backup og meta

เฝ้าระวัง! จุดเสี่ยง คลัสเตอร์โควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร

เฝ้าระวัง! จุดเสี่ยง คลัสเตอร์โควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มียอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในทุก ๆ วัน โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร พบกลุ่มคลัสเตอร์ หรือกลุ่มผู้ป่วยโควิด ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเราจึงต้องคอยติดตามข่าวสารเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังตนเองให้ปลอดภัยจากสถานการณ์โควิด-19 บทความนี้ Hello คุณหมอ ได้นำข้อมูล จุดเสี่ยง คลัสเตอร์โควิด-19 ในประเทศไทย มาให้ทุกคนเช็กกันดูค่ะ จะมีจังหวัดไหนบ้าง มาดูพร้อมกันเลย 

นิยาม คลัสเตอร์โควิด-19

คลัสเตอร์โควิด-19 คือ กลุ่มคนที่ติดเชื้อโควิด-19 จากสถานที่เดียวกัน กลุ่มคนที่อยู่รวมตัวกัน หรือจากสถานที่ที่มีการทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีจำนวนคนมากกว่า 2 คนขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ทางการแพทย์ คำว่า คลัสเตอร์ สามารถใช้ได้กับทุก ๆ โรค รวมถึงภาวะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคมะเร็ง ภาวะบกพร่องที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ 

เฝ้าระวัง! จุดเสี่ยง คลัสเตอร์โควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้อัปเดตข้อมูลกลุ่มคลัสเตอร์ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่ต้องเฝ้าระวังไว้จำนวน 32 แห่ง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

เขต

สถานที่

กลุ่มเฝ้าระวังสูงสุด
เขตบางกะปิ ตลาดบางกะปิ, แคมป์ก่อสร้าง
เขตหลักสี่ แคมป์ก่อสร้าง
เขตคลองเตย ตลาดคลองเตย, ชุมชนแออัดคลองเตย, แคมป์ก่อสร้าง
เขตดินแดง ตลาดห้วยขวาง, แฟลตดินแดง 
เขตห้วยขวาง ชุมชนโรงปูน, แคมป์ก่อสร้าง
เขตบางรัก แคมป์ก่อสร้าง, สีลม
เขตสาทร ชาวกีนี
เขตดุสิต สี่แยกมหานาค, สะพานขาว, ตลาดผลไม้
เขตป้อมปราบปรามศัตรูพ่าย คลองถมเซ็นเตอร์, เสือป่า, วงเวียน22, วรจักร, โบ๊เบ๊
เขตพระนคร ปากคลองตลาด
เขตบางกอกน้อย ตลาดศาลาน้ำร้อน
เขตราชเทวี ประตูน้ำ, ชุมชนริมคลอง, แฟลตรถไฟฟ้ามักกะสัน
เขตบางซื่อ โกดังสินค้าให้เช่า
เขตบางเขน ตลาดยิ่งเจริญ
เขตบางพลัด แคมป์ก่อสร้าง
กลุ่มเฝ้าระวัง
เขตสวนหลวง ร้านเฟอร์นิเจอร์
เขตจตุจักร โรงงานน้ำแข็ง
เขตสัมพันธวงศ์ สำเพ็ง
กลุ่มที่พบใหม่ล่าสุด
เขตทุ่งครุ โรงงานรับตัดเย็บผ้า
เขตบางแค สถานดูแลผู้สูงอายุ 3 แห่ง 

*ข้อมูล ณ วันที่  24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

กรมควบคุมโรคแนะนำ! แนวทางปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเชื้อไวรัสโควิด-19 

เราต้องหมั่นดูแลสุขอนามัยตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งกรมควบคุมโรค ได้แนะนำแนวทางในการปฏิบัติไว้ ดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน ไม่อยู่ในพื้นที่ที่มีคนหนาแน่น แออัด ควรเว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร
  • เมื่อออกนอกบ้าน ควรสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร หรือหลังจากมีอาการไอ จาม เป็นต้น
  • แยกของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
  • หมั่นสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการไอ เจ็บคอ น้ำมูก หรือมีอาการที่เข้าข่ายต่อการติดเชื้อโควิด-19 ให้เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แหล่งที่มา : Medical Definition of Cluster. https://www.medicinenet.com/cluster/definition.htm. Accessed May 28, 2021

COVID-19: epidemiological definitions of outbreaks and clusters in particular settings. https://www.gov.uk/government/publications/covid-19-epidemiological-definitions-of-outbreaks-and-clusters/covid-19-epidemiological-definitions-of-outbreaks-and-clusters-in-particular-settings. Accessed May 28, 2021

Clusters กทม. ที่ต้องเฝ้าระวัง จำนวน 32 แห่ง https://web.facebook.com/informationcovid19/photos/a.106142991004034/331623825122615/ Accessed May 28, 2021

แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf. Accessed May 28, 2021

Coronavirus disease (COVID-19) advice for the public.

https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/advice-for-public. Accessed May 28, 2021

Understanding ‘Clusters’. https://publichealthmdc.com/blog/understanding-clusters. Accessed May 28, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/06/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 สายพันธุ์โควิด-19 ที่มีการกลายพันธ์ุในปัจจุบัน

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 03/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา