backup og meta

โรคอ้วนในผู้สูงอายุ ป้องกันได้หากดูแลถูกวิธี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

    โรคอ้วนในผู้สูงอายุ ป้องกันได้หากดูแลถูกวิธี

    ผู้สูงอายุอาจเผชิญกับโรคต่าง ๆ เนื่องจากร่างกายและภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง โรคอ้วนในผู้สูงอายุ ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่ผู้สูงอายุควรเฝ้าระวัง เนื่องจากจะเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดัน และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งในรายที่รุนแรง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

    สาเหตุการเกิด โรคอ้วนในผู้สูงอายุ 

    สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงเป็นโรคอ้วน ส่วนใหญ่มาจากการเสื่อมสภาพของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายตามช่วงอายุที่มากขึ้น รวมไปถึงค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่เกินมาตรฐาน โดยวัดจากรอบเอว มวลไขมัน น้ำหนักตัว นอกจากนี้ คณะกรรมการของสมาคมโภชนาการและสมาคมโรคอ้วนของสหรัฐอเมริกา ได้ทบทวนงานศึกษาวิจัยที่เผยแพร่ในช่วงปี 1996-2005 และพบว่า โรคอ้วนในผู้สูงอายุเชื่อมโยงกับความบกพร่องทางร่างกาย อีกทั้งผู้สูงอายุที่น้ำหนักเกินหรือมีโรคอ้วนยังเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้มากขึ้นด้วย

    • การติดเชื้อไวรัสโควิด-19
    • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
    • ภาวะอ้วนลงพุง หรือเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome)
    • โรคหลอดเลือดสมอง
    • โรคหลอดเลือดหัวใจ
    • โรคความดันโลหิตสูง
    • ปัญหาภายในระบบทางเดินอาหาร
    • โรคข้อเข่าเสื่อม
    • โรคเบาหวาน
    • โรคมะเร็งบางชนิด

    หากปล่อยให้ผู้สูงอายุเผชิญกับโรคอ้วนเป็นเวลานาน อาจทำให้สุขภาพแย่ลง จนเสี่ยงต่อความพิการ หรือเสียชีวิตได้ นอกจากดัชนีมวลกายแล้ว ยังสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่อาจบ่งบอกได้ว่าผู้สูงอายุกำลังเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้ เช่น การสะสมของไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะ หน้าท้อง แขน ตัวเลขของน้ำหนักเพิ่ม

    ปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนในผู้สูงอายุ

    ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนในผู้สูงอายุ มีดังนี้

    • การไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • การรับประทานอาหารที่ทำลายสุขภาพ
    • ปัญหาเกี่ยวกับโรคประจำตัว
    • ประวัติทางพันธุกรรม
    • โรคเบาหวานชนิดที่ 2

    ป้องกันโรคอ้วนในผู้สูงอายุ

    ผู้สูงอายุสามารถลดความเสี่ยงจากโรคอ้วน และโรคแทรกซ้อนได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

    • ออกกำลังกายในระดับเบา เช่น แอโรบิก เดิน
    • รับประทานเลือกอาหารที่มีประโยชน์ให้เหมาะสม โดยเฉพาะผลไม้ ผัก และโปรตีน
    • ลดอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง
    • เข้ารับการตรวจสุขภาพตามที่คุณหมอกำหนด และตรวจสุขภาพอย่างละเอียด
    • รับประทานยาตามที่คุณหมอกำหนด เพื่อรักษาโรคที่เป็น
    • หลีกเลี่ยงอาหารเสริมหรือยาที่ช่วยลดความอ้วน เพราะผู้สูงอายุอาจได้รับผลข้างเคียงอันตรายที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ลิ้นหัวใจ หลอดเลือด และปอด

    หากผู้สูงอายุเป็นโรคอ้วน อาจต้องเผชิญกับความวิตกกังวลและความเครียด ญาติหรือผู้ดูแลควรดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา