backup og meta

อาการปวดหลังของคุณเกิดจาก เส้นประสาทถูกกดทับ หรือเปล่า?

อาการปวดหลังของคุณเกิดจาก เส้นประสาทถูกกดทับ หรือเปล่า?

อาการปวดหลังของคุณเกิดได้จากหลายสาเหตุ และนอกจากปัญหาของกล้ามเนื้อและกระดูกแล้ว อาการปวดของคุณอาจเกิดจาก เส้นประสาทถูกกดทับ หรือการกดทับเส้นประสาทไซอาติก (Sciatica) ที่อยู่บริเวณตั้งแต่กระดูกสันหลังส่วนล่างลงมาตามด้านหลังขา เนื่องจากเส้นประสาทไซอาติกได้รับการกระทบกระเทือน หรือถูกกดทับจากปัญหาบางประการของหลังส่วนล่าง Hello คุณหมอ มีข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับอาการปวดหลังจาก เส้นประสาทถูกกดทับ มาฝากทุกท่านดังนี้

อาการปวดหลังจากเส้นประสาทเป็นอย่างไร

เมื่อรากประสาทส่วนใดส่วนหนึ่งที่หลังส่วนล่าง ได้รับการกระทบกระเทือน อาการปวดจะเกิดขึ้น และแพร่จากรากประสาทที่เส้นประสาทไซอาติกไปจนถึงก้น และบางครั้งลามไปถึงด้านหลังของต้นขาและเท้า หรือนิ้วเท้า

อาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก มักแสดงอาการใดอาการหนึ่งหรือมากกว่า ดังนี้

  • อาการปวดเรื้อรังด้านใดด้านหนึ่งของก้นหรือต้นขา อาจลามลงไปที่ขาสู่เท้าและนิ้วเท้า (มักไม่เกิดที่ขาทั้งสองข้าง)
  • อาการปวดขา อาจเกิดอาการที่เรียกว่า ปวดแสบร้อน เสียวซ่า
  • อาการชา อ่อนแรงหรือเคลื่อนไหวขา เท้าและ/หรือ นิ้วเท้าลำบาก
  • อาการปวดรุนแรงขึ้นเมื่อนั่ง ทำให้ไม่สามารถนั่งได้นาน
  • เจ็บปวดรุนแรง ยืนหรือเดินลำบาก
  • อาการปวดเพิ่มมากขึ้น จากการไอหรือจาม

อาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก อาจเกิดขึ้นเฉียบพลัน แต่ไม่เรื้อรังไปจนถึงอาการเรื้อรัง ที่อาจจะทำให้ทุพพลภาพได้

ปัญหาเกี่ยวกับหลังส่วนล่างที่ทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ

โดยทั่วไป สาเหตุของอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติกในวัยผู้ใหญ่ มาจากหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกเสื่อม หรือกระดูกสันหลังเลื่อน ในผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปี สาเหตุหลักของอาการคือการเสื่อมจากโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (lumbar spinal stenosis) หรือกระดูกสันหลังเคลื่อนและเสื่อม การรับรู้สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก เป็นสิ่งสำคัญเพื่อทำให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม

อาการที่คล้ายกับอาการปวดจากเส้นประสาทถูกกดทับ

คนจำนวนมากนึกถึงอาการปวดขาประเภทต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก แต่อาการปวดขามีสาเหตุมากมายที่ไม่ถูกจัดว่า เป็นอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก และจำเป็นต้องรับการรักษาที่ต่างกันไป สาเหตุของอาการปวด มีดังนี้

  • ปัญหาข้อต่อในกระดูกสันหลัง เช่น โรคข้ออักเสบ (arthritis) หมายถึง อาการปวดที่เกิดจากการอักเสบของข้อต่อ อาการปวดนี้ไม่ถูกจัดเป็นอาการปวดจากเส้นประสาทไซอาติกถูกกดทับ ดังนั้น การรักษาจึงต่างออกไป และเน้นการบำบัดที่ไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาการเคลื่อนไหวของข้อต่อ และลดความเจ็บปวดในระยะยาว แพทย์อาจสั่งยาแก้อักเสบเพื่อลดอาการอักเสบที่ข้อต่อ
  • การปวดสะโพกร้าวลงขา เป็นสาเหตุทั่วไปของอาการปวดหลัง หรือสะโพกและขา การเคลื่อนที่ของข้อต่อกระดูกสันหลังกับเชิงกรานเพียงเล็กน้อย อาจทำให้เกิดอาการปวดที่คล้ายกับอาการปวดจากเส้นประสาทไซอาติกถูกกดทับ หรือกรณีมีปัญหาที่ข้อสะโพก อาจมาด้วยอาการปวดเข่าได้ (Referred Pain) การรักษาอาการปวดชนิดนี้มักไม่ใช้การผ่าตัด ด้วยจุดประสงค์เพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของข้อต่อให้เป็นปกติ
  • กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis syndrome) เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อสะโพกบริเวณก้นกดทับเส้นประสาทไซอาติก ซึ่งทำให้เกิดอาการคล้ายกับอาการปวดจากเส้นประสาทไซอาติกถูกกดทับ อาการปวดประเภทนี้ ไม่ใช่อาการของอาการปวดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก เนื่องจากเส้นประสาทและการกดทับนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นที่บริเวณหลังส่วนล่าง การรักษาอาการนี้มักประกอบด้วยการใช้ยาแก้อักเสบ และการทำกายภาพบำบัด

โดยสรุปแล้ว การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากอาจมีอาการที่ไม่ปรากฏ ที่ทำให้เกิดอาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติก หรืออาการที่คล้ายคลึง อาการปวดที่คล้ายคลึงอาจได้รับการรักษาโดยทันทีแม้ว่าจะเกิดขึ้นไม่บ่อยก็ตาม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sciatica. http://www.webmd.com/back-pain/tc/sciatica-topic-overview. Accessed January 13th, 2017.

Pain Management and Sciatica. http://www.webmd.com/back-pain/guide/sciatica-symptoms. Accessed January 13th, 2017.

Low Back Pain and Sciatica. http://emedicine.medscape.com/article/1144130-overview#a2. Accessed January 13th, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย นายแพทย์วิทวัส เจนบุญไทย

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัณโรคกระดูก โรคที่พบบ่อยในคนไทย วิธีป้องกันทำได้อย่างไร

วิธีแก้ปวดหลัง จะปวดหลังเฉียบพลันหรือปวดหลังเรื้อรัง ก็รักษาได้


เขียนโดย

นายแพทย์วิทวัส เจนบุญไทย

ศัลยกรรมกระดูกและข้อ · โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์


แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา