backup og meta

อ้วนขึ้นหน้า แก้ปัญหาอย่างไรดี

อ้วนขึ้นหน้า แก้ปัญหาอย่างไรดี

อ้วนขึ้นหน้า เป็นลักษณะของใบหน้าที่มีลักษณะอวบบวมขึ้นเนื่องจากร่างกายได้รับปริมาณไขมันทรานส์ซึ่งเป็นไขมันชนิดไม่ดีจากอาหารประเภททอด ของหวาน อาหารฟาสต์ฟู้ด จนส่งผลให้น้ำหนักมากขึ้นและเกิดการสะสมไขมันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบริเวณหน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา ทั้งนี้ หากดูแลตนเองด้วยการออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน อาจช่วยให้ควบคุมน้ำหนักและป้องกันอ้วนขึ้นหน้าได้

[embed-health-tool-bmi]

อ้วนขึ้นหน้า มีสาเหตุจากอะไร

ไขมันบนใบหน้ามักเกิดจากการที่ร่างกายได้รับไขมันทรานส์ในระดับที่มากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นของทอด ขนมหวาน อาหารจานด่วน ซึ่งเป็นไขมันชนิดไม่ดีต่อสุขภาพ และหากร่างกายมีการเผาผลาญไขมันที่ไม่ดีพอ อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดในสมอง ภาวะดื้ออินซูลิน และโรคเรื้อรังอื่น ๆ ขึ้นได้อีกด้วย

สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (AHA) แนะนำว่าควรบริโภคอาหารที่ประกอบด้วยไขมันทรานส์ไม่เกิน 5-6% ของปริมาณแคลอรี่ทั้งหมด เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ

วิธีกำจัด ไขมันบนใบหน้า

เมื่อไขมันบนใบหน้าสะสมเป็นจำนวนมากทำให้เกิดอาการอ้วนขึ้นหน้า ทั้งนี้ เพื่อลดไขมันสะสมบนใบหน้าอาจใช้วิธีการบริหารใบหน้าเป็นประจำ ด้วยวิธีการดังนี้

  1. นำมือทั้ง 2 ข้างประกบบริเวณแก้ม
  2. ออกแรงกดปานกลางแล้วค่อย ๆ ดึงไขมันบริเวณตรงแก้มขึ้นไป พร้อมกับเม้มปาก หรือยิ้มเอาไว้
  3. จากนั้นดันค้างเอาไว้สักครู่ แล้วจึงค่อย ๆ ผ่อนลง

นอกจากวิธีข้างต้นแล้ว การออกกำลังกายในรูปแบบคาร์ดิโออื่น ๆ อาจมีส่วนช่วยได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง เต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน เป็นต้น อย่างน้อยต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 20-40 นาทีต่อวัน ช่วยให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญที่ดี เพิ่มการกำจัดไขมันทั้งในร่างกาย และลดอาการอ้วนขึ้นหน้าได้ด้วย

เคล็ดลับเพื่อป้องกันอาการอ้วนขึ้นหน้า

เพื่อป้องกันไขมันสะสมบนใบหน้า ควรปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ได้แก่

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน

การดื่มน้ำมีส่วนช่วยให้รู้สึกอิ่ม และยังช่วยให้ระบบการเผาผลาญมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงอาจส่งผลให้น้ำหนักลดลงได้

  • จำกัดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เนื่องจาก การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป อาจส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ ทำให้ร่างกายต้องกักเก็บน้ำเอาไว้จนอาจสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและใบหน้าได้อย่างชัดเจนว่าเกิดอาการบวม

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การอดนอน หรือนอนไม่เพียงพอ 8 ชั่วโมงต่อคืน อาจส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ที่เชื่อมโยงกับการกระตุ้นของความหิว จนรู้สึกอยากรับประทานอาหารในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาจส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้มากกว่าปกติ

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับผลของการอดนอนต่อการเพิ่มระดับฮอร์โมนเกรลินและความรู้สึกหิวในผู้ชายสุขภาพดีที่มีน้ำหนักปกติ เผยแพร่ในวารสาร Journal of Sleep Research พ.ศ. 2551 ระบุว่า การอดนอนจะลดระดับฮอร์โมนเลปติน (Leptin) หรือฮอร์โมนความอิ่ม แต่จะเพิ่มระดับฮอร์โมนเกรลินหรือฮอร์โมนความหิว หากอดนอนเป็นเวลาต่อเนื่องอาจส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นและเป็นโรคอ้วนได้

  • เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์

อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล เกลือสูง จำพวกอาหารชนิดแป้ง และอาหารแปรรูป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อไขมันสะสม ดังนั้น จึงควรมีการรับประทานอาหารประเภทไฟเบอร์ให้มากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช หรืออาจรับประทานร่วมกันได้ แต่ควรปรับปริมาณของคาร์โบไฮเดรตให้ลดลง

หากมีข้อกังวล หรือข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติมหากมีอาการอ้วนขึ้นหน้าผิดปกติ อาจต้องขอคำปรึกษาได้จากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญในการรับเข้าการรักษาเกี่ยวกับวิธีกำจัดไขมันอย่างเหมาะสม เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันจึงส่งผลให้วิธีการรักษาอาการอ้วนขึ้นหน้านั้นแตกต่างกันออกไปด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The truth about fats: the good, the bad, and the in-between. https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/the-truth-about-fats-bad-and-good. Accessed September 20, 2022.

What to do to reduce facial fat. https://www.medicalnewstoday.com/articles/326262. Accessed September 20, 2022.

Types of fat: Can fat be good for you? https://www.medicalnewstoday.com/articles/141442. Accessed September 20, 2022.

Dietary fats explained. https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000104.htm. Accessed September 20, 2022.

Alberga, A. S., et al. (2015). Effects of aerobic and resistance training on abdominal fat, apolipoproteins and high-sensitivity C-reactive protein in adolescents with obesity: The HEARTY randomized clinical trial [Abstract]. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26202452. Accessed September 20, 2022.

D’souza, D., et al. (2014). Enhancing facial aesthetics with muscle retraining exercises-A review. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4190816/. Accessed September 20, 2022.

Friedenreich, C. M., et al. (2015). Effects of a high vs moderate volume of aerobic exercise on adiposity outcomes in postmenopausal women: A randomized clinical trial [Abstract]. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26181634. Accessed September 20, 2022.

Schmid, S., et al. (2008). A single night of sleep deprivation increases ghrelin levels and feelings of hunger in normal-weight healthy men. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1111/j.1365-2869.2008.00662.x. Accessed September 20, 2022.

Thornton, S. N. (2016). Increased hydration can be associated with weight loss.. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4901052/. Accessed September 20, 2022.

Traversy, G., & Chaput, J.-P. (2015). Alcohol consumption and obesity: An update.. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4338356/. Accessed September 20, 2022.

Willis, L. H., et al. (2012). Effects of aerobic and/or resistance training on body mass and fat mass in overweight or obese adults. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3544497/. Accessed September 20, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/04/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลดแป้งหรือลดไขมัน แบบไหนดีต่อการลดน้ำหนักมากกว่ากัน

เผาผลาญไขมัน ช่วยลดน้ำหนัก มีวิธีไหนได้ผลบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา