backup og meta

ข้าวเหนียวมะม่วง มีข้อควรระวังในการบริโภคอย่างไร

ข้าวเหนียวมะม่วง มีข้อควรระวังในการบริโภคอย่างไร

ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นของหวานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีทั้งรสชาติหวาน มัน เค็ม รวมถึงมีความหอมจากมะม่วงสุก ข้าวเหนียวมูน และน้ำกะทิ อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงแต่พอเหมาะ เพราะหากรับประทานมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวเหนียวมะม่วง

ข้าวเหนียวมะม่วง 1 จาน ประกอบด้วย มะม่วงสุก ข้าวเหนียวมูน และน้ำกะทิ ให้พลังงานเฉลี่ยประมาณ 450 กิโลแคลอรี

  • มะม่วงสุก 100 กรัม ให้พลังงาน 285 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรต 54 กรัม และโปรตีน 3.1 กรัม
  • น้ำกะทิ 1 ช้อนโต๊ะ ให้พลังงาน 45 กิโลแคลอรี่ ไขมัน 2.8 กรัม

ทั้งนี้ ปริมาณพลังงาน ชนิดและปริมาณสารอาหารที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของมะม่วงสุก ข้าวเหนียวมูน และน้ำกะทิที่รับประทานใน 1 มื้อ

ข้อควรระวังในการบริโภคข้าวเหนียวมะม่วง

ข้าวเหนียวมะม่วงเป็นเมนูของหวานที่ให้พลังงานสูง เพราะมีส่วนประกอบของมะม่วงสุก ข้าวเหนียวมูน น้ำกะทิ รวมถึงน้ำตาล และเกลือที่ใช้ในการปรุงรสชาติ ดังนั้น การรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงในปริมาณที่มากเกินไปจึงอาจส่งผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และอาจเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ จึงควรรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงในปริมาณที่พอเหมาะ ดังนี้

  • รับประทานข้าวเหนียวมะม่วงในช่วงเช้า และหลีกเลี่ยงการรับประทานตอนเย็น เนื่องจากช่วงเวลาตลอดทั้งวันร่างกายต้องใช้พลังงาน จึงอาจช่วยในการเผาผลาญพลังงานที่ได้รับจากข้าวเหนียวมะม่วงได้
  • ลดปริมาณข้าวเหนียวมูนและน้ำกะทิ เพิ่มการรับประทานมะม่วง
  • เลือกข้าวเหนียวดำหรือข้าวเหนียวที่ไม่ผ่านการขัดสี เนื่องจากมีกากใยสูงและน้ำตาลน้อย
  • หากรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงในวันนั้น ให้งดการรับประทานข้าว 1 มื้อ เนื่องจากข้าวเหนียวมะม่วง 1 จาน ให้พลังงานสูงเทียบเท่ากับอาหารทั่วไป 1 จาน

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

New Study: Mangos Helped Improve Cardiovascular And Gut Health In Women. https://www.prnewswire.com/news-releases/new-study-mangos-helped-improve-cardiovascular-and-gut-health-in-women-300663802.html#:~:text=The%20researchers%20conclude%20that%20mangos,National%20Mango%20Board%20and%20USDA. Accessed August 4, 2022

Polyphenol-rich Mango (Mangifera indica L.) Ameliorate Functional Constipation Symptoms in Humans beyond Equivalent Amount of Fiber. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29733520/. Accessed August 4, 2022

Mango supplementation improves blood glucose in obese individuals. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25210462/. Accessed August 4, 2022

Can Eating Mangoes Reduce Women’s Facial Wrinkles?. https://www.ucdavis.edu/news/can-eating-mangoes-reduce-womens-facial-wrinkles. Accessed August 4, 2022

Mangos, raw. https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/169910/nutrients. Accessed August 4, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/09/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

สารอาหารที่ให้พลังงานได้แก่อะไรบ้าง

เมนู อาหารสำหรับ ไทรอยด์เป็นพิษ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

โภชนาการเพื่อสุขภาพ · โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 30/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา