โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา

วิธี ฆ่าเชื้อในขวดนม ลูกรัก ช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่คุณแม่ควรศึกษาไว้

นอกจากผู้สูงวัยที่ทุกคนควรใส่ใจให้ห่างไกลจากจากโคโรนาไวรัสแล้ว เด็กเล็กในบ้านของคุณก็เป็นอีกกลุ่มที่มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน ซึ่งทราบกันดีว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 สามารถติดต่อกันได้ทางสารคัดหลั่ง ดังนั้นครอบครัวใดที่มีบุตรหลานอายุยังน้อย หรืออยู่ในช่วงยังไม่หย่าจากขวดนม ก็อาจจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ถึงการทำความสะอาดให้มากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำความรู้เกี่ยวกับการ ฆ่าเชื้อในขวดนม ของเด็ก ๆ มาฝากทุกครอบครัวกันค่ะ เพราะเป็นสิ่งของที่ลูกรักคอยหยิบจับเอาเข้าปากโดยตรงตลอดเวลา  และเหมาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ในช่วงการระบาดโควิด-19 (COVID-19) เป็นอย่างมากเลยทีเดียว ทำไมคุณพ่อคุณแม่จึงต้องฆ่าเชื้อในขวดนม อาจเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็ก ๆ มีการทำงานไม่ค่อยเต็มที่มากนัก เป็นสาเหตุให้เชื้อโรค แบคทีเรีย ที่สะสมอยู่ภายในขวด หรือสารตกค้างจากน้ำประปา นมผง รวมถึงไวรัสที่กำลังระบาดนี้เข้าไปสร้างความเสียหายให้แก่ระบบทางเดินหายใจ จนเกิดการล้มป่วยอย่างหนักได้ง่าย วิธีฆ่าเชื้อในขวดนม และจุกนมเด็กทารก ปัจจุบันการดูแลรักษาความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญอันดับ 1 ที่คุณแม่ในยุคโควิด-19 ต้องเคร่งครัดและใส่ใจมากกว่าเดิมเป็นพิเศษ ซึ่งคุณแม่ทั้งหลายสามารถกำจัดเชื้อโรคออกไปอย่างง่ายดายด้วยวิธี ดังต่อไปนี้ วิธีที่ 1 สำหรับการ ฆ่าเชื้อในขวดนม : ต้มในน้ำเดือดที่มีอุณภูมิความร้อนสูง นำขวด และจุกนมวางลงในหม้อ จากนั้นเติมน้ำลงไป แล้วต้มไว้ประมาณ 5 นาที ปิดเตา และแช่ขวดนมไว้จนกว่าอุณหภูมิของน้ำเย็นลง ล้างมือให้สะอาดก่อนการจับขวดนมของลูกคุณขึ้นมาก่อนเสมอ หากในกรณีคุณยังไม่ได้นำมาใช้งานในทันทีโปรดเก็บขวดนม และจุกนมในภาชนะที่สะอาด มีฝาที่ปิดสนิทแช่ใส่ตู้เย็นไว้จะเป็นการดีที่สุด วิธีที่ 2 สำหรับการ ฆ่าเชื้อในขวดนม : การฆ่าเชื้อในไมโครเวฟ วางขวดนม และจุกนมลงในภาชนะที่สามารถเข้าในเตาไมโครเวฟได้ในลักษณะแบบคว่ำลง เติมน้ำลงในภาชนะ และเปิดเครื่องใช้เวลาประมาณ […]


ไวรัสโคโรนา

ข้อควรทำและไม่ควรทำสำหรับการสวมหน้ากากอนามัย มีอะไรบ้าง

หน้ากากอนามัย มีส่วนช่วยในการป้องกันการติดเชื้อของโรคต่างๆ ได้ และเพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโรคหรือเชื้อไวรัส อย่างเช่น เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สาเหตุของโรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดในขณะนี้ ควรจะต้องมีการปฏิบัติและใช้งานหน้ากากอนามัยให้ถูกต้องและเหมาะสม ทาง Hello คุณหมอ ได้รวบรวม ข้อควรทำและไม่ควรทำสำหรับการสวมหน้ากากอนามัย มาฝากคุณผู้อ่านทุกท่าน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการสวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง แต่จะมีข้อใดบ้างนั้น ไป่านกันได้ที่บทความนี้เลยค่ะ ข้อควรทำและไม่ควรทำสำหรับการสวมหน้ากากอนามัย หน้ากากอนามัย (Medical mask) ช่วยในการป้องกันสารคัดหลั่งในกรณีที่อาจจะมีผู้อื่น หรือผู้ที่ติดเชื้อมาไอ หรือจามในระยะใกล้ๆ หน้ากากอนามัยจะช่วยกรองสารคัดหลั่งเหล่านั้นได้ ดังนั้น หน้ากากอนามัย จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสามารถช่วยในการรับมือและป้องกันเชื้อของโรคโควิด-19 แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อสวมหน้ากากอนามัยแล้ว ควรที่จะมีการใช้งานที่ถูกต้อง ดังนี้ สิ่งที่ควรทำ สวม หน้ากากอนามัย ให้กระชับและแนบติดไปกับใบหน้า สวมสายรัดของหน้ากากอนามัยไว้ที่หูเสมอ ให้หน้ากากอนามัยปิดทั้งปากและจมูกโดยไม่มีช่องว่าง ก่อนหยิบหน้ากากอนามัยมาสวม ควรล้างมือก่อนทุกครั้งด้วยน้ำสะอาดและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ไม่สัมผัสกับหน้ากากอนามัยหลังจากที่สวมไปแล้ว แต่หากจำเป็นต้องมีการจับ สัมผัส เพื่อปรับทิศทางของหน้ากากอนามัย ให้ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่สัมผัสกับหน้ากากอนามัย หากหน้ากากอนามัยชำรุด เปียกน้ำ หรือสูญเสียรูปทรง ควรเปลี่ยนใช้อันใหม่ทันที และไม่ควรใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ เมื่อถึงเวลาที่จะต้องถอดหน้ากากอนามัย ให้ถอดจากสายรัดที่คล้องอยู่บริเวณหู ไม่สัมผัสโดยตรงกับ หน้ากากอนามัย ทิ้งลงในถังขยะปิด หรือถุงดำโดยเฉพาะ จากนั้นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ สิ่งที่ไม่ควรทำ การสัมผัสกับหน้ากากอนามัยบ่อย ๆ ไม่ล้างมือทั้งก่อนและหลังการสัมผัสกับ หน้ากากอนามัย สวมหน้ากากอนามัยโดยที่ไม่แนบติดกับหน้า และมีช่องว่างระหว่างใบหน้ากับหน้ากากอนามัย ทิ้ง หน้ากากอนามัยลง […]


ไวรัสโคโรนา

เรื่องเศร้าเมื่อฉัน ถูก ตีตราทางสังคม เพราะ ติดเชื้อ COVID-19

เนื่องจากเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นโรคที่อุบัติขึ้นมาใหม่ จึงทำให้หลายคนทั่วโรคเกิดความวิตกกังวล และหวาดกลัว และยิ่งได้รับข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแล และป้องกันตนเองจากเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้วล่ะก็ อาจส่งผลให้เกิดการตีตราทางสังคมได้ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์โดยตรงกับ คุณเพียงใจ บุญสุข เจ้าหน้าที่ชำนาญการด้านภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉินและการดื้อยาต้านจุลชีพ องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ถึงเรื่อง “การตีตราทางสังคม” เราจะมีวิธีการรับมืออย่างไร หากผู้ป่วย ถูก ตีตราทางสังคม เพราะ ติดเชื้อ COVID-19  โดยคุณเพียงใจ บุญสุข ได้ให้คำแนะนำกับเราดังนี้ การตีตราทางสังคม (Social Stigma) คืออะไร การตีตราทางสังคม (Social Stigma)  หมายถึง การที่สังคม คนรอบข้างปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคลที่ติดเชื้อ หรือผู้ที่เข้าข่ายต่อการติดเชื้อโดยการเลือกปฏิบัติ เช่น การเรียกชื่อแบบดูแคลน การกระทำที่ทำให้รู้สึกไม่ดี การลดบทบาทสถานะทางสังคม ตลอดจนการกีดกันไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่คนทั่วไปสามารถเข้าร่วมได้ เมื่อผู้ป่วยหายเป็นปกติแล้ว อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติพฤติกรรมดังกล่าวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 อาจส่งผลกระทบต่อคนภายในครอบครัว  รวมถึงคนใกล้ชิดพลอยได้รับความเดือดร้อนจากการโดนตีตราทางสังคม ไปด้วย ทำไมโรค COVID-19  ถึงทำให้เกิดการตีตราทางสังคม เนื่องจากโรค COVID-19 เป็นโรคที่อุบัติขึ้นมาใหม่ ในปัจจุบันจึงยังไม่มีหลักฐานข้อมูลที่บ่งชี้แน่ชัดเกี่ยวกับการรักษาโรค […]


ไวรัสโคโรนา

กักตัวอยู่บ้านช่วงโควิด-19 นานจนเครียด อาจส่งผลร้ายต่อผิวของเราไม่รู้ตัว

ช่วงการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ ทำให้หลายๆ คนจำเป็นต้องพากันกักตัวอยู่ที่บ้าน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส และช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไปสู่ผู้อื่น แต่การกักตัวอยู่ที่บ้านนาน ๆ นอกจากจะทำให้เรารู้สึกเบื่อแล้ว ความเครียดจากการกักตัว ยังอาจส่งผลเสียต่อผิวของเราได้อีกด้วย บทความนี้จะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากความเครียดต่อผิว ตลอดไปจนถึง การดูแลผิวเมื่อต้องกักตัวช่วงโควิด 19 มาให้ทุกคนได้ลองทำตาม ทำไมการกักตัวจึงทำให้ผิวเราเสีย การกักตัวอยู่บ้านในช่วงระบาดนั้นสามารถสร้างความกังวลและความเครียดให้กับทุกๆ คนได้ ไม่ว่าจะเป็นความกังวลในเรื่องของโรคติดต่อ ความกังวลต่อความปลอดภัย หน้าที่การงาน การเงิน ความเบื่อ และปัญหาอื่น ๆ ที่อาจจะมารุมเร้าในช่วงที่กำลังกักตัว อาจส่งผลกระทบต่อผิวของคุณได้มากกว่าที่คิด ความเครียดนั้นสามารถทำให้เกิดการตอบสนองทางเคมีต่อร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายมีปฏิกิริยาไวต่อสิ่งรอบข้างได้มากกว่าปกติ ซ้ำยังอาจทำให้ปัญหาผิวต่าง ๆ ฟื้นฟูได้ยากกว่าปกติอีกด้วย ผิวหนังที่มีปฏิกิริยาไวมากขึ้นเนื่องจากความเครียด ก็จะทำให้ไวต่อปัจจัยกระตุ้นแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง ความร้อน สิ่งระคายเคือง ปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้ผิวหนังเกิดอาการต่างๆ เช่น ผิวแห้ง แตกลาย เกิดริ้วรอย หรือผดผื่น เป็นต้น ความเครียดนั้นยังทำให้ร่างกายของเราสร้างฮอร์โมนความเครียด อย่าง คอร์ติซอล (cortisol) จะทำให้ร่างกายผลิตน้ำมันออกมามากยิ่งขึ้น ทำให้ผิวมัน และเพิ่มโอกาสในการเกิดปัญหาผิว เช่น สิวอักเสบ หรือไขมันอุดตัน โรคผิวหนังที่กำลังเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็น โรคสะเก็ดเงิน โรคผื่นผิวหนังอักเสบ […]


การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ไวรัสอาร์เอสวี (RSV) สาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจของเด็ก ๆ

ไวรัสอาร์เอสวี (RSV) เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการได้ตั้งแต่ระดับเบา คือมีอาการคล้ายไข้หวัด ไปจนถึงอาการระดับรุนแรงอย่างปอดอักเสบที่อาจถึงแก่ชีวิตได้ ยิ่งหากมีลูกเล็ก ก็ยิ่งต้องระวังเจ้าไวรัสร้ายตัวนี้เอาไว้ให้ดี เพราะการติดเชื้อไวรัสนี้พบได้บ่อยในเด็ก ทั้งนี้ เด็กหนึ่งคนจะต้องเคยติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีนี้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต [embed-health-tool-vaccination-tool] ไวรัสอาร์เอสวี (RSV) คืออะไร ไวรัสอาร์เอสวี (RSV Virus) ย่อมาจากคำว่า Respiratory Syncytial Virus ซึ่งหมายถึงไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ พบได้บ่อยที่สุดในเด็กคลอดก่อนกำหนด และเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีนี้ได้เช่นกัน โดยเฉพาะหากเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคปอด โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหอบหืด ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ไวรัสอาร์เอสวี แพร่กระจายได้ทางไหนบ้าง ในประเทศไทยพบการแพร่ระบาดของไวรัสอาร์เอสวีได้ทุกฤดู แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือ ในฤดูฝน ช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม โดยไวรัสอาร์เอสวีนี้สามารถแพร่กระจายได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เหล่านี้ สารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ เช่น เสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ที่ออกมาจากร่างกายผู้ติดเชื้อเนื่องจากไอจาม เป็นต้น การสัมผัสกับสิ่งของหรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสอาร์เอสวี เพราะเมื่อมือเปื้อนเชื้อไวรัส แล้วนำมือไปสัมผัสใบหน้า จมูก ตา ปาก […]


ไวรัสโคโรนา

ออกกำลังกายที่บ้านต้านโควิด-19 ถึงอยู่บ้านก็ฟิตแอนด์เฟิร์มได้

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตของใครหลาย ๆ คนเปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยทำงานนอกบ้าน หลายคนก็ต้องเปลี่ยนมาทำงานที่บ้าน คนที่เคยไปออกกำลังกายที่ฟิตเนสเป็นประจำก็ต้องเปลี่ยนมาออกกำลังกายที่บ้านแทน แต่ไม่ว่าคุณจะเคยออกกำลังกายหรือไม่ เราก็อยากชวนคุณมา ออกกำลังกายที่บ้านต้านโควิด-19 ด้วย ท่าออกกำลังกาย ง่าย ๆ เหล่านี้ ทำแล้วไม่ใช่แค่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยให้คุณห่างไกลจากโควิด-19 แต่ไขมันส่วนเกินก็จะหายไป หุ่นฟิตแอนด์เฟิร์มขึ้น แถมสุขภาพจิตก็ดีขึ้นมากแน่นอน ท่า ออกกำลังกายที่บ้านต้านโควิด-19 1. กระโดดตบ การกระโดดตบถือเป็นการวอร์มอัพที่เหมาะสมมากในการเริ่มต้น ออกกำลังกายที่บ้านต้านโควิด-19 แถมการกระโดดตบ 10 นาที ยังช่วยเผาผลาญพลังงานได้ถึงประมาณ 100 กิโลแคลอรี่เลยทีเดียว แต่ข้อควรระวังก็คือ การกระโดดตบนั้นเป็น ท่าออกกำลังกาย ที่มีแรงกระแทกสูง จึงอาจไม่เหมาะกับคนที่ข้อต่อมีปัญหาเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะข้อเข่าและข้อเท้า วิธีกระโดดตบ ยืนให้เท่าห่างกันเล็กน้อย แขนแนบลำตัว กระโดดขึ้นพร้อมแยกเท้าออกให้เท่าความกว้างหัวไหล่ ยกมือทั้งสองแตะกันเหนือศีรษะโดยให้แขนเหยียดตรง กลับท่าเริ่มต้น พร้อมเอามือลงแนบลำตัว ทำซ้ำ 10 ครั้ง ทั้งหมด 3 เซ็ต (10 ครั้งเท่ากับ 1 เซ็ต) สำหรับใครที่กระโดดได้ลำบาก อาจเปลี่ยนเป็นก้าวขาไปข้าง ๆ สลับซ้าย-ขวา พร้อมยกแขนขึ้นตบเหนือศีรษะแทนการกระโดดก็ได้ 2. วิ่งอยู่กับที่ แม้จะออกไปวิ่งในสวนสาธารณะไม่ได้ แต่คุณก็สามารถออกกำลังกาย ด้วยการวิ่งอยู่กับที่ในบ้านได้ ท่านี้เป็น […]


ไวรัสโคโรนา

งานวิจัยจีนชี้! คน กรุ๊ปเลือดเอ อาจมีความเสี่ยงติดเชื้อ โควิด-19 ได้ง่ายที่สุด

เมื่อการระบาดของ COVID-19 ดูเหมือนจะยังไม่มีหนทางสิ้นสุด ทำจึงให้นักวิทยาศาสตร์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังคงต้องดำเนินการค้นคว้าสืบหาข้อเท็จจริงที่แน่ชัดเกี่ยวกับไวรัสชนิดนี้ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน ยารักษา การวิเคราะห์รหัสพันธุกรรม เป็นต้น ซึ่งไม่นานมานี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ในประเทศจีน ได้ทำการศึกษาโดยอ้างอิงจากกลุ่มเลือดของผู้ป่วย 2,173 ราย ที่เข้ารับการรักษาเชื้อโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 ในโรงพยาบาล ณ เมืองอู่ฮั่น และเซินเจิ้น คิดเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ ดังนี้ กรุ๊ปเลือดเอ ถึง 38 เปอร์เซ็นต์ กรุ๊ปเลือดบี 26 เปอร์เซ็นต์ กรุ๊ปเลือดโอ 25 เปอร์เซ็นต์ กรุ๊ปเลือดเอบี 10 เปอร์เซ็นต์ จากผลวิจัยดังกล่าว อาจชี้ได้ว่า กรุ๊ปเลือดเอ อาจมีความเสี่ยงติดเชื้อ โควิด-19 ได้ง่ายที่สุด นอกจากโควิด-19 ยังมีกรณีศึกษาในงานตีพิมพ์ของวารสาร ภาวะหลอดเลือดอุดตัน และหลอดเลือดชีววิทยาเกี่ยวกับกรุ๊ปเลือดที่มีความเสี่ยงในการส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ นักวิจัยท่านหนึ่งได้ทำการวิเคราะห์บุคคลที่มีกรุ๊ปเลือดเอ  กรุ๊ปเลือดบี และ กรุ๊ปเลือดเอบี พบว่าปัจจัยโดยรวมต่าง ๆ ของเลือดทั้ง 3 กรุ๊ปนี้ สามารถพัฒนานำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ประมาณร้อยละ 5 , 11 […]


ไวรัสโคโรนา

กรมการแพทย์แผนไทย แนะนำใช้ สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ต้านโควิด-19 จริงหรือไม่

ปัจจุบันหลายคนเริ่มหันมารับประทาน “ฟ้าทะลายโจร” กันมากขึ้น ทั้งชนิดแคปซูล และแบบผง  เพราะเชื่อว่า ฟ้าทะลายโจร  สามารถต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงได้นำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมาแจ้งให้ทุกคนทราบกันค่ะ ว่า สมุนไพรฟ้าทะลายโจร สามารถ ต้านโควิด-19 ได้จริงหรือไม่ ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ต้านโควิด-19  ได้จริงหรือไม่ กระแสข่าวเกี่ยวกับ สมุนไพรฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculate)  ทำให้หลายคนหันมารับประทานกันมากขึ้น เพราะเชื่อว่าสามารถใช้รักษาโรคโควิด-19 ได้ ซึ่งแหล่งข่าวต่าง ๆ ที่เผยแพร่ออกมานั้นอาจทำให้หลายคนเกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่าสามารถป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ แท้ที่จริงแล้วกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ยังไม่มีข้อระบุที่แน่ชัดว่าสามารถรักษาโรคดังกล่าวได้ อยู่ในระว่างวิจัยและอยู่ในขั้นตอนการทดลองเท่านั้น งานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านไวรัสโควิด-19 ของฟ้าทะลายโจร จากการรายงานจดสิทธิบัตรการค้นพบฤทธิ์ของฟ้าทะลายโจร พบว่า มีสารแอนโดรกราโฟไลด์  (Andrographolide)  มีศักยภาพในการป้องกันรักษาโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome : SARS) ที่มีความคล้ายกับเชื้อไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ในประเทศจีนได้มีการนำฟ้าทะลายโจรในรูปของยาฉีดที่มีชื่อว่า ยาสี่เหยียนผิง (Xiyanping Injection) ที่มีตัวยาแอนโดรกราโฟไลด์ ซัลโฟเนต (Andrographolide Sulfonate) […]


ไวรัสโคโรนา

เมื่อหายจากโควิด-19 แล้วสามารถ ติดเชื้อโควิดรอบสอง ได้หรือไม่

โรคโควิด-19 ถือว่าเป็นโรคที่ถือว่าใหม่มาก งานวิจัยในเรื่องต่าง ๆ และยาที่ใช้ในการรักษาก็ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลอง แม้แต่ระยะฟักตัวของเชื้อโรคก็ยังไม่มีความแน่นอน ยากที่จะคาดเดา ทำให้หลายๆ คนอาจจะมีคำถามมากมายเกี่ยวกับไวรัสชนิดนี้ หนึ่งในคำถามที่คาดว่าหลายๆ คนคงอยากจะรู้ก็คือ เมื่อ หายจากโควิด-19 แล้ว สารมารถกลับมาติดเชื้ออีกได้หรือไม่ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงได้หาข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับคำถามที่ว่าคนเราสามารถ ติดเชื้อโควิดรอบสอง ได้หรือไม่ มาให้ทุกคนได้ลองอ่านและศึกษากันดูค่ะ เป็นไปได้หรือไม่ที่คนเราจะสามารถ ติดเชื้อโควิดรอบสอง โดยปกติแล้วเมื่อร่างกายของคนเราเมื่อมีการติดเชื้อไวรัสแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันจะทำความรู้จักกับเชื้อโรคที่เข้ามา และเริ่มรู้วิธีการจัดการกับเชื้อโรคนั้น หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ร่างกายมีภูมิคุ้มกันกับเชื้อโรคชนิดนั้นแล้ว แต่เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้หญิงวัย 40 ชาวโอซาก้าที่รักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 จนหายดีแล้วนั้นแต่เมื่อมีการทดสอบผลเลือดอีกก็พบว่ามีการติดเชื้อโควิด-19 นอกจากนี้ยังมีกรณีคล้าย ๆ กันนี้อีก คือกรณีลูกเรือจากเรือไดมอนด์พริสส์เซสและชาวเกาหลีใต้ที่หายจากการติดเชื้อแล้วนั้น กลับมาติดเชื้ออีกครั้ง ซึ่งทั้ง 3 กรณีเป็นกรณีที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย แต่สิ่งที่น่ากังวลมากคืองานวิจัยจากมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน พบว่าผู้ป่วยที่หายแล้วและสามารถกลับมาติดเชื้ออีกครั้งมีมากถึงร้อยละ 14 แต่อย่างไรก็ตามยังเร็วเกินไปที่จะสรุปได้ว่าเมื่อเคยติดโควิด-19 แล้วจะสามารถกลับมาติดได้อีกครั้ง กรมควบคุมและป้องกันโรคบอกว่า การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 นั้นยังไม่ชัดเจน นักวิจัยชี้ว่าผู้ที่กลับมาติดโควิด-19 อีกครั้งนั้นอาจเกิดขึ้นจากผลกระทบอื่นๆ เช่น ปัญหาสุขภาพเรื่องปอดไม่แข็งแรง และระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็สามารถติดเชื้อโควิด-19 รอบสอง […]


ไวรัสโคโรนา

งานวิจัยเยอรมันเผย ตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลก อาจเป็นเพียงแค่ 6% จาก จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 จริงทั้งหมด

ทุกวันนี้ไม่ว่าใครต่างก็คงพยายามเกาะติด สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) และรับฟังรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ ในทุกๆ วัน แต่ข้อมูลจากงานวิจัยที่พบในเยอรมนีนั้น กลับให้ความเห็นว่า จำนวนตัวเลข ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เรากำลังรับทราบกันอยู่ในทุกวันนี้ อาจจะเป็นเพียงแค่ 6% จาก จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 จริงทั้งหมด ที่เกิดขึ้นทั่วโลกก็เป็นได้ นักวิจัยชาวเยอรมันทั้ง 2 คน ดร. คริสเตียน บอมเมอร์ (Christian Bommer) และศาสตราจารย์ เซบาสเตียน วอลเมอร์ (Sebastian Vollmer) ได้ทำการวิจัยโดนการประมาณการเสียชีวิต และระยะเวลาการเสียชีวิต จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน The Lancet Infectious Diseases เพื่อทำการทดสอบความสามารถในการบันทึกกรณีการติดเชื้ออย่างเป็นทางการ ผลการวิจัยและข้อมูลได้แสดงให้เห็นว่า ประเทศต่าง ๆ นั้นพบจำนวน ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเฉลี่ยแล้วเพียงแค่ 6% จากจำนวนผู้ติดเชื้อจริงทั้งหมดที่ควรจะเป็น จำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกที่รายงานโดยสื่อระดับชาติและระดับนานาชาติ อาจมีความคลาดเคลื่อนไปจาก จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 จริงทั้งหมด ที่ควรจะเป็น โดยจำนวนตัวเลขของผู้ติดเชื้อที่แท้จริงนั้น อาจจะมากถึงหลายสิบล้านคนไปแล้ว หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้หลายประเทศในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นอิตาลี สเปน หรืออังกฤษ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน