วิตามินซีเป็นกรดผลไม้ชนิดหนึ่งพบได้ตามธรรมชาติในอาหารประเภทต่าง ๆ ทั้งผัก ผลไม้ ประโยชน์ของวิตามินซีเองนั้นมีมากมาย โดยร่างกายต้องการวิตามินซีเพื่อนำมาใช้ต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน บำรุงเซลล์ให้แข็งแรง ดังนั้น ในแต่ละวันร่างกายจึงควรได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ
[embed-health-tool-bmi]
ประโยชน์วิตามินซี มีอะไรบ้าง
วิตามินซีเป็นองค์ประกอบในกระบวนการสร้างคอลลาเจนที่จะนำไปสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ เป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อ ไทโรซีน คาร์นิทีน และที่สำคัญ วิตามินซียังช่วยดูดซึมธาตุเหล็กได้อีกด้วย
วิตามินซีช่วยป้องกันโรค เช่น ไข้หวัด โรคเกี่ยวกับเซลล์อักเสบ รวมถึงเซลล์แบ่งตัวผิดปกติที่เรียกกันว่าเซลล์มะเร็งด้วย โดยสามารถสรุปได้เป็นหลัก 3 กลุ่มด้วยกัน คือ
- ไข้หวัดจากไวรัสระดับไม่รุนแรงเท่านั้น เพราะวิตามินไม่สามารถช่วยรักษาโรคปอดอักเสบ (Pneumonia) หรือภาวะหายใจล้มเหลว (ARDS) ใด ๆ ได้เลย
- โรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงความดันโลหิตสูง
- โรคมะเร็งระบบทางเดินอาหาร (หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับอ่อน
ทั้งนี้ วิตามินซีเป็นเพียงองค์ประกอบในการป้องกันโรคเท่านั้น ไม่มีผลชัดเจนเรื่องรักษาหรือเป็นยาหลักในการรักษาแต่อย่างใด มีงานวิจัยบางชิ้นที่ระบุว่าวิตามินซีช่วยรักษาหรือป้องกันการลุกลามมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงความดันโลหิตสูงได้ แต่ต้องใช้โดส (Dose) สูงมาก ๆ รวมถึงผลการรักษาก็ไม่ได้เป็นที่ประจักษ์จึงไม่นิยมใช้
วิตามินซีแบบฉีดจะลดประสิทธิภาพยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ อิริโทรมัยซิน คานามัยซิน สเตร็ปโตมัยซิน ด็อกซีซัยคลิน และลินโคมัยซิน รวมถึงยาต้านการแข็งตัวของเลือดชื่อวาร์ฟาริน
รูปแบบวิตามินซีที่สามารถกินได้
- ผักผลไม้ พริกหวานแดงบรอคโคลี่ รวมทั้งผักและผลไม้แทบทุกชนิด ไม่ได้มีแต่ผักผลไม้รสเปรี้ยว
- รูปแบบเม็ด เม็ดอม เม็ดฟู่ เคี้ยวก่อนกลืน ระวังการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
- น้ำกรด สารละลายแบบฉีด ยกตัวอย่าง องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาได้รับรองวิตามินซีในรูปแบบฉีดล่าสุดเมื่อปี 2559 วางจำหน่ายในปี 2560 ในขนาด 25,000 มก.ในขนาดบรรจุ 50 มลหรือ 500 มก.ใน 1 มล. โดยมีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคลักปิดลักเปิด โดยขนาดของวิตามินซีที่ฉีดต้องคำนวณตามอายุ และแนะนำให้ละลายกับน้ำเกลือใดๆ ก่อนฉีดลดโอกาสอาการปวด บวมที่เส้นเลือดขณะฉีด ทั้งปวงไม่ควรฉีดเกิน 1 สัปดาห์ เท่านั้น
บุคคลที่ไม่สมควรได้รับวิตามินซีฉีดเสริม
- คนปกติ หากไม่มีความจำเป็นหรือได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์
- G6PD Deficiency หรือผู้ที่มีภาวะขาดเอ็นไซม์จีซิกพีดี ควรตรวจก่อนฉีดขนาดสูงทุกคน
- ผู้ที่เป็นนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากวิตามินซีปริมาณ หากได้รับติดต่อกันนาน ๆ โอกาสนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะสูงขึ้นได้ ในทางเวชปฏิบัตินั้นไม่ได้พบบ่อย และราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ ก็ไม่ได้ขึ้นวิตามินซีเป็นอาหารหรืออาหารเสริมพึงระวัง ในคนไข้นิ่วแต่อย่างใด
ปริมาณวิตามินซีที่แนะนำอย่างน้อยที่สุดต่อวัน
- แรกเกิดถึงขวบแรก ไม่เกิน 50 มก.
- เด็กหญิง-เด็กชาย 25-75 มก.
- วัยรุ่น 75 มก.
- ตั้งครรภ์ 80 มก.
- ให้นมบุตร 120 มก.
- ผู้ใหญ่ 500 มก.
วิตามินซีในขนาดสูง 2 กรัมต่อวัน ควรปรึกษาแพทย์ (ที่มีประสบการณ์จ่ายวิตามินซีเพื่อการรักษา) ก่อน โดยวิตามินซีขนาดสูงมากที่สุดไม่ควรเกิน 1.5 กรัม ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม
ด้วยตัววิตามินซีกระตุ้นระบบการสร้างน้ำตาลในเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ ควรระวังในผู้ป่วยเบาหวาน
ผลข้างเคียงที่พบบ่อยหลังได้รับวิตามินซี
- ถ่ายเหลว
- รู้สึกมีอาการแสบบริเวณเส้นเลือดที่โดนฉีด
- เกิดอาการแพ้ ที่พบบ่อยคือผื่นลมพิษ (Urticaria) รองลงมาก็คือการแพ้รุนแรงถึงขั้นวิกฤติ Anaphylactic Shock ไม่เคยมีรายงาน TEN หรือ Steven Johnson Syndrome