องเสียงอักเสบเฉียบพลันได้เช่นกัน ส่วนสาเหตุของโรคกล่องเสียงอักเสบเรื้อรังอาจรวมถึงสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ กรดไหลย้อน ไซนัสอักเสบเรื้อรัง วัณโรค การใช้เสียงมากเกินไป เช่น นักร้อง หรือนักแสดง การติดเชื้อ การสูบบุหรี่ การใช้ยาสูดพ่นที่มีสเตียรอยด์ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การสัมผัสกับสารเคมีและฝุ่น ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคือง ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของกล่องเสียงอักเสบ ปัจจัยดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกล่องเสียงอักเสบ การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด โรคหลอดลมอักเสบ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้เสียงมากเกินไป การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยกล่องเสียงอักเสบ แพทย์สามารถวินิจฉัยกล่องเสียงอักเสบได้ด้วยการตรวจดูอาการ โดยปกติแล้วอาการเสียงแสบมักจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเป็นโรคกล่องเสียงอักเสบ นอกจากนี้ […]


โรคคอ

เจ็บคอ เกิดได้จากสาเหตุอะไรได้บ้าง และรับมืออย่างไรดี?

ใครๆ ก็ชอบอากาศเย็นสบาย แต่อากาศที่เย็นเกินไป หรือเปลี่ยนแปลงบ่อยก็อาจทำให้เราตื่นมาพร้อมกับอาการ เจ็บคอ ได้ ส่วนใหญ่แล้ว อาการเจ็บคอมักเป็นอาการแรกของไข้หวัด ซึ่งมักจะหายไปได้เอง แต่บางครั้ง อาการเจ็บคอของคุณ ก็อาจเกิดจาก สาเหตุ อื่นได้เช่นกัน หากคุณมีอาการเจ็บคอ และไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะหวัดหรือสาเหตุอื่นกันแน่ นี่คือรายละเอียดที่จะช่วยให้คุณแยกแยะอาการเจ็บคอของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น เพื่อจะได้รับมือได้อย่างถูกต้อง [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุ ของอาการ เจ็บคอ ที่พบได้บ่อย เจ็บคอเป็นอาการที่ทำให้รู้สึกแสบคอ คันคอ หรือระคายเคืองคอ ซึ่งอาการเจ็บคอมักจะแย่ลงเวลากลืนอาหาร สาเหตุของอาการเจ็บคอที่พบได้บ่อยที่สุด คือ การติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่วนอาการเจ็บคอจากคออักเสบ (Strep throat) และต่อมทอนซิลอักเสบ สามารถพบได้น้อยกว่า การรักษาต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และสาเหตุอื่นๆ ของอาการเจ็บคอที่พบได้ไม่บ่อยอาจต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ อาการเจ็บคอแต่ละแบบต่างกันอย่างไร เจ็บคอ จากไข้หวัด อาการเจ็บคอเนื่องจากไข้หวัดส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมักมีอาการอื่น ร่วมด้วย เช่น น้ำมูกไหล ไอ จาม ตาแดงหรือน้ำตาไหล ปวดศีรษะแบบไม่รุนแรง ปวดตามร่างกาย และมีไข้ อาการเจ็บคอและอาการอื่นๆ ของหวัด มักหายไปได้เอง และเนื่องจากเป็นอาการเจ็บคอที่เกิดมาจากเชื้อไวรัสหวัด จึงไม่มียารักษาเฉพาะ แต่สามารถบรรเทาได้ด้วยการดื่มน้ำอุ่น บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ […]


โรคคอ

ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis)

ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis) คืออาการติดเชื้อบริเวณต่อมทอนซิลที่เกิดขึ้นอย่างติดต่อกัน การติดเชื้อซ้ำ ๆ นั้นอาจทำให้เกิดช่องเล็ก ๆ (Crypts) ในต่อมทอนซิลที่กักเก็บแบคทีเรียเอาไว้ คำจำกัดความต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis) คืออะไร ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis) คืออาการติดเชื้อบริเวณต่อมทอนซิลที่เกิดขึ้นอย่างติดต่อกัน การติดเชื้อซ้ำ ๆ นั้นอาจทำให้เกิดช่องเล็ก ๆ (Crypts) ในต่อมทอนซิลที่กักเก็บแบคทีเรียเอาไว้ ส่วนมากจะพบลักษณะคล้ายหินเล็ก ๆ ที่มีกลิ่นเหม็นในช่องปาก โดยหินนี้เรียกว่า “นิ่วทอนซิล (Tnsilloliths)” ซึ่งอาจมีการสะสมของซัลฟา (Sulfa) เป็นจำนวนมาก เมื่อแตกตัวจะมีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่าทำให้มีกลิ่นปาก แล้วยังทำให้ผู้ป่วยมีรู้สึกเหมือนมีอะไรมาจับด้านหลังในลำคอ พบได้บ่อยแค่ไหน ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังนั้นพบมากในหมู่วัยรุ่นและผู้ใหญ่ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ สาเหตุสาเหตุของ ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis) ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้องรังนั้นเกิดจากการติดเชื้อ โดยปกติแล้วต่อมทอนซิลจะทำหน้าที่ป้องกัน ไม่ให้ลำคอและปอดติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส แต่ในบางครั้งก็อาจจะติดเชื้อเสียเอง การติดเชื้อมีทั้งจากแบคทีเรียและไวรัส ดังนี้ โรคสเตรปโทคอกโคสิส (Streptococcosis) ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ไวรัสพาราอินฟลูเอนซ่า (Parainfluenzae) ไวรัสเอเดโนไวรัส (Adenoviruses) ไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein-Barr) ไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex) ไวรัสเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง (Chronic Tonsillitis) ปัจจัยเสี่ยงหลัก คือ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน