นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นกลุ่มอาการคุชชิง (Cushing’s syndrome) กลุ่มอาการจิเทลแมน (Gitelman Syndrome) กลุ่มอาการลิดเดิล (Liddle Syndrome) กลุ่มอาการบาร์ตเตอร์ (Bartter Syndrome) กลุ่มอาการแฟนโคนี (Fanconi Syndrome) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของไต ก็อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโพแทสเซียมต่ำได้เช่นกัน
Hypokalemia มีอาการอย่างไร
อาการของ Hypokalemia มีดังนี้
- เหนื่อยล้าง่ายและอ่อนเพลีย
- อาเจียน
- วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด
- ปัสสาวะบ่อย
- กระหายน้ำมาก
- เบื่ออาหาร
- จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ใจสั่น
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง บางคนอาจมีอาการกล้ามเนื้อกระตุกและเป็นตะคริว
- ท้องผูก หรือท้องเสีย
หากสังเกตว่ามีอาการหายใจลำบาก แขนขาชา อัมพาต ลำไส้แปรปรวน หัวใจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ควรเข้าพบคุณหมอทันที
การรักษา อาการ Hypokalemia
การรักษา อาการ Hypokalemia มีดังนี้
- หยุดหรือลดปริมาณยาที่อาจทำให้โพแทสเซียมต่ำ โดยควรขอคำปรึกษาจากคุณหมอ ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะอาจทำให้โรคที่เป็นอยู่มีอาการรุนแรงขึ้น
- รับประทานอาหารเสริมโพแทสเซียม ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำถึงปานกลาง
- ฉีดโพแทสเซียมเข้าสู่หลอดเลือดดำ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำที่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเต้นผิดปกติและร่างกายไม่ตอบสนองต่อการรับประทานอาหารเสริมโพแทสเซียม
การป้องกัน อาการ Hypokalemia
โดยปกติแล้ว ผู้หญิงควรได้รับโพแทสเซียมประมาณ 2,600 มิลลิกรัม/วัน และผู้ชายควรได้รับโพแทสเซียมประมาณ 3,400 มิลลิกรัม/วัน เพื่อป้องกัน อาการ Hypokalemia ดังนั้น จึงควรรับเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม ดังนี้
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย