backup og meta

ใช้อาหารเสริม สำหรับผู้ที่มีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูง

ใช้อาหารเสริม สำหรับผู้ที่มีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูง

ใช้อาหารเสริม อย่างไรให้เหมาะกับผู้ที่มีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูง อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย อาหารเสริมนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายยี่ห้อ ซึ่งการเลือกอาหารเสริมนั้นควรตรวจสอบฉลากให้แน่ใจเสียก่อนว่ามีมาตรฐานรองรับหรือไม่ สำหรับผู้ต้องการใช้อาหารเสริมเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ อาจต้องปรึกษาคุณหมอก่อนรับประทานทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย

อาหารเสริมลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์

สำหรับอาหารเสริมที่อาจใช้ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ มีดังนี้

น้ำมันปลา

น้ำมันปลา อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 จากอาหารที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้ ประกอบด้วย กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (DHA) และกรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก (EPA) ซึ่งอาจช่วยลดระดับไตรกลีไซอไรด์ได้มากถึงร้อยละ 30 นอกจากนี้ การรับประทานอาหารเสริมที่มี EPA และ DHA ขนาด 250 มิลลิกรัม เป็นประจำทุกวัน อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ และภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลันได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูงต้องการรับประทานน้ำมันปลาควรปรึกษาคุณหมอก่อนเสมอ เพื่อขอคำแนะนำก่อนเริ่มใช้ รวมถึงคุณหมออาจสั่งจ่ายน้ำมันปลาให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในแต่ละคน

ไนอาซิน

ไนอาซิน (Niacin) เป็นวิตามินบีรูปแบบหนึ่งที่ช่วยรักษาความสมดุลของระดับไขมันดี (HDL) และไขมันเลว (LDL) ในร่างกายได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูงไม่ควรซื้อไนอาซินมารับประทานเอง เพราะการรับประทานไนอาซินเพื่อช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ต้องรับประทานในปริมาณที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น ควรปรึกษาคุณหมอก่อนเสมอ และควรรับประทานตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

สารสกัดจากใบอาร์ติโช้ค

สารสกัดจากใบอาร์ติโช้ค (Artichoke Leaf Extract) อาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และอาจช่วยให้ระดับของไขมันเลว (LDL) ลดลงราวร้อยละ 23 ทั้งนี้ ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบอาร์ติโช้คที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และระดับไขมันเลว

กระเทียม

กระเทียมอาจช่วยลดคอเลสเตอรอลรวมและไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ นอกจากนี้ ยังอาจช่วยลดคอเลสเตอรอลรวมได้ประมาณ 6 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และลดคอเลสเตอรอลไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำได้ประมาณ 6 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ดังนั้น กระเทียมจึงอาจช่วยลดคอเลสเตอรอลและเป็นสมุนไพรที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีคอเลสเตอรอลสูง

ข้าวยีสต์แดง

ข้าวยีสต์แดงเป็นเสริมอาหารข้าวหมักจากจุลินทรีย์ ซึ่งอาจช่วยรักษาระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย ลดระดับคอเลสเตอรอลในผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง ปรับปรุงระบบไหลเวียนโลหิต รวมถึงอาจช่วยในให้ม้ามและกระเพาะอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อควรรู้ในการ ใช้อาหารเสริม

สำหรับผู้ที่มีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูงที่ต้องการใช้อาหารเสริม ควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้อาหารเสริมและยาที่ซื้อได้เองตามร้านขายยา รวมถึงควรจดบันทึกทุกสิ่งที่รับประทาน แล้วนำมาปรึกษาคุณหมอเมื่อจำเป็น อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้อาหารเสริมในการรักษาโรค นอกจากนี้ ควรระวังเรื่องการรับประทานอาหารที่ไม่เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ และใช้ยาตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Supplements for Cholesterol: What Works? http://www.health.com/health/gallery/0,,20306863,00.html#don-t-rely-on-word-of-mouth-0. Accessed August 16, 2017.

Supplement Smarts for Cholesterol and Triglycerides. http://www.webmd.com/cholesterol-management/supplements#2. Accessed August 16, 2017.

Supplement Smarts For Cholesterol And Triglycerides. https://www.healthstatus.com/health_blog/pre-workout-supplement/supplement-smarts-for-cholesterol-and-triglycerides/. Accessed August 16, 2017.

Supplement Smarts for Cholesterol and Triglycerides. https://www.webmd.com/cholesterol-management/supplements. Accessed August 12, 2022

The Truth About 4 Popular Heart Health Supplements. https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/the-truth-about-4-popular-heart-health-supplements. Accessed August 12, 2022

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/08/2022

เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารเสริมเพื่อสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยคุณต่อสู้กับโรคหัวใจได้

คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ เกี่ยวข้องกันอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 19/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา