ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย มีไข้ต่ำๆ อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ตั้งแต่สภาพแวดล้อมที่หนาวเย็น รวมถึงปัญหาสุขภาพ เช่น ไข้หวัด ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ การติดเชื้อ ที่อาจทำให้กล้ามเนื้อในร่างกายหดตัวและคลายอย่างรวดเร็วเพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น อาการครั่นเนื้อครั่นตัวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย
[embed-health-tool-bmi]
ครั่นเนื้อครั่นตัว คืออะไร
ครั่นเนื้อครั่นตัว เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเจอสภาพอากาศที่หนาวเย็น หรือเป็นอาการหนึ่งของปัญหาของสุขภาพ เช่น หวัด นิ่วในไต ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ การติดเชื้อ เมื่อร่างกายเกิดอาการครั่นเนื้อครั่นตัว กล้ามเนื้อในร่างกายจะบีบตัวและคลายตัวออกเพื่อพยายามทำให้ร่างกายอบอุ่น บางครั้งอาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับการติดเชื้อหรือความเจ็บป่วย เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เพราะหากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคอื่น ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้มีอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว
สาเหตุของอาการ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย มีไข้ต่ำๆ
อาการครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย มีไข้ต่ำๆ อาจขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุ ดังนี้
- สภาพอากาศหนาว เมื่ออุณหภูมิลดต่ำกว่าระดับที่ร่างกายรู้สึกกำลังดี อาจทำให้ตัวสั่นได้
- ไข้หวัดใหญ่ อาการครั่นเนื้อครั่นตัวอาจจะเกิดขึ้น เมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายพยายามต่อสู้กับเชื้อโรค อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไอ เจ็บคอ คัดจมูก คลื่นไส้ ปวดศีรษะ โดยส่วนใหญ่ไข้หวัดใหญ่จะหายภายใน 2 สัปดาห์ ดังนั้น จึงควรควรพักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยลดไข้
- ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ฮอร์โมนไทรอยด์มีความสำคัญในการช่วยให้อวัยวะในร่างกายทำงานได้อย่างถูกต้อง และช่วยรักษาความอบอุ่นของร่างกาย หากร่างกายมีขาดฮอร์โมนไทรอยด์ อาจส่งผลให้เกิดอาการครั่นเนื้อครั่นตัว เหนื่อยล้า ผิวแห้ง หรือท้องผูกได้
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หมายถึงภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิต มีโอกาสเกิดขึ้นสูงกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ฉีดอินซูลิน ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ครั่นเนื้อครั่นตัว เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว สับสน วิตกกังวล มองเห็นภาพซ้อน ง่วงนอน สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการดื่มน้ำผลไม้ หรือรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะส
- ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ มักเกิดจากแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิตบางชนิด ซึ่งอาจทำให้มีอาการเจ็บขณะปัสสาว
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว อาการครั่นเนื้อครั่นตัวอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งอาจเกิดร่วมกับอาการอื่น เช่น ต่อมน้ำเหลืองบวม มีไข้ เหนื่อยล้า เบื่ออาหาร เหงื่อออกตอนกลางคืน ปวดท้อง และติดเชื้อซ้ำ ๆ
- วัยหมดประจำเดือน อาจเกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเปลี่ยนแปลง ทำให้รู้สึกร้อนวูบวาบตามร่างกาย
- ความตื่นตระหนก ตกใจ ที่เกิดจากความกลัว วิตกกังวล อาจทำให้ร่างกายมีปฏิกริยาครั่นเนื้อครั่นตัว หนือหนาวสั่นได้
วิธีการรักษาอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย มีไข้ต่ำๆ
การรักษาอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยส่วนใหญ่อาการครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย มีไข้ต่ำๆ อาจรักษาได้ ดังนี้
- ใช้ยาแก้ปวด ลดไข้ เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol)
- การใช้ผ้าชุบน้ำ หรือห่มผ้า เพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่นและหยุดอาการสั่น
- การพักผ่อนให้มาก ๆ เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ
อย่างไรก็ตาม หากมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่า 39 องศาเซลเซียสควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และดำเนินการรักษาในขั้นตอนต่อไป