backup og meta

กระเจี๊ยบเขียว ช่วยผู้ป่วยเบาหวานรับมือกับโรคได้อย่างไร

กระเจี๊ยบเขียว ช่วยผู้ป่วยเบาหวานรับมือกับโรคได้อย่างไร

กระเจี๊ยบเขียว เป็นผักชนิดหนึ่ง จัดเป็นพืชล้มลุกวงศ์เดียวกับโกโก้ ชบา ฝ้าย มีต้นกำเนิดในแถบแอฟริกาตะวันตก เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนและเขตอบอุ่น เช่น ซูดาน อิยิปต์ ไนจีเรีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย ขึ้นชื่อว่าเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งนี้ ควรระมัดระวังในการบริโภคเพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำจนเกินไปเพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

[embed-health-tool-bmi]

ลักษณะของกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว หรือ Okra หรือ Lady’s finger ดอกมีสีเหลืองอ่อนลักษณะคล้ายดอกชบา ผลมีลักษณะเป็นฝักคล้ายนิ้วมือของผู้หญิง สีเขียวทรงยาวเรียว ตามฝักมีขนอ่อน ๆ กระจายอยู่ทั่ว ภายในฝักมีเมล็ดมากมาย ที่นิยมนำมารับประทานได้แก่ ฝักอ่อน เพราะมีรสหวานกรอบอร่อย

คุณค่าทางโภชนาการ

กระเจี๊ยบเขียวปริมาณ 100 กรัมให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ โฟเลต แคลเซียม แมกนีเซียม (Magnesium) วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี วิตามินเค ไม่มีกรดไขมันอิ่มตัวและช่วยลดคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย

กระเจี๊ยบเขียว กับโรคเบาหวาน

กระเจี๊ยบเขียวให้พลังงานน้อยหรือแทบจะไม่มีไขมันเป็นส่วนประกอบเลย แต่อุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอและสังกะสี แต่คุณประโยชน์สำคัญที่สุดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน นั่นคือ กระเจี๊ยบเขียวอุดมไปด้วยไฟเบอร์หรือใยอาหาร

ใยอาหารเป็นสารอาหารที่มีคุณสมบัติช่วยรักษาระดับการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ใหญ่ให้คงที่ ทั้งยังช่วยลดการเกิดภาวะเครียดทางออกซิเดชัน (Oxidative stress) หรือภาวะที่มีร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินไป ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ลดความเสี่ยงเบาหวาน จึงเหมาะเป็นอีกทางเลือกในการรับประทานอาหาร ที่ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานอาจรับมือกับโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม ลดโอกาสเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อน

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของกระเจี๊ยบเขียวที่มีต่อการรักษาโรคเบาหวาน เผยแพร่ในวารสาร Food Science and Human Wellness พ.ศ. 2565 ระบุว่า กระเจี๊ยบเขียวมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน อาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมและทดลองทั้งในคนและสัตว์เพิ่มเติมเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของกระเจี๊ยบเขียวต่อการบรรเทาและป้องกันโรคเบาหวาน

นอกจากนั้น ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้น ศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของสารสกัดกระเจี๊ยบเขียวในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เผยแพร่ในวารสาร PLOS One พ.ศ. 2560 นักวิจัยได้ทำการทดลองในหนูทดลองที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้บริโภคสารสกัดกระเจี๊ยบเขียวและกระเจี๊ยบเขียวสด ได้ข้อสรุปว่า การบริโภคกระเจี๊ยบสดและสารสกัดกระเจี๊ยบเขียวอาจมีประโยชน์ต่อการรักษาโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารสกัดกระเจี๊ยบเขียวเพื่อยืนยันถึงประสิทธิภาพและประโยชน์ต่อสุขภาพต่อไป

ข้อควรระวังในการบริโภคกระเจี๊ยบเขียว

แม้กระเจี๊ยบเขียวอาจมีประโยชน์ต่อการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน แต่ควรบริโภคด้วยความระมัดระวัง ดังนี้

  • ผู้ที่ใช้ยาเจือจางเลือด (Blood thinner) ไม่ควรรับประทานกระเจี๊ยบเขียวมากเกินไป เพราะอาจทำให้มีวิตามินเคสูง จนส่งผลให้ยาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
  • กระเจี๊ยบเขียวอุดมไปด้วยออกซาเลต (Oxalates) ซึ่งเป็นสารที่ยับยั้งการดูดซึมแคลเซียม ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดนิ่วในไตได้
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาเมทฟอร์มินในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ควรรับประทานกระเจี๊ยบเขียว เพราะอาจไปลดประสิทธิภาพของยา ดังนั้น ผู้ป่วยที่รับประทานยาดังกล่าว รวมทั้งผู้ป่วยโรคไต หรือผู้มีแนวโน้มเป็นนิ่วในไต ควรปรึกษาคุณหมอก่อนตัดสินใจรับประทานกระเจี๊ยบเขียว เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจตามมาได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Is okra good for diabetes?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/311006.php. Accessed September 27, 2022.

Okra Water For Diabetes Hoax. https://diabetestalk.net/diabetes/okra-water-for-diabetes-hoax. Accessed September 27, 2022.

Top 10 Health Benefits of Okra. http://www.healthfitnessrevolution.com/the-top-10-health-benefits-of-okra/. Accessed September 27, 2022.

The nutraceutical benefits of subfractions of Abelmoschus esculentus in treating type 2 diabetes mellitus. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29216237/. Accessed September 27, 2022.

Minireview: Therapeutic potential of myricetin in diabetes mellitus. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2213453012000031. Accessed September 27, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/09/2022

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ที่เป็นประโยชน์ต่อโรคเบาหวาน

วิตามินดี ช่วยป้องกัน โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ได้จริงหรือ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 27/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา