backup og meta

ล็อบสเตอร์ ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ล็อบสเตอร์ ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค

ล็อบสเตอร์ เป็นอาหารทะเลที่นิยมนำไปประกอบอาหารสไตล์ตะวันตก เช่น ล็อบสเตอร์เนยกระเทียม ล็อบสเตอร์อบชีส ซุปล็อบสเตอร์ โดยล็อบสเตอร์อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 โปรตีน และสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจส่งผลดีต่อสุขภาพ

คุณค่าทางโภชนาการของ ล็อบสเตอร์

ล็อบเตอร์ 100 กรัม ให้พลังงาน 143 กิโลแคลอรี่ อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น

  • ไขมัน 1.9 กรัม
  • โปรตีน 26 กรัม
  • โพแทสเซียม 208 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ 0.4% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน
  • วิตามินซี 3.5% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน
  • แคลเซียม 4.8% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน
  • เหล็ก 7.8% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนําให้บริโภคในแต่ละวัน

นอกจากนี้ ล็อบเตอร์ยังอุดมไปด้วย สังกะสี โซเดียม ฟอสฟอรัส แมงกานีส แมกนีเซียม ทองแดง ซีลีเนียม (Serenium) ฟลูออไรด์ โคลีน (Choline) วิตามินบี 12 วิตามินอี

ประโยชน์ของล็อบสเตอร์ต่อสุขภาพ

เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี

ล็อบสเตอร์เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนและกรดอะมิโน โดยโปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางร่างกาย เช่น ช่วยสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอทั้งกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง ผม และเล็บ ช่วยสนับสนุนการทำงานของเม็ดเลือดแดงในการขนส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกาย และอาจช่วยในการย่อยอาหาร นอกจากนี้ โปรตีนในรูปแบบของกรดอะมิโนยังอาจมีส่วนช่วยควบคุมการทำงานของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย และช่วยในการพัฒนาเซลล์การเจริญเติบโตในวัยแรกรุ่น

โดยมีงานวิจัยชิ้น หนึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Bioresources And Bioprocessing เมื่อเดือน พ.ศ. 2560 ศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของการแปรรูปล็อบสเตอร์เพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและยา พบว่า ล็อบสเตอร์เป็นอาหารทะเลที่มีโปรตีนสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ และยังอุดมไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็นหลายชนิด เช่น อาร์จินีน (Arginine) กรดกลูตามิก (Glutamic Acid) ไกลซีน (Glycine) อะลานีน (Alanine) นอกจากนี้ คุณค่าทางโภชนาการของโปรตีนจากล็อบสเตอร์ยังเทียบเท่าโปรตีนจากนม โปรตีนจากเนื้อแดง หรือโปรตีนจากถั่วเหลือง ดังนั้น ล็อบสเตอร์จึงอาจเป็นอาหารอีกหนึ่งชนิดที่อุดมไปด้วยโปรตีนและกรดอะมิโนที่ดีต่อการทำงานของร่างกาย

ข้อควรระวังในการบริโภคล็อบสเตอร์

ล็อบสเตอร์มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย แต่อาจมีข้อควรระวังในการรับประทานบางประการ ดังนี้

  • โซเดียมสูง ล็อบสเตอร์เป็นอาหารทะเลที่อาจมีปริมาณโซเดียมสูงมาก การรับประทานล็อบสเตอร์มากเกินไปอาจทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินความจำเป็น ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูง หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง
  • สารปรอท ล็อบสเตอร์เป็นอาหารทะเลที่อาจมีสารปรอทปนเปื้อน ซึ่งการรับประทานสารปรอทอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาการทางร่างกายและสมองของทารกในครรภ์ ดังนั้น ผู้หญิงหญิงตั้งครรภ์ ผู้หญิงให้นมบุตรและเด็กเล็กควรหลีกเลี่ยงการรับประทานล็อบสเตอร์มากเกินไป
  • ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ ล็อบสเตอร์เป็นสัตว์ทะเลตระกูลครัสเตเชียน (Crustaceans) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสารก่อภูมิแพ้สูง ผู้ที่มีอาการแพ้อาหารทะเลในกลุ่มนี้ เช่น กุ้ง กั้ง ปู จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานล็อบสเตอร์

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Are There Health Benefits of Lobster?. https://www.webmd.com/diet/are-there-health-benefits-of-lobster. Accessed August 11, 2022

Protective Effects of Omega-3 Fatty Acids in Cancer-Related Complications. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6566772/. Accessed August 11, 2022

Omega-3 Fatty Acids. https://ods.od.nih.gov/factsheets/Omega3FattyAcids-HealthProfessional/. Accessed August 11, 2022

Lobster processing by-products as valuable bioresource of marine functional ingredients, nutraceuticals, and pharmaceuticals. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5487823/. Accessed August 11, 2022

Effects of nutrients (in food) on the structure and function of the nervous system: update on dietary requirements for brain. Part 2 : macronutrients. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17066210/. Accessed August 11, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/10/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคขาดสารอาหาร สาเหตุ อาการ และการรักษา

กระเจี๊ยบเขียว สารอาหาร และข้อควรระวังในการบริโภค


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์ภควัต ตั้งจาตุรนต์รัศมี

โภชนาการเพื่อสุขภาพ · โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 01/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา