โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา

ทำไม ผู้สูงวัย ถึงอยู่ในกลุ่มเสี่ยงผู้ติดเชื้อ ไวรัสโควิด-19 ได้ง่ายที่สุด?

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 (Coronavirus 2019 ; COVID-19) ยังคงเป็นที่น่ากังวลในหลายประเทศ ด้วย ยอดจำนวนผู้ติดเชื้อ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงตัวเลขอัตราการเสียชีวิตด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะประเทศอิตาลีที่ขณะนี้มียอดพุ่งขึ้นเข้าสู่หลักหมื่นราย (ข้อมูลสถิติจากองค์การอนามัยโลก WHO ณ วันที่ 1 เมษายน 2563 ) ซึ่งหลายวันมานี้ประเทศไทยก็มียอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเช่นกัน โดยประวัติผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มักเป็น ผู้สูงวัย ที่เสียชีวิตจากเชื้อ ไวรัสโควิด-19 ทั้งสิ้น แต่จะมีสาเหตุมาจากอะไรนั้น ลองอ่านกันในบทความนี้ที่ Hello คุณหมอ ได้นำมาฝากทุกคนกันค่ะ เหตุผลที่ ผู้สูงวัย ติดเชื้อ ไวรัสโควิด-19 เนื่องจากเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ทำให้ยังไม่มีข้อมูลเชิงลึกที่เพียงพอมากนัก แต่จากงานวิจัยได้เผยถึงค่าเฉลี่ยของช่วงอายุ และประวัติทางสุขภาพของผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ ที่มักมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป พร้อมมีโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง นั่นอาจเพราะผู้สูงอายุมีภูมิคุ้มกันที่ค่อนข้างอ่อนแอ และสามารถล้มป่วยได้ง่าย ทั้งนี้ยังมีแนวโน้มที่เชื้อไวรัส COVID-19 จะทวีความรุนแรงมากกว่ากลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ อีกด้วย แต่ถึงอย่างไรไวรัสโควิด-19 นี้ ก็ยังส่งผลร้ายแรงต่อปอดของคุณได้ ต่อให้คุณไม่มีโรคประจำตัวเลยก็ตาม […]


ไวรัสโคโรนา

รับมือโควิด-19 ด้วยหลัก Social Distancing จาก WHO

จากภาวะการระบาดของโรคโควิด-19 ที่เริ่มระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีพ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบัน ทั่วทั้งโลกก็กำลังเผชิญกับวิกฤติการระบาดของโรคนี้อยู่ โดยเฉพาะประเทศไทย ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกๆวัน Hello คุณหมอ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์โดยตรงกับคุณเพียงใจ บุญสุข เจ้าหน้าที่ชำนาญการด้านภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉินและการดื้อยาต้านจุลชีพ องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ถึงแนวทางการดูแลตนเองและรับมือกับโรคโควิด-19 โดยคุณเพียงใจ บุญสุข ได้ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับ โรคโควิด-19 และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับหลัก Social Distancing ไว้ดังนี้ค่ะ โรคโควิด-19 คืออะไร โรคโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่นี้ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคมปีพ.ศ. 2562 ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ต่อมาได้เกิดการระบาดเป็นวงกว้างในมณฑลหูเป่ยประเทศจีน และระบาดไปทั่วโลก ทางองค์การอนามัยโลกจึงได้ตั้งชื่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ว่า “โรคโควิด-19” โรคโควิด-19 ติดต่อผ่านทางไหนได้บ้าง โรคโควิด-19 สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งผ่านละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ผ่านการไอ จามของผู้ที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่ติดเชื้อ หรือสัมผัสโดยตรงกับน้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ที่ติดเชื้อ  สมมติว่ามีผู้ป่วยที่ติดเชื้อไอหรือจาม ละอองน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ จะสามารถฟุ้งกระจายไปได้ไกลในรัศมีถึง 1 เมตร เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่อยู่ในรัศมี 1 เมตร ก็จะสามารถรับละอองน้ำมูก […]


ไวรัสโคโรนา

WHO เผยแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมและตอบโต้ การระบาดของ COVID-19

นับตั้งแต่ เชื้อไวรัสCOVID-19 กำลังระบาดไปทั่วโลก ทาง WHO ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ นอกจากจะออกมาประกาศข่าวคราว วิธีป้องกันตัว และอื่นๆ สำหรับรับมือจาก COVID-19 แล้ว ยังได้เผยแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมและตอบโต้ การระบาดของ COVID-19 ออกมาอีกด้วย ส่วนเนื้อหาของแผนยุทธศาสตร์นี้จะมีอะไรบ้าง ทาง Hello คุณหมอ ได้หยิบข้อมูลบางส่วนจากแผนยุทธศาสตร์มาฝากกันในบทความนี้ แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมและตอบโต้ การระบาดของ COVID-19  ตั้งแต่เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับการแจ้งเตือนว่า พบผู้ป่วยปอดอักเสบเป็นกลุ่ม อยู่ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากที่ได้การรับแจ้ง 1 สัปดาห์ ในวันที่ 7 มกราคม 2563 ทางการยีนก็ได้ออกมายืนยันว่า พวกเขาได้ตรวจพบว่า สาเหตุของโรคปอดอักเสบที่เกิดขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นั่นเอง ในเบื้องต้นได้เรียกไวรัสชนิดนี้ว่า 2019-nCoV หลังจากที่มีรายงายผู้ป่วยรายแรกๆ ทาง WHO และภาคีเครือข่ายก็ได้ประสานกับทางการจีน และผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไวรัสชนิดนี้ รวมไปถึงวิธีการแพร่เชื้อ กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ ขอบเขตของอาการ […]


การติดเชื้อแบคทีเรียแบบอื่น

โรคที่มากับน้ำท่วม รู้ไว้ ระวังทันท่วงที

ในช่วงฤดูฝน ที่มีฝนตกบ่อยๆ จนมีปริมาณน้ำสูงขึ้น ในบางพื้นที่อาจเกิดความเสี่ยงจนทำให้ น้ำท่วม ซึ่งนอกจากความเสียหายในการใช้ชีวิต และความเสียหายทางทรัพย์สินแล้ว ปัญหาน้ำท่วมยังอาจทำให้เราเกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ที่มาพร้อมกับน้ำอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคที่มากับน้ำท่วม มาฝากกันค่ะ โรคที่มากับน้ำท่วม อันตรายแค่ไหน  ในช่วงที่น้ำท่วม อาจจะมีเชื้อรา แบคทีเรีย สิ่งปฏิกูล และสัตว์ที่มีพิษมากมายที่อาจจะหนีน้ำมาอาศัยอยู่ในที่แห้งๆ อย่างบนบ้านของเรา หากน้ำที่ท่วมขังอยู่เป็นเวลานานมีเชื้อโรค อาจทำให้เราติดเชื้อโรคได้ ไม่ว่าจะเป็นทางผิวหนัง ดวงตา จนเกิดอาการเจ็บป่วยได้ เราสามารถแบ่งโรคที่มากับน้ำท่วมได้จาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ โรคที่มาจากน้ำ และ โรคที่มาจากแมลง 1. โรคที่มากับน้ำท่วม ที่เกิดจากน้ำ โรคระบบทางเดินอาหาร ในช่วงน้ำท่วม เป็นช่วงที่ยากลำบากต่อการหุงหาอาหาร นอกจากความยากลำบากในการทำอาหารแล้ว วัตถุดิบที่ใช้ในการทำอาหารก็หาได้ยากพอๆ กัน นอกจากนี้ระบบน้ำดื่มน้ำใช้ก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย บางครั้งอาหารหรือน้ำอาจมีการปนเปื้อนแบคทีเรีย ปรสิตที่มาจากน้ำท่วม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งการติดเชื้อเหล่านี้ อาจทำให้เกิดการอาเจียนหรือท้องเสียได้ หากอาการเหล่านี้รุนแรงมากๆ อาจส่งผลทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ โรคฉี่หนู (Leptospirosis) โรคฉี่หนู หรือเรียกอีกอย่างว่า โรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นอีกโรคที่มักจะระบาดในช่วงหน้าฝน หรือช่วงที่มีน้ำท่วมขังโรคฉี่หนูเป็นโรคที่สามารถติดได้ทั้งคนและสัตว์ ซึ่งจะเกิดจากการที่ร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย จากการสัมผัสน้ำ […]


ไวรัสโคโรนา

Q&A ตอบทุกคำถามสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เกี่ยวกับ โรค COVID-19

วันนี้ Hello คุณหมอ นำคำตอบทุกข้อสงสัยที่เกี่ยวกับการป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อในสถานการณ์การระบาดของ โรค COVID-19 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไป มาฝากกันค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูพร้อมกันเลย   หน้ากากอนามัยใช้แล้ว นำมาฆ่าเชื้อแล้วสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ ได้หรือไม่ ไม่ได้ เนื่องจากหน้ากากอนามัยทางการแพทย์เป็นหน้ากากชนิดที่ผลิตมาสำหรับใช้ได้ครั้งเดียวเท่านั้น หลังการใช้งานต้องมีการต้องกำจัดทิ้งทันที โดยถอดด้วยการดึงสายรัดจากด้านหลัง และทิ้งลงถังขยะทันทีที่มีฝาปิดมิดชิด และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังทิ้งหน้ากากอนามัย ผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อCOVID-19 และผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19   สามารถรักษาตัวอยู่ในห้องเดียวกันได้หรือไม่ โดยหลักการแล้วควรแยกให้อยู่คนละห้อง แต่ในกรณีที่มีความจำเป็นไม่สามารถทำได้เนื่องจากจำนวนห้องจำกัด การจัดให้อยู่ห้องเดียวกันถือเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ แต่ควรจัดเตียงผู้ป่วยให้ห่างกันไม่ต่ำกว่า 1 เมตร บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องใส่ชุดป้องกัน (Personal Protective Equipment ; PPE) เป็นประจำเพื่อดูแลผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อ COVID-19  และผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19  หรือไม่ ไม่จำเป็น โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization ; WHO) ให้คำแนะนำบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อ COVID-19 และผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 ได้แนะนำให้ใช้มาตรการป้องกันการสัมผัสและการปนเปื้อนจากละอองฝอย เป็นการเพิ่มเติมจากมาตรการป้องกันมาตรฐานที่บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนควรใช้กับผู้ป่วยทุกรายอยู่แล้ว สำหรับการใช้ชุดป้องกันนั้น (Personal Protective Equipment ; PPE)  มาตรการป้องกันการสัมผัสและการปนเปื้อนจากละอองฝอย รวมถึงการสวมถุงมือชนิดใช้แล้วทิ้งเพื่อปกป้องส่วนมือ สวมชุดคลุมกาวน์แขนยาวที่สะอาด […]


ไวรัสโคโรนา

รู้ก่อน เตรียมตัวทัน ของที่ควรกักตุน เพื่อรับมือในช่วงโรคระบาด Covid-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ในปัจจุบัน ยังลงลุกลามไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นที่ อิตาลี อิหร่าน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และในไทย ที่ยังคงมีความน่าเป็นห่วง และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยมีจำนวนผู้ที่ยืนยันแล้วว่าติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน ไม่ต่ำกว่าวันละ 30 ราย และยังเป็นที่กังวลว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้อาจจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น และเข้าสู่ระยะที่ 3 ในไม่ช้า ทำให้หลายๆ คนเริ่มกักตุนอาหารและของจำเป็น เผื่อในกรณีที่จะต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน แต่การจะกักตุนอาหาร ใช่ว่าสมควรจะซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า บทความนี้จะมาแนะนำให้คำแนะนำเกี่ยวกับ ของที่ควรกักตุน ที่ทุกคนควรรู้ สำหรับการเตรียมตัวอย่างเพียบพร้อม เพื่อรับมือกับสถานการณ์ในปัจจุบัน หลังจากที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ทำการยกระดับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ให้เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) เนื่องจากเชื้อไวรัสนี้ได้แพร่กระจาย และส่งผลกระทบไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะภายในประเทศอิตาลี ที่มีจำนวนยอดผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นไปเกินกว่าหมื่นราย และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2 พันรายขึ้นไป จนทางอิตาลีต้องประกาศให้มีการกักตัวอยู่ในบ้าน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ความรุนแรงของการแพร่ระบาดนี้ ทำให้ประชาชนหลายๆ ประเทศเริ่มตื่นตัว และหันมากักตุนอาหารและสินค้ากันอย่างล้นหลาม ในอินเทอร์เน็ตก็เริ่มมีการเผยแพร่ภาพของ ชั้นวางสินค้าที่ว่างเปล่า เนื่องจากประชาชนแห่กันไปซื้ออาหารและของใช้เพื่อกักตุนรอรับมือกับวิกฤตโรคระบาดนี้ รวมไปจนถึงในประเทศไทย […]


ไวรัสโคโรนา

อัพเดต! สถานที่ ตรวจหาโควิด-19 ฟรี หากอาการเข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยง

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ยังคงรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนบัดนี้องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยกระดับโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เป็นการแพร่ระบาดใหญ่ หรือเข้าสู่ภาวะ Pandemic คือแพร่ระบาดลุกลามไปทั่วโลกแล้ว สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดในไทย กระทรวงสาธารณสุขได้เปิดเผยข้อมูลโรคติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09.00 น. ว่ามียอดผู้ป่วยยืนยันว่าติดเชื้อและรักษาตัวในโรงพยาบาล 105 ราย (มีอาการรุนแรง 1 ราย) กลับบ้านแล้ว 41 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 147 ราย และมีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 มีนาคม พ.ศ. 2563 สะสมทั้งหมด 7,084 ราย จากสถิติตัวเลขผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังที่มากขึ้นเรื่อยๆ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 […]


ไวรัสโคโรนา

WHO เผยข้อมูล สัญญาณ อาการ การทำงาน และความรุนแรงของโควิด-19

ปัจจุบันโรคโควิด 19 ถือเป็นโรคที่มีความรุนแรงในการแพร่ระบาดเป็นอย่างมาก ซึ่งทาง องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้โควิด 19 เป็นโรคระบาดระดับโลก ขณะนี้ยอดผู้ติดเชื้อมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูล สถิติอาการโควิด 19 จาก WHO ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตกลุ่มผู้ป่วยในจีนจำนวน 55,924 คน มาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ สถิติอาการโควิด 19 ของผู้ป่วยในจีนโดย WHO พร้อมสัญญาณ การทำงาน และความรุนแรงของโควิด-19 อาการของโรคโควิด 19 นั้นไม่มีอาการเฉพาะเจาะจง บางครั้งอาจไม่มีการแสดงอาการเลย ไปจนถึงมีอาการปอดอักเสบรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต จากข้อมูลล่าสุดในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2020 จากการสังเกตกลุ่มผู้ป่วยในจีนจำนวน 55,924 กรณี จากรายงาน Report of the WHO-China Joint Mission on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) โดยองค์การอนามัยโลก) พบว่าสัญญาณและอาการโดยทั่วไปของโควิด 19 นั้น มีไข้ […]


ไวรัสโคโรนา

อย.เผย วิธีทำเจลล้างมือใช้เอง แสนง่าย ป้องกันเชื้อโรคร้ายให้ไกลห่างคุณ

ยังคงเป็นประเด็นให้เห็นกันอยู่ทุกวันถึงข่าวไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาดหนัก และกำลังแพร่กระจายไปทั่วโลก ทำให้พวกเราทุกคนจำเป็นต้องป้องกันสุขภาพร่างกายตนเองเบื้องต้นอย่างเคร่งครัด เช่น การอยู่ให้ไกลจากผู้ที่มีอาการเป็นหวัด มีน้ำมูก จาม ไอ การใส่หน้ากากอนามัยในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด และหมั่นล้างมือด้วยสบู่อย่างสม่ำเสมอ แต่คนเราจะคอยวิ่งเข้าวิ่งออกห้องน้ำทุกนาทีก็คงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องมีตัวช่วยเสริมอย่างเจลล้างมือขนาดพกพา ซึ่งกำลังเป็นที่ขาดแคลนตามท้องตลาดในปัจจุบัน คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. (Food and Drug Administration) จึงออกมาเผย วิธีทำเจลล้างมือใช้เอง เพื่อให้ประชาชนได้มีเครื่องมือป้องกันเชื้อโรค รวมถึงไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เผย 4 สูตร วิธีทำเจลล้างมือใช้เอง โดยองค์การอาหารและยา รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม แนะนำวิธีทำเจลล้างมือใช้เอง เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้ในหลายภาคส่วนกังวลถึงเรื่องการปรับสถานะของเจลล้างมือจากเครื่องสำอางเป็นเครื่องมือแพทย์ อาจส่งผลกระทบทำให้ยิ่งขาดแคลนเจลล้างมือมากขึ้น ทางอย. จึงได้มีการรับนโยบายจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในการช่วยป้องกันประชาชนจากไวรัสโควิด-19 พร้อมทั้งมีความต้องการอยากให้ประชาชนมีเจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อได้อย่างเพียงพอ และสามารถทำได้ด้วยตนเอง จึงมีการเชิญผู้ประกอบการผลิตเจลล้างมือเข้าร่วมชี้แจงว่า ยังคงให้แอลกอฮอล์มีสถานะเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางดังเดิม แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เงื่อนไข โดยต้องมีปริมาณแอกอฮอล์ 70% ขึ้นไป […]


ไวรัสโคโรนา

อัพเดตสถานการณ์ เหยื่อโควิด-19 ในไทย เสียชีวิตแล้วรายแรก

อย่างที่ทราบกันดีว่า ตอนนี้ โควิด-19 กำลังระบาดไปทั่วทั้งโลก จนกลายเป็นสถานการณ์ที่ทุกคนกำลังจับตามอง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของเชื้อที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังมีผู้ตกเป็น เหยื่อโควิด-19 แล้วหลายราย ในประเทศไทยนั้น ได้มีประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข โดยให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรค โควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย เหยื่อโควิด-19 รายแรกในไทยที่เสียชีวิต นอกจากนั้น ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าว โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศเกี่ยวกับสถานการณ์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563 เวลา 8.00 น. ว่า มีผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นชายไทย อายุ 35 ปี ซึ่งถือเป็น เหยื่อโควิด-19 รายแรกแรกในไทยที่เสียชีวิต ผู้ป่วยรายนี้เริ่มป่วยด้วยการเป็นไข้เลือดออก ต่อมามีการติดเชื้อโควิด-19 ร่วมด้วย จากนั้นจึงถูกส่งตัวจาก รพ.เอกชน มารักษาตัวต่อที่สถาบันบำราศนราดูร […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน