backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กาฬโรค (Plague)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 01/04/2021

กาฬโรค (Plague)

กาฬโรค (Plague) คือ โรคติดต่อร้ายแรง ที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถติดต่อได้จากคนสู่คน อีกทั้งยังเคยเกิดเหตุระบาดของกาฬโรคครั้งใหญ่ ที่เรียกว่า “กาฬมรณะ’ หรือ “มรณะดำ’

คำจำกัดความ

กาฬโรค คืออะไร

กาฬโรค (Plague) คือโรคติดต่อร้ายแรง ที่เกิดขึ้นจากการ ติดเชื้อ แบคทีเรียที่เรียกว่า Yersinia pestis เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะสามารถพบได้ในสัตว์ชนิดต่าง ๆ ทั่วทั้งโลก และสามารถถ่ายทอดมาสู่คนได้ผ่านทางเห็บหมัด อีกทั้งโรคนี้ยังสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้อีกด้วย

ในช่วงยุคกลาง เมื่อประมาณศตวรรษที่ 14 เคยเกิดเหตุระบาดของกาฬโรคครั้งใหญ่ ที่เรียกว่า “กาฬมรณะ’ หรือ “มรณะดำ (The Black Death)’ การระบาดครั้งนั้นได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่าหลายล้านคนทั่วยุโรป ในปัจจุบัน การระบาดของกาฬโรคพบได้น้อยลงอย่างมาก และอาจจะพบได้ไม่เกินปีละ 5,000 คน จากประชากรทั้งหมดทั่วโลก โดยส่วนใหญ่มักจะพบได้ในแถบแอฟริกาและเอเชีย

ประเภทของกาฬโรค มี 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  • กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague)

เป็นกาฬโรคที่พบได้มากที่สุด มักจะเกิดขึ้นจากการ ติดเชื้อ เมื่อถูกตัวเห็บ ไร หรือหมัดกัด กาฬโรคต่อมน้ำเหลืองจะส่งผลกระทบต่อระบบต่อมน้ำเหลือง หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นได้

กาฬโรคประเภทนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเชื้อกาฬโรคแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด อาจเกิดขึ้นได้เอง หรือเกิดขึ้นหลังจากการลุกลามของกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง และเชื้อแพร่กระจายมาสู่กระแสเลือด

  • กาฬโรคปอด (Pneumonic Plague)

กาฬโรคปอดอาจจะเกิดขึ้นจากการลุกลามของกาฬโรคอื่น ๆ หรือติดจากผู้อื่นผ่านทางการหายใจละอองฝอยที่มีเชื้อแบคทีเรียกาฬโรคเข้าสู่ปอด ละอองฝอยนี้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยกาฬโรคปอดไอหรือจาม แล้วทำให้มีละอองฝอยที่เต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายไปในอากาศ ทำให้เกิดโรคระบาด

กาฬโรคพบได้บ่อยแค่ไหน

ในปัจจุบันนี้ อาจพบผู้ป่วยกาฬโรคแค่เพียงประมาณ 1,000-2,000 รายต่อปีทั่วโลก และอาจจะพบได้มากที่สุดในแถบแอฟริกาและเอเชีย

อาการ

อาการของ กาฬโรค

  • กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง

ผู้ป่วยกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองจะมีอาการเป็นไข้ ปวดหัว หนาวสั่น และอ่อนแรง อีกทั้งต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงกับจุดที่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายก็จะเริ่มมีอาการอักเสบและบวมขึ้น

  • กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ

ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นไข้ ไม่มีแรง ปวดท้อง ช็อก ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน และอาจจะมีอาการตกเลือดตามอวัยวะภายในและผิวหนัง ผิวหนัง และเนื้อเยื่อ จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำ โดยเฉพาะในบริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า และจมูก

  • กาฬโรคปอด

ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ไอ เป็นไข้ ปวดหัว อ่อนแรง มีเลือดปนในเสมหะ น้ำมูก หรือหนอง

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณเริ่มมีอาการป่วย ในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของกาฬโรค แม้เพียงเล็กน้อย ก็ควรรีบติดต่อแพทย์เพื่อทำการตรวจและรักษาในทันที เพราะหากรอนานเกินไป อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเสียชีวิตได้ในที่สุด

เมื่อจะเดินทางไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจร่างกาย โปรดสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค อีกทั้งยังควรแจ้งรายการสถานที่ที่คุณเคยไป คนที่คุณติดต่อ และยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้ให้แพทย์ทราบด้วย

สาเหตุ

สาเหตุของ กาฬโรค

กาฬโรค เกิดจากการ ติดเชื้อ แบคทีเรียที่มีชื่อว่า “เยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis)’ เชื้อแบคทีเรียนี้สามารถพบได้ในสัตว์ต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น หนู กระต่าย หรือกระรอก และจะติดต่อสู่คนได้ ผ่านทางตัวเห็บ หมัด ไร หรือเหา ที่ได้ไปกินเลือดของสัตว์ที่ ติดเชื้อ แบคทีเรียชนิดนั้น แล้วมากัดคนต่ออีกที

นอกจากการ ติดเชื้อ ผ่านทางตัวเห็บหมัดแล้ว บางคนก็อาจจะ ติดเชื้อ กาฬโรคได้ หากเลือดของสัตว์ที่ ติดเชื้อ มาสัมผัสกับบริเวณแผลเปิดบนผิวหนัง หรือผ่านทางการหายใจสูดดมละอองฝอย ที่ผู้ป่วยกาฬโรคปอดไอหรือจามออกมา จนทำให้มีเชื้อแพร่กระจายอยู่ในอากาศ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของกาฬโรค

ความเสี่ยงในการเกิดกาฬโรคนั้นมีค่อนข้างต่ำ ในแต่ละปี จะมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ ติดเชื้อ กาฬโรค แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีบางปัจจัยที่ทำให้คุณมีความเสี่ยงในการติดเชื้อกาฬโรคเพิ่มขึ้น เช่น

หากคุณอาศัยอยู่ หรือเดินทางไปเที่ยวในเขตที่มีการแพร่ระบาดของกาฬโรค หรือในบริเวณที่มีประชากรแออัด และมีสุขอนามัยไม่ดี เขตที่สามารถพบกาฬโรคได้มากที่สุดคือแถบ แอฟริกา

  • งาน

สัตวแพทย์และผู้ที่ทำงานกับสัตว์ มีโอกาสที่จะ ติดเชื้อ กาฬโรคได้มาก เนื่องจากต้องสัมผัสคลุกคลีกับสัตว์ ผู้ที่ต้องทำงานนอกบ้านในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดของกาฬโรคก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน

  • งานอดิเรก

ผู้ที่ชื่นชอบการเดินป่า ปีนเขา หรือตั้งแคมป์ในบริเวณที่มีแพร่ระบาดของกาฬโรค ก็อาจจะมีความเสี่ยงในการ ติดเชื้อ กาฬโรคได้เช่นกัน

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยกาฬโรค

หากแพทย์สงสัยว่าคุณอาจจะเป็นกาฬโรค แพทย์ก็จะทำการวินิจฉัยโรคโดยการตรวจร่างกายเพื่อหาเชื้อแบคทีเรียเยอร์ซีเนีย เพสติสภายในร่างกาย โดยวิธีการดังต่อไปนี้

  • ตรวจต่อมน้ำเหลือง หากคุณมีอาการต่อมน้ำเหลืองบวมและอักเสบ แพทย์จะทำการตรวจโดยการเก็บตัวอย่างของเหลวที่อยู่ในต่อมน้ำเหลืองนั้น
  • ตรวจเลือด แพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดไปตรวจหาเชื้อแบคทีเรียเยอร์ซีเนีย เพสติสในกระแสเลือด
  • ตรวจปอด โดยการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่ง เช่น เสมหะ หรือน้ำมูก ที่อยู่ในทางเดินหายใจ เพื่อนำไปตรวจหาเชื้อแบคทีเรียเยอร์ซีเนีย เพสติส

การรักษากาฬโรค

เมื่อคุณต้องสงสัยว่าอาจจะเป็นกาฬโรค แพทย์จะต้องทำการแยกตัวคุณออกจากผู้อื่น และเริ่มให้ยาปฏิชีวนะในทันที แม้ว่าจะยังไม่ทันได้ทำการวินิจฉัยเพื่อยืนยัน เพราะหากทำการรักษาช้า อาจทำให้มีอาการรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และรักษาได้ยากขึ้น

ยาปฏีชีวนะที่ใช้ จะเป็นยาปฏิชีวนะขนานแรง เช่น

  • เจนตามัยซิน (Gentamicin)
  • ด็อกซีไซคลิน (Doxycycline)
  • ลีโวฟลอกซาซิน (Levofloxacin)
  • มอกซิฟลอกซาซิน (Moxifloxacin)

การรักษากาฬโรคอาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์ กว่าที่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ในระหว่างนั้น ผู้ป่วยจะต้องถูกกักตัว และเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อกาฬโรคไปสู่แพทย์หรือผู้ดูแลคนอื่น ๆ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับกาฬโรค

กาฬโรคเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง และผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาและดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น จึงไม่มีวิธีการในการเยียวยาด้วยตนเอง อีกทั้งในปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีน ที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อกาฬโรค แต่การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ดังต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดกาฬโรคได้

  • ทำความสะอาด ทั่วทุกซอกมุมในบ้าน เช่น ถังขยะ ตู้กับข้าว ใต้บันได เพื่อป้องกันไม่ให้หนูมาทำรัง เพราะหนูก็อาจจะเป็นพาหะนำเชื้อกาฬโรคได้
  • ใช้ยาไล่แมลง เพื่อป้องกันไม่ให้ ไร เห็บ หมัด ที่อาจจะเป็นพาหะนำเชื้อกาฬโรคมากัดคุณ แล้วทำให้คุณติดเชื้อกาฬโรค
  • ดูแลสัตว์เลี้ยง รักษาความสะอาด อาบน้ำ และให้ยากำจัดเห็บหมัดกับสัตว์เลี้ยงของคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 01/04/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา