backup og meta

บีทรูท คุณค่าทางโภชนาการ และประโยชน์ต่อสุขภาพ

บีทรูท คุณค่าทางโภชนาการ และประโยชน์ต่อสุขภาพ

บีทรูท พืชหัวสีแดงสดที่อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะวิตามินซี ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด ดีต่อระบบขับถ่าย อย่างไรตาม ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่ายอาจควรระมัดระวังการรับประทานบีทรูท เนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกได้

[embed-health-tool-bmr]

ประโยชน์ด้านสุขภาพของบีทรูท

บีทรูท (Beetroot) เป็นอีกหนึ่งในผักผลไม้สีแดงที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย อุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายหลายชนิด เช่น วิตามินบี 9 วิตามินซี ธาตุเหล็ก แมงกานีส ใยอาหาร  โดยส่วนใหญ่มักนิยมนำรากมารับประทานเป็นอาหาร นำหัวมาทำเป็น น้ำบีทรูท ดื่มเพื่อสุขภาพ และยังอาจสามารถช่วยบำบัดรักษาโรคต่างๆ ได้ดังนี้

บำรุงหัวใจและลดความดันโลหิต

  • ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ การรับประทานน้ำบีทรูทที่อุดมไปด้วยสารไนเตรต (Nitrate) สามารถช่วยลดความดันโลหิตสูงได้อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยท่านใดที่เป็นความดันโลหิตสูง ลองดื่มน้ำบีทรูทแล้วความดันลดลง ก็ไม่ควรหยุดรับประทานยาเอง ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งตามปกติ

ช่วยควบคุมโรคเบาหวาน

  • บีทรูทมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่เรียกว่า กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-lipoic Acid ; ALA) เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากดื่มน้ำบีทรูทเป็นประจำจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

ช่วยปรับสมดุลระบบขับถ่าย

  • กระทรวงเกษตรประเทศสหรัฐอเมริกา (USDA) กล่าวว่า บีทรูท 1 ถ้วยให้ไฟเบอร์มากกว่า 8.81 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณไฟเบอร์ที่ร่างกายต้องการต่อวัน ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันอาการท้องผูกได้

ช่วยป้องกันมะเร็ง

  • สารเบทานิน (Betanin) เป็นสารสีแดงที่อยู่ในหัวบีทรูท ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้

คุณค่าทางโภชนาการของบีทรูท

บีทรูทดิบหนึ่งถ้วย (ประมาณ 136 กรัม) มีอาจคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้

นอกจากนี้ บีทรูทยังประกอบด้วย วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ มากมาย เช่น แคลเซียม เหล็ก วิตามินบี ทองแดง

 How to ทำน้ำบีทรูท 

  • ขั้นตอนที่ 1  นำบีทรูทมาล้างให้สะอาด ตัดหัวออก ปอกเปลือก แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆตามความต้องการ
  • ขั้นตอนที่ 2 หลังจากนั้นนำมาใส่เครื่องปั่น ปั่นผสมกับน้ำเปล่า
  • ขั้นตอนที่ 3 เทลงแก้ว สามารถดื่มได้เลย หรือจะแช่เย็นไว้ แล้วค่อยนำมาดื่มก็ได้

*อัตราส่วน สามารถเลือกปรับได้ตามความต้องการ

ข้อควรระวัง

หากรับประทานบีทรูทมากจนเกินไป อาจทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนเป็นเป็นสีม่วงหรือสีแดง และอาจเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไตได้  นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารหรือมีอาการลำไส้แปรปรวน อาจมีอาการปวดท้องหลังจากดื่มน้ำบีทรูท

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Truth About Beet Juice. https://www.webmd.com/food-recipes/features/truth-about-beetroot-juice. Accessed December 31, 2022.

Acute blood pressure lowering, vasoprotective, and antiplatelet properties of dietary nitrate via bioconversion to nitrite. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18250365/. Accessed December 31, 2022.

Inorganic nitrate and beetroot juice supplementation reduces blood pressure in adults: a systematic review and meta-analysis. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23596162/. Accessed December 31, 2022.

Dietary Nitrate Provides Sustained Blood Pressure Lowering in Hypertensive Patients. https://www.ahajournals.org/doi/full/10.1161/hypertensionaha.114.04675. Accessed December 31, 2022.

Diabetes and Alpha Lipoic Acid. fruits and by-products: Potential health benefits. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3221300/.Accessed December 31, 2022.

Red Beetroot and Betalains as Cancer Chemopreventative Agents. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6515411/. Accessed December 31, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

น้ำผึ้งผสมมะนาว สมุนไพรพื้นบ้าน ที่ช่วยบรรเทา อาการไอ ได้

น้ำกุหลาบ (Rose water) ประโยชน์ดีๆ ที่มีมากกว่ากลิ่นหอม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา