backup og meta

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome)

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท  (Piriformis Syndrome)

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome)  คือ กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส (Piriformis) ที่อยู่บริเวณก้นใกล้กับส่วนบนของข้อต่อสะโพกเกิดความผิดปกติ  ซึ่งอาจไปกดทับเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic)  ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณสะโพก  ปวดบริเวณก้น เสียความสมดุลในการเคลื่อนไหว

คำจำกัดความ

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome) คืออะไร

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome)  คือ กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิส (Piriformis) ที่อยู่บริเวณก้นใกล้กับส่วนบนของข้อต่อสะโพกเกิดความผิดปกติ  ซึ่งอาจไปกดทับเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic) ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง  ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณสะโพก  ปวดบริเวณก้น เสียความสมดุลในการเคลื่อนไหว

พบได้บ่อยเพียงใด

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่นั่งเป็นเวลานาน

อาการ

กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทส่วนใหญ่จะมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • รู้สึกปวดบริเวณก้น
  • นั่งลำบาก รู้สึกปวดมากขณะกำลังนั่ง เช่น นั่งเบาะรถยนต์
  • ปวดบริเวณสะโพกร้าวลงมาบริเวณขา

ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น นั่งทำงาน ขับรถเป็นระยะเวลานานไม่ได้

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

สาเหตุส่วนใหญ่ของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เกิดจากการที่กล้ามเนื้อพิริฟอร์มิสเกิดการอักเสบ โดยมีสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้

  • ออกกำลังกายมากจนเกินไป
  • การนั่งเป็นเวลานาน
  • การยกของหนัก ๆ
  • การบิดสะโพกอย่างกะทันหัน
  • อุบัติเหตุทางรถยนต์
  • อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา

ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

คนที่นั่งเป็นเวลานาน ๆ เช่น นั่งอยู่ที่โต๊ะทั้งวัน อยู่หน้าโทรทัศน์เป็นเวลานาน ๆ มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะผู้ที่ออกกำลังกายหนักใช้ร่างกายส่วนล่างบ่อย ๆ

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

หากคุณรู้สึกปวดและชาบริเวณสะโพก ก้น ติดต่อกันนาน  2-3 สัปดาห์  ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษา

ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติ ถามถึงอาการและสาเหตุของอาการปวด รวมถึงการทำตรวจซีทีแสกน (Computerized Tomography : CT scan) หรือตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (Magnetic Resonance Imaging : MRI)  เพื่อให้แพทย์ได้ทราบถึงรอยอักเสบ รอยร้าว ที่ทำให้เกิดอาการปวด เพื่อทำการวินิจฉัยและระบุโรคที่ถูกต้องและแม่นยำ

การรักษากลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท

ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทไม่จำเป็นต้องรับการรักษาใด ๆ เพียงพักผ่อนให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักที่ทำให้อาการกำเริบ อาจช่วยบรรเทาอาการลงได้  รวมถึงวิธีการรักษาอื่นๆ ดังนี้

  • ประคบเย็นและร้อน แพทย์จะแนะนำให้ประคบเย็น ประคบร้อน บริเวณที่ปวดเป็นเวลา 15-20 นาที และทำทุก 2-3 ชั่วโมงเพื่อบรรเทาอาการปวด
  • รับประทานยา แพทย์อาจแนะนำให้คุณรับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน (Naproxen)

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษา

ถึงแม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นสาเหตุหนึ่งของกลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท แต่หากออกกำลังกายเป็นประจำและถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงและส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย ซึ่งมีวิธีการปฎิบัติ ดังนี้

  • อบอุ่นร่างกายและยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย
  • ค่อย ๆ เพิ่มระดับการออกกำลังกายทีละน้อย
  • หลีกเลี่ยงการวิ่งขึ้นและลงบริเวณเนินหรือที่ที่มีพื้นผิวขรุขระ
  • เคลื่อนไหวร่างกายอยู่บ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการนั่งหรือนอนในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ

 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/06/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดก้นกบ จนนั่งไม่ได้ ออกกำลังกายแบบโยคะช่วยคุณได้นะ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา คืออะไร และคุณจะรับมือด้วยวิธีอะไรได้บ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 19/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา