backup og meta

หอบหืดกับอาหาร โภชนาการสำหรับคนเป็นโรคหอบหืด

หอบหืดกับอาหาร โภชนาการสำหรับคนเป็นโรคหอบหืด

การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ และ หอบหืดกับอาหาร ก็มีบทบาทสำคัญสำหรับคนที่เป็นโรคหอบหืดเช่นกัน ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า การรับประทานอาหารเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด อาจมีผลต่อการช่วยควบคุมโรคหอบหืด ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของหลอดลม และช่วยลดจำนวนครั้งในการเกิดอาการหอบหืดกำเริบได้

โรคหอบหืดและโรคอ้วน

หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลักของการเกิดโรคหอบหืด คือ โรคอ้วน โรคหอบหืดในคนอ้วน อาจมีอาการรุนแรงมากกว่า และรักษาได้ยากกว่าโรคหอบหืดทั่วไป การบริโภคอาหารที่เหมาะสมและมีน้ำหนักตัวในเกณฑ์ที่ดี จะสามารถควบคุมอาการนี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น

อาหารที่ดีต่อสุขภาพมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม เช่นเดียวกับแผนการรักษาโรคหอบหืดของคุณ ยิ่งไปกว่านั้นอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมีโอกาสอย่างมากที่จะทำให้เป็นโรคอ้วน ซึ่งเชื่อกันว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคหอบหืดรุนแรง การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีด้วยการกินอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก

หมอหลายๆคนสงสัยว่า มีอาหารบางชนิดสามารถส่งผลกระทบต่ออาการหอบหืด ตัวอย่างเช่น บางคนเชื่อว่าการบริโภคอาหารบางชนิดส่งผลดีต่อโรคหอบหืดของคุณ เนื่องมาจากประสิทธิภาพของมันในการส่งเสริมการทำงานของปอด แต่ก็มีบางคนที่เชื่อว่าควรหลีกเลี่ยง หากคุณมีอาการแพ้อาหารเหล่านั้น เพราะอาการแพ้อาหารอาจไปกระตุ้นการเกิดโรคหอบหืด

หอบหืดกับอาหาร อะไรควรกิน…อะไรไม่ควรกิน

แม้ว่าจะยังไม่มีอาหารที่แนะนำ สำหรับผู้ที่เป็นโรคหอบหืด แต่ยังมีอาหารและสารอาหารที่ช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพการทำงานของปอด มีหลักฐานปรากฎถึงอัตราการกำเริบของหอบหืดที่ลดลง ในผู้ที่บริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี และวิตามินซี กรดไขมันโอเมก้า 3 ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ธาตุซิลีเนียม และธาตุแมกนีเซียม สารทั้งหลายเหล่านี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่สามารถป้องกันเซลล์จากความเสียหาย

งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้เปิดเผยว่า วัยรุ่นที่บริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ มีโอกาสมากขึ้นในการเกิดอาการหอบหืด นอกจากนี้ความเสี่ยงของประสิทธิภาพการทำงานปอดย่ำแย่ลง มีโอกาสพบสูงในคนที่ไม่ได้รับประทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินอี วิตามินซี และกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างเพียงพอ งานวิจัยอีกชิ้นได้เปิดเผยว่า เด็กที่ทานอาหารที่ประกอบไปด้วยถั่วและผลไม้ อย่างเช่น มะเขือเทศหรือแอปเปิ้ล มีโอกาสในการเกิดอาการหอบหืดน้อยลง

อาหารที่ควรรับประทาน

  • อาหารที่มีวิตามินดีสูง อย่าง นม ปลาแซลมอน ไข่ น้ำส้มสายชูเสริมสารอาหาร
  • ผักที่อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน อย่างเช่น ผักใบเขียว ผักขม บร็อคโคลี่ มันเทศ แครอท
  • อาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียม อย่างเช่น เมล็ดฟักทอง ผักขม ปลาแซลมอน ดาร์กช็อกโกแลต
  • กล้วย เชื่อกันว่า ช่วยลดการหอบหายใจแรงที่เกิดจากอาการหอบหืดในเด็กเล็ก เนื่องจากอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและโพแทสเซียม

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

  • ซัลไฟต์ (Sulfites)
  • อาหารที่ก่อให้เกิดก๊าซ
  • ส่วนผสมสังเคราะห์ (สารวัตถุกันเสีย)

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Asthma and Diet. http://www.webmd.com/asthma/guide/asthma-diet-what-you-should-know#1. Accessed August 5, 2017

Asthma and Your Diet: What to Eat and What to Avoid. http://www.healthline.com/health/asthma/asthma-diet#1. Accessed August 5, 2017

Asthma and Your Diet: What to Eat and What to Avoid. https://www.healthline.com/health/asthma/asthma-diet. Accessed 6 November 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงถ้าคุณกำลัง รับมือกับ โรคซึมเศร้า

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ กินอาหารอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา