backup og meta

สภากาชาดไทยปรับ เกณฑ์รับบริจาคเลือด ใหม่ ในช่วง ไวรัสโควิด-19 ระบาด

สภากาชาดไทยปรับ เกณฑ์รับบริจาคเลือด ใหม่ ในช่วง ไวรัสโควิด-19 ระบาด

โรคโควิด-19 (COVID-19)” เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ 2019 ซึ่งเริ่มแพร่ระบาดมาตั้งแต่ช่วงปลายปีพ.ศ. 2662 และปัจจุบันก็ยังคงเป็นปัญหาที่นานาชาติให้ความสำคัญและหาวิธียับยั้งกับอย่างเต็มกำลัง หลายภาคส่วนต้องมีการปรับเปลี่ยนมาตราการเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ รวมถึงหน่วยงานทางการแพทย์อย่างสภากาชาดไทยเอง ก็ต้องปรับ เกณฑ์รับบริจาคเลือด ใหม่ ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด เพื่อให้สามารถเก็บเลือดสำรองไว้ให้บริการแก่ผู้ป่วยที่ต้องการต่อไปได้อย่างปลอดภัยและเพียงพอ

เกณฑ์รับบริจาคเลือด ในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด

เกณฑ์รับบริจาคเลือดฉบับปรับปรุงใหม่นี้ เป็นมาตรการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไวรัส COVID-19 ทางโลหิต ฉบับที่ 5 (31 มีนาคม พ.ศ. 2564) โดยมีหลักเกณฑ์ที่เราควรรู้ก่อนไปบริจาคเลือด ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ที่อาศัย หรือเดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ให้งดบริจาคเลือด 14 วัน
  2. ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ให้งดบริจาคเลือด 14 วัน
  3. ผู้ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด-19 ให้งดบริจาคเลือด 14 วัน นับตั้งแต่หายป่วย โดยไม่มีอาการใด ๆ หลงเหลืออยู่
  4. ผู้บริจาคเลือดต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพตนเองตามความเป็นจริง ห้ามปิดบังข้อมูลโดยเด็ดขาด
  5. หลังจากบริจาคเลือด หากผู้บริจาคได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด-19 ควรแจ้งให้หน่วยงานที่ไปบริจาคเลือดไว้ทราบทันที

อย่างไรก็ดี เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ยังเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากคุณต้องการบริจาคเลือด ก็ควรติดตามข่าวสาร และมาตรการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไวรัส COVID-19 ทางโลหิตอยู่เสมอ จะได้รู้ว่าตัวเองสามารถบริจาคเลือดได้หรือไม่

หากคุณอยากบริจาคเลือดได้แบบไร้ปัญหา เบื้องต้นก็คือ ต้องดูแลรักษาสุขภาพให้ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่ช่วยบำรุงเลือด และในช่วงนี้ก็ต้องไม่ลืมปฏิบัติตามวิธีป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัดด้วย เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไปได้ในระดับหนึ่ง

และหากคุณพบว่าตัวเองเจ็บป่วย มีความเสี่ยง หรือมีอาการต้องสงสัยของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็อย่าฝืนไปบริจาคเลือด หรือกรอกประวัติเท็จในแบบฟอร์มเด็ดขาด เพราะในปัจจุบันสภากาชาดไทยยังไม่มีการตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุ 2019 หรือโรคโควิด-19 ในเลือด การบริจาคเลือดทั้งที่มีความเสี่ยงโรคโควิด-19 จึงเป็นการทำให้ผู้อื่นเสี่ยงรับเชื้อนี้ไปด้วย

แนะนำว่า หากสงสัยว่าตัวเองติดโรคโควิด-19 ควรรีบไปพบคุณหมอทันที โดยต้องไม่ลืมสวมหน้ากากอนามัยด้วย เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจายผ่านสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย ด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

มาตรการป้องกันการถ่ายทอดโรคติดเชื้อ COVID-19 ทางโลหิต ฉบับที่ 5. https://blooddonationthai.com/?p=24358. Accessed on May 31, 2021

Coronavirus incubation period could be 24 days, say researchers. https://www.pharmaceutical-technology.com/news/coronavirus-study-incubation-period/. Accessed on May 31, 2021

Update: Impact of 2019 Novel Coronavirus and Blood Safety – January 31, 2020. http://www.aabb.org/advocacy/regulatorygovernment/Documents/Impact-of-2019-Novel-Coronavirus-on-Blood-Donation.pdf. Accessed on May 31, 2021

Updated Information for Blood Establishments Regarding the COVID-19 Pandemic and Blood Donation. https://www.fda.gov/vaccines-blood-biologics/safety-availability-biologics/updated-information-blood-establishments-regarding-covid-19-pandemic-and-blood-donation. Accessed on May 31, 2021

The need for blood and platelets is constant. https://www.redcrossblood.org/donate-blood/dlp/coronavirus–covid-19–and-blood-donation.html#:~:text=The%20FDA%20allows%20people%20who,donations%20for%20COVID-19%20antibodies. Accessed on May 31, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/05/2021

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

เทคนิคท่องเที่ยว ให้ปลอดภัยจาก ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

โรคโควิด 19 ส่งผลต่อสุขภาพเด็กอย่างไร และวิธีดูแลเด็กที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา