backup og meta

เก๋ากี้ ประโยชน์สุขภาพ และข้อควรระวัง

เก๋ากี้ ประโยชน์สุขภาพ และข้อควรระวัง

เก๋ากี้ หรือโกจิเบอร์รี่ เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งของจีนที่มีลักษณะเป็นผลเล็ก ๆ สีแดงหรือสีส้ม รสชาติหวานอมเปรี้ยว นิยมใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยาจีนเพื่อประกอบอาหาร เก๋ากี้อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ทั้งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดีต่อสุขภาพผิว และช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ

[embed-health-tool-bmr]

เก๋ากี้ คืออะไร

เก๋ากี้ หรือโกจิเบอร์รี่ (Goji Berry) เป็นสมุนไพรโบราณมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน และทั่วทั้งแถบทวีปเอเชีย เชื่อกันมาแต่โบราณว่าเก๋ากี้เป็นผลไม้ที่ช่วยให้มีอายุยืนยาวขึ้น และอาจช่วยรักษาปัญหาทางด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิต สายตาพร่ามัว ไข้หวัด ได้อีกด้วย

เก๋ากี้ลักษณะเป็นผลสีส้ม หรือสีแดง ผลขนาดเล็ก รสชาติหวานอมเปรี้ยว แต่นอกจากผลสด ๆ จากต้นแล้ว ปัจจุบันนิยมบริโภคเก๋ากี้ในรูปแบบอบแห้ง เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาปรุงอาหาร หรือใช้เป็นเครื่องดื่มได้ด้วย

ประโยชน์ของ เก๋ากี้ ต่อสุขภาพ

เก๋ากี้ประกอบด้วยวิตามิน และแร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ ไฟเบอร์ ธาตุเหล็ก ที่อาจช่วยส่งเสริมและบำรุงสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงขึ้น ดังนี้

อาจช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

เก๋ากี้อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินเอ และวิตามินซี ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันอาการเจ็บป่วยและโรคเรื้อรัง เช่น ไข้หวัด โรคมะเร็ง การบริโภคเก๋ากี้เป็นประจำจึงอาจมีส่วนช่วยป้องกันไข้หวัดและอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ได้

อาจช่วยบำรุงสุขภาพผิวหนัง

เก๋ากี้มีเบต้า-แคโรทีน (Beta-carotene) และสารซีแซนทิน ((Zeaxanthin) ที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยส่งเสริมให้ผิวมีสุขภาพที่ดีขึ้น ลดการระคายเคือง และลดริ้วรอยจากการถูกแสงแดดเผาไหม้ รวมทั้งปกป้องผิวหนังจากมะเร็งผิวหนังบางชนิด

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพของสารสกัดเก๋ากี้ซีแซนทินต่อเซลล์ผิวหนังของผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังเมลาโนและในเซลล์ผิวหนังของคนปกติ เผยแพร่ในวารสาร Molecules พ.ศ.2564 ระบุว่า สารซีแซนทีนมีส่วนช่วยในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็งผิวหนังเมลาโน และอาจช่วยลดจำนวนเซลล์มะเร็งได้ ดังนั้น การบริโภคเก๋ากี้จึงอาจช่วยปกป้องและต่อสู้กับมะเร็งผิวหนังเมลาโนได้ อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงประสิทธิภาพของเก๋ากี้ในการต้านมะเร็งผิวหนังต่อไป

อาจช่วยป้องกันโรคมะเร็ง

วิตามินซี ซีแซนทิน และ แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ในเก๋ากี้มีส่วนช่วยในการชะลอการเจริญเติบโตของเนื้องอก ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยกำจัดสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพออกจากร่างกายได้

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางยาของสารสกัดเก๋ากี้ เผยในวารสาร Drug Design, Development and Therapy พ.ศ.2557 ระบุว่า สารอาหารในเก๋ากี้มีสรรพคุณเป็นยาที่อาจช่วยยับยั้งการพัฒนาของเซลล์มะเร็ง และยังอาจเพิ่มประสิทธิภาพในระหว่างการรักษาโรคมะเร็งในผู้ป่วยได้อีกด้วย

อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

สารสกัดเก๋ากี้มีคุณสมบัติในการช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด ใช้เพื่อรักษาโรคมาอย่างยาวนาน การบริโภคเก๋ากี้อาจช่วยบรรเทาอาการเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ โดยไม่เป็นพิษต่อตับและไต

งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสารสกัดเก๋ากี้ในการต้านเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เผยแพร่ในวารสาร Medicinal Chemistry Journal ปีพ.ศ. 2558 นักวิจัยทดลองในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 67 รายซึ่งป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยกลุ่มที่หนึ่งให้บริโภคสารสกัดเก๋ากี้หลังอาหารเย็น กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มควบคุมโดยไม่บริโภคสารใด ๆ เพิ่มเติมหลังอาหารเย็น ผลปรากฏว่า เก๋ากี้มีส่วนช่วยปรับระดับความสมดุลของอินซูลิน และน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ให้คงที่ได้ อีกทั้งยังมีการช่วยปรับปรุง หรือฟื้นฟูเซลล์ที่ผลิตอินซูลินให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มระดับไขมันดีในร่างกาย จึงสรุปได้ว่า เก๋ากี้มีศักยภาพที่อาจเหมาะสมในการนำมาใช้เพื่อต้านเบาหวาน

ข้อควรระวังในการบริโภคเก๋ากี้

แม้เก๋ากี้จะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ควรบริโภคด้วยความระมัดระวัง ดังนี้

  • ควรบริโภคควบคู่ไปกับอาหารอื่น ๆ เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน เช่น โยเกิร์ต ข้าวโอ๊ต สมูทตี้ สลัด
  • หากรับประทานมากเกินไปอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมาร่วมด้วยได้ เช่น อาการแพ้จากซัลไฟต์ (Sulfites) หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร
  • ผู้ที่มีประวัติการใช้ยาลดความดันโลหิต ยารักษาโรคเบาหวาน ยาเจือจางเลือด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของเก๋ากี้ เนื่องจากสารเคมีในเก๋ากี้อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาบางอย่างที่ถึงขั้นรุนแรงต่อสุขภาพตามมาภายหลังได้ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนบริโภค

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Goji Berries: Health Benefits and Side Effects https://www.webmd.com/diet/goji-berries-health-benefits-and-side-effects Accessed September 29, 2022.

Goji Berry Effects on Macular Characteristics and Plasma Antioxidant Levels. https://journals.lww.com/optvissci/Abstract/2011/02000/Goji_Berry_Effects_on_Macular_Characteristics_and.12.aspx. Accessed September 29, 2022.

An evidence-based update on the pharmacological activities and possible molecular targets of Lycium barbarum polysaccharides. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25552899/. Accessed September 29, 2022.

Mice drinking goji berry juice (Lycium barbarum) are protected from UV radiation-induced skin damage via antioxidant pathways. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4475782/. Accessed September 29, 2022.

Zeaxanthin-Rich Extract from Superfood Lycium barbarum Selectively Modulates the Cellular Adhesion and MAPK Signaling in Melanoma versus Normal Skin Cells In Vitro. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7827977/. Accessed September 29, 2022.

Practical Application of Antidiabetic Efficacy of Lycium barbarum Polysaccharide in Patients with Type 2 Diabetes. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4475782/. Accessed September 29, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/09/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวาน ป้องกันได้ ด้วย สมุนไพรช่วยลดน้ำตาลในเลือด

7 สมุนไพรต้านไวรัส ที่คุณควรรีบหามาดูแลสุขภาพด่วน!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 29/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา