backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (Shin Splints)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (Shin Splints)

กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (Shin Splints)  คืออาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ เจ็บปวดตามกระดูกหน้าแข้ง  ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการได้รับบาดเจ็บจาก การเล่นกีฬา การออกกำลังกายแบบรุนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวด เจ็บกล้ามเนื้อ รู้สึกชา ขาอ่อนแรง

คำจำกัดความ

กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ (Shin Splints) คืออะไร

กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ หรือเรียกสั้นๆ ว่า เจ็บหน้าแข้ง (Shin Splints)  คือ อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ เจ็บปวดตามกระดูกหน้าแข้ง  ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการได้รับบาดเจ็บจาก การเล่นกีฬา การออกกำลังกายแบบรุนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวด เจ็บกล้ามเนื้อ รู้สึกชา ขาอ่อนแรง

อย่างไรก็ตามอาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบสามารถรักษาให้หายได้ แพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการเบื้องต้น เพื่อวินิจฉันและทำการรักษาในขั้นตอนต่อไป

พบได้บ่อยเพียงใด

อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายบ่อยๆ ที่ต้องใช้แรงค่อนข้างมาก เช่น กีฬาฟุตบอล กีฬาเทนนิส กีฬาบาสเกตบอล

อาการ

อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบจะมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • ปวดบริเวณหน้าแข้ง
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • รู้สึกปวดที่ด้านใดด้านหนึ่งของกระดูกหน้าแข้ง
  • ปวดตามส่วนด้านในของกระดูกหน้าแข้ง
  • อาการบวมบริเวณหน้าแข้ง (ระดับไม่รุนแรง)
  • รู้สึกชาและอ่อนแรง

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ

อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ เป็นผลมาจากการที่กระดูกบริเวณหน้าแข้งและเนื้อเยื่อหุ้มกระดูกหน้าแข้งถูกใช้งานบริเวณนั้นซ้ำ ๆ มากจนเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการบวม การอักเสบ หากปล่อยไว้ระยะยาวอาจทำให้กระดูกบริเวณนั้นหักได้

ปัจจัยเสี่ยงของ อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ

  • ปัจจัยดังต่อไปนี้มีผลทำให้ผู้ป่วยมี อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ
  • สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมต่อการออกกำลังกาย (รองเท้าแบนหรือมีส่วนโค้งสูง)
  • ความผิดปกติทางกายวิภาค เช่น โรคเท้าแบน
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ต้นขา หรือก้น
  • วิ่งลงเนิน
  • อยู่ระหว่างการฝึกทหาร
  • วิ่งบนพื้นที่ไม่เรียบ เช่น เนินเขา หรือพื้นแข็ง ๆ เช่น คอนกรีต
  • เล่นกีฬาที่มีการหยุดและเริ่มต้นอย่างรวดเร็ว เช่น กีฬาฟุตบอล กีฬาสกี

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ

ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย รวมถึงทดสอบทางกายภาพ แพทย์อาจสั่งการตรวจวินิจฉันเพิ่มเติม เช่น การสแกนภาพและการเอกซเรย์

การรักษา อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ

โดยปกติหากคุณมีอาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบให้หยุดพักกิจกรรมบางอย่างที่ส่งผลต่ออาการเจ็บปวดของคุณ เพื่อให้ความเจ็บปวดบรรเทาลง หากยังรู้สึกปวดอยู่ ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ โดยแพทย์จะใช้วิธีการรักษาดังต่อไปนี้

การรักษาเบื้องต้น

  • ยกขาของคุณให้สูงขึ้น ประคบน้ำแข็งเพื่อลดอาการบวม
  • ทานยาแก้อักเสบ เพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ไอบูโพรเฟน(Ibuprofen) หรือ นาพรอกเซน (Naproxen)
  • สวมผ้าพันแผลแบบยืดหยุ่น

 การรักษาด้วยการผ่าตัด

โดยส่วนมากแพทย์จะทำการผ่าตัดเฉพาะในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และมีอาการเจ็บปวดนานหลายเดือน การผ่าตัดนี้เรียกว่า การผ่าตัดเปิดเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ (Fasciotomy) โดยแพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อพังผืดรอบๆ กล้ามเนื้อน่องของคุณเล็กน้อย จะช่วยบรรเทาอาการปวดให้ลดลงได้

 

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษา อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษา อาการกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ สามารถทำได้ดังนี้

  • เลือกรองเท้าที่เหมาะสม หากคุณออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ควรเลือกรองเท้าที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย 
  • หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวกิจกรรมที่รุนแรง การออกกำลังกายมากจนเกินไป หรือกิจกรรมที่มีผลกระทบต่ออาการปวดสูง อาจทำให้หน้าแข็งปวดมากขึ้นกว่าเดิม
  • เลือกพื้นรองเท้าที่ดูดซับแรงกระแทก การเลือกพื้นรองเท้าที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันความเจ็บปวดของกระดูกหน้าแข้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา