backup og meta

5 อาการปวดหลังชนิดเรื้อรัง ที่คุณควรต้องรู้

5 อาการปวดหลังชนิดเรื้อรัง ที่คุณควรต้องรู้

การทำความเข้าใจอาการและสาเหตุของอาการปวดหลัง เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากอาการเจ็บชนิดหนึ่งอาจนำไปสู่อาการเจ็บชนิดอื่น ๆ และทำให้เกิดปัญหามากมายในระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ ซึ่ง Hello คุณหมอ อยากแนะนำให้ทุกคนทราบว่า กระบวนการนี้ทำให้เกิดการกำเริบของอาการปวดหลัง และสามารถนำไปสู่ อาการปวดหลังชนิดเรื้อรังได้

เมื่อผู้ป่วยเข้าพบหมอเป็นครั้งแรกเพื่อพูดคุยถึงอาการปวดหลัง ส่วนใหญ่แพทย์มักจะแนะนำวิธีการรักษาแบบเดียวกันที่ใช้ได้กับทุก ๆ กรณี โดยทั่วไปแพทย์มักเริ่มตรวจวินิจฉัย และเริ่มขั้นตอนการรักษาแบบเฉพาะทางขั้นสูง และอธิบายวิธีการตรวจรักษาอย่างละเอียด แต่แท้จริงแล้วขั้นตอนการรักษาอาการปวดหลังนั้นมีหลากหลาย เท่ากับว่าการตรวจวินิจฉัยนั้นเป็นการสร้างสมมติฐาน และลองผิดลองถูกมากกว่า และโดยเฉพาะหากอาการปวดหลังไม่ทุเลาลง นั่นอาจเป็นสัญญาณให้คุณรู้ว่า คุณกำลังมี อาการปวดหลังชนิดชนิดเรื้อรัง

5 อาการปวดหลังชนิดเรื้อรัง ที่ควรระวัง

อาการกล้ามเนื้อฉีก

อาการนี้เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นมากที่สุด และก่อให้เกิดอาการปวดหลังเฉียบพลัน สูงถึงร้อยละ 95 ของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเฉียบพลัน เมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อหลังมากเกินไป กล้ามเนื้อจะเกิดการกระตุกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น อาการกระตุกและปวดนั้นเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายซึ่งไม่ควรที่จะละเลย แต่ข้อดีคือ อาการปวดหลังที่เกิดจากกล้ามเนื้อฉีกนั้นไม่รุนแรง สามารถตอบสนองการรักษาตามอาการได้ โดยใช้เวลาประมาณสองถึงสามวัน หรือไม่กี่สัปดาห์ในการเยียวยา

แม้อาการกล้ามเนื้อฉีกในคนส่วนใหญ่สามารถรักษาได้โดยง่าย แต่อาการนี้สามารถเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาที่ใหญ่กว่า เพราะหากอาการกล้ามเนื้อฉีกเกิดขึ้นต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ และนำไปสู่อาการปวดหลังเรื้อรังได้ และถ้ามีอาการกล้ามเนื้อฉีกมากกว่าสองสัปดาห์ขึ้นไป คุณควรพิจารณาว่า นี่อาจเป็นอาการเจ็บกล้ามเนื้อ หรือเป็นสัญญาณของกล้ามเนื้อที่พยายามป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บ

อาการปวดข้อฟาเส็ท (ข้อต่อที่อยู่ด้านหลังของกระดูกสันหลัง)

เกิดจากการอักเสบของข้อฟาเส็ท ถือเป็นอาการที่เกิดขึ้นมากที่สุดลำดับที่สอง เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหลัง โดยข้อฟาเส็ทนี้เชื่อมอยู่กับข้อกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นกระดูกที่เรียงต่อกันบริเวณสันหลัง

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังนั้น ข้อต่อกระดูกสันหลังฟาเส็ทจะเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดอาการปวดในระยะเริ่มแรก ทำให้อาการปวดนี้นำไปสู่อาการปวดหลังเรื้อรังต่อไป จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อฟาเส็ทต้องรีบเข้ารับการรักษาเพื่อจัดการกับอาการก่อนที่จะเกิดอาการอื่นเรื้อรัง

อาการหมอนรองกระดูกเคลื่อน

คือ การเคลื่อนตัวไปด้านหลังของหมอนรองกระดูกสันหลังสองชิ้น ในทิศทางที่เข้าหาโพรงกระดูกสันหลัง ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดหลังขึ้น อาการนี้ตรวจพบได้โดยใช้การตรวจเอ็มอาร์ไอ

อาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนนี้มีหลายชนิด และมีการรักษาด้วยวิธีการเดียวกัน อาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนเป็นอาการที่ได้รับการวินิจฉัยพบมากที่สุดเป็นลำดับที่สอง ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง

อาการปวดหมอนรองกระดูกลงขาถึงบริเวณข้อพับ

อาการปวดหมอนรองกระดูกลงขา ถึงบริเวณข้อพับ (Discogenic Pain) เกิดจากอาการบาดเจ็บภายในของหมอนรองกระดูก โดยผู้ป่วยจะเกิดอาการเจ็บมาจากหมอนรองกระดูกทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว อาการปวดหมอนรองกระดูกลงขาถึงบริเวณข้อพับเกิดขึ้นที่ส่วนกลางของหลัง โดยอาการปวดหมอนรองกระดูกที่เกิดขึ้น จะคล้ายกับอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนและปวดข้อต่อกระดูกสันหลังฟาเส็ท จึงจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด

อาการปวดที่ข้อกระดูกสันหลังกับเชิงกราน (Sacroiliac Joint Pain)

หรืออาการปวดสะโพกร้าวลงขา อาการนี้เกิดขึ้นตามชื่อของอาการ คือ เกิดขึ้นบริเวณข้อกระดูกสันหลัง หรือกล่าวคือบริเวณที่กระดูกสันหลังเชื่อมต่อกับเชิงกราน

ข้อต่อถูกล้อมรอบด้วยเอ็นต่าง ๆ ที่ทำให้ข้อต่อไม่เคลื่อนที่ เมื่อกระดูกสันหลังไม่มั่นคง อันเนื่องมาจากกล้ามเนื้อพยุงที่ไม่แข็งแรง ร่างกายจะทดแทนด้วยท่าทางการเดินที่เปลี่ยนไป เพื่อช่วยในการรักษาความมั่นคงของกระดูกสันหลัง แต่จะทำให้เกิดการฉีกหรือยืดตัวของเอ็นที่อยู่รอบ ๆ ข้อต่อ จนทำให้เอ็นเหล่านั้นไม่สามารถยึดข้อต่อให้มั่นคงได้ โดยอาการนี้อาจเกิดจากการบาดเจ็บ หรือกรรมพันธุ์ แต่โดยปกติแล้วจะมาจากกล้ามเนื้อพยุงที่ไม่แข็งแรง จนนำไปสู่อาการปวดหลังเรื้อรัง

เมื่อผู้ป่วยไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม หรือไม่เข้าใจถึงพัฒนาการของอาการปวดหลังเรื้อรัง ทำให้อาการปวดหลังยังคงอยู่ ด้วยสาเหตุนี้ หากกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่พยุงไม่แข็งแรง จะทำให้เกิดอาการปวดที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Muscle Strains. https://www.healthline.com/health/strains. Accessed on December  5, 2018.

Facet joint syndrome: from diagnosis to interventional management. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6206372/. Accessed on December  5, 2018.

Intervertebral disk. https://www.healthline.com/human-body-maps/intervertebral-disk#1. Accessed on December  5, 2018.

Is Your SI Joint Giving You Back Pain?. https://www.webmd.com/back-pain/si-joint-back-pain#1. Accessed on December  5, 2018.

Sacroiliitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sacroiliitis/symptoms-causes/syc-20350747. Accessed on December  5, 2018.

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/12/2020

เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ท่าร่วมรัก สำหรับคนปวดหลัง ท่าไหนที่ปลอดภัย

วิธีแก้ปวดหลัง จะปวดหลังเฉียบพลันหรือปวดหลังเรื้อรัง ก็รักษาได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 16/12/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา