โรคติดเชื้อ

ร่างกายของเราเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เรามองไม่เห็น แม้ว่าโดยปกติสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่เป็นอันตราย แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่โรคติดเชื้อที่คุกคามสุขภาพของคุณและคนรอบข้างได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อ ประเภทต่าง ๆ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคติดเชื้อ

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้  [embed-health-tool-vaccination-tool] ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK […]

หมวดหมู่ โรคติดเชื้อ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา

ข้อควรรู้ก่อนการมีเซ็กซ์ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19

ความรู้สึกทางเพศเป็นเรื่องที่ห้ามกันไม่ได้ ยิ่งรู้สึกรักและสุขใจด้วยแล้ว การมีเพศสัมพันธ์จึงเป็นกิจกรรมที่จะตอบสนองต่อความต้องการและความรู้สึกของคู่รักได้เป็นอย่างดี แต่การมีเซ็กส์ในสถานการณ์ที่มี การระบาดของโรคโควิด-19 เช่นนี้ จะมีความเสี่ยงหรือไม่ มาหาคำตอบเกี่ยวกับ ข้อควรรู้ก่อนการมีเซ็กส์ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 กันได้จากบทความนี้ของ Hello คุณหมอ เลยค่ะ เชื้อโควิด-19 ติดต่อผ่านการมีเซ็กส์หรือไม่? สำหรับการติดต่อของ โรคโควิด-19 เป็นที่รับรองแล้วว่ามีการติดเชื้อผ่านสารคัดหลั่ง ทั้งน้ำมูกและน้ำลาย ผ่านการสัมผัสหรือการรับเอาสารคัดหลั่งโดยการหายใจเข้า-ออกโดยตรง หรือผ่านการสัมผัสกับวัตถุและพื้นผิวเดียวกันกับผู้ที่ติดเชื้อ แต่สำหรับ การติดเชื้อโควิด-19 ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ในขณะนี้ยังไม่มีผลการศึกษาหรือการรับรองที่ว่า โรคโควิด-19 จะสามารถติดเชื้อผ่านอสุจิ หรือสารคัดหลั่งในช่องคลอดขณะที่มีเพศสัมพันธ์ได้  อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มีการค้นพบว่าโรคนี้สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ แต่ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ก็ยังคงมีอยู่ เพราะถ้าหากว่า คู่นอนของคุณเป็นผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 กิจกรรมแห่งความรักอย่างการจูบ การกอด การหายใจในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็น โรคโควิด-19 ได้ เพราะอาจได้รับเชื้อโรคผ่านสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ที่ติดเชื้อในขณะที่กำลังปฏิบัติกิจกรรมบนเตียงอย่างการจูบ หรือการทำกิจกรรมทางเพศที่ต้องใช้ปาก และต้องสัมผัสกับน้ำลายของกันและกัน หรืออาจได้รับเชื้อผ่านการไอหรือการจามของคู่นอน ในขณะที่กำลังมีเพศสัมพันธ์ก็เป็นไปได้เช่นกัน ข้อควรรู้ก่อนการมีเซ็กส์ในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 มีอะไรบ้าง แม้การมีเซ็กส์จะเป็นเรื่องปกติของคนเรา แต่การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่เกิดโรคระบาดเช่นนี้ ควรจะต้องรู้จักวิธีป้องกันทั้งตนเองและคู่นอนให้ปลอดภัย และแนวทางของการมีเซ็กส์ที่ปลอดภัยแบบไร้ความเสี่ยงของ โรคโควิด-19 ให้มากที่สุด ดังนี้ ตรวจเช็กสุขภาพของคู่นอนว่ามีอาการเสี่ยงหรือไม่ คุณควรแน่ใจก่อนว่าคู่นอนของคุณไม่มีความเสี่ยง และไม่ติดเชื้อของ โรคโควิด-19 […]


ไวรัสโคโรนา

ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันไวรัสแล้ว มา ทิ้งหน้ากากอนามัย ให้ถูกวิธีกันเถอะ

การสวมใส่หน้ากากอนามัย ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เชื้อโคโรนาไวรัส หรือโควิด-19 แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณก็ต้องใช้งานหน้ากากอนามัยและทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วให้ถูกวิธีด้วย จึงจะช่วยลดการแพร่เชื้อโรคได้จริง แล้ววิธี ทิ้งหน้ากากอนามัย ที่ถูกต้องและปลอดภัยจะต้องทำอย่างไรบ้าง Hello คุณหมอ มีข้อมูลเรื่องนี้มาฝากกันในบทความนี้ หน้ากากอนามัยใช้แล้ว = ขยะทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า หน้ากากอนามัยอาจมีเชื้อโรคต่าง ๆ รวมถึงเชื้อโคโรนาไวรัส สาเหุตของโรคโควิด-19 ปนเปื้อนอยู่ เมื่อใช้เสร็จแล้วคุณจึงไม่ควรทิ้งรวมกันขยะอื่น หรือทิ้งสุ่มสี่สุ่มห้า ยิ่งเมื่อหน้ากากอนามัยอั้นนั้นเปียกชื้น หากคุณวางทิ้งไว้เฉย ๆ หรือไม่ทิ้งหน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี ก็อาจทำให้หน้ากากอนามัยอันนั้นกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี และกลายเป็นตัวการในการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ หากคุณทิ้งหน้ากากอนามัยไว้ในพื้นที่ปิดแคบ เช่น ในลิฟต์ ก็อาจทำให้อากาศในลิฟต์มีเชื้อโรคปนเปื้อน จนคนที่อยู่ในลิฟต์ในตอนนั้น หรือมาใช้ลิฟต์ต่อจากคุณมีโอกาสติดเชื้อโรคได้ นอกจากนี้ หากคุณโยนหน้ากากอนามัยใช้แล้วทิ้งไว้บนพื้นถนน ก็อาจมีคนมาเก็บไปใช้ หรือที่เลวร้ายกว่านั้นคือ เอาไปขายใหม่กลายเป็นหน้ากากอนามัยมือสอง จนทำให้ผู้คนเสี่ยงติดเชื้อกันเป็นจำนวนมาก ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัยต่อตัวคุณเองและผู้อื่น คุณต้องคิดไว้เสมอว่า หน้ากากอนามัยใช้แล้วก็เท่ากับเป็นขยะทางการแพทย์หรือขยะติดเชื้อ ที่มีการปนเปื้อนสารคัดหลั่งและเชื้อโรค ซึ่งต้องจำกัดอย่างถูกวิธี โดยคุณสามารถทิ้งหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้องและปลอดภัย ได้ด้วยวิธีที่เรานำมาฝากดังต่อไปนี้ วิธี ทิ้งหน้ากากอนามัย ที่ถูกต้อง เตรียมถุงพลาสติก ถุงขยะ หรือถุงซิปล็อกที่มีขนาดใหญ่พอใส่หน้ากากอนามัยไว้ให้พร้อม ค่อย ๆ ดึงสายคล้องออกจากหูช้า […]


ไวรัสโคโรนา

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ โควิด-19 หรือ ไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19 หรือ Coronavirus 2019)

โควิด-19 หรือ ไวรัสโคโรนา 2019 คืออะไรเดิมที ไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus 2019) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปีค.ศ. 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด จนกระทั่งเริ่มมีการแพร่ระบาดอย่างหนักในช่วงเดือนธันวาคม 2019 จากตลาดขายอาหารแห่งหนึ่ง ณ เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนนับแสนราย และสามารถเป็นพาหะที่นำไปสู่การติดเชื้อได้ในสัตว์ด้วยเช่นกัน ไวรัสโคโรนาเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วย ตั้งแต่ไข้หวัดธรรมดา ไปจนถึงโรคที่รุนแรง เช่น โรคระบบทางเดินหายใจในตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome or MERS-CoV) โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome or SARS-CoV) นอกเหนือจากนี้ ยังสามารถลงไปยังระบบหายใจส่วนล่างนั่นก็คือโรคปอดอักเสบ โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีการแพร่กระจายเชื้อในลักษณะเดียวกันกับโรคไข้หวัดที่เราคุ้นเคยกันทั่ว ๆ ไป เช่น การไอ จาม เนื่องด้วยไวรัสโคโรนาที่เริ่มแพร่กระจายส่งท้ายปี 2019 จนปัจจุบันเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ค่อนข้างรุนแรง เทดรอส อะดานอม เกเบรเยซุส (Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการใหญ่ของ […]


ไวรัสโคโรนา

ไม่อยากเจอเฟกนิวส์ สอบถามข้อมูลจาก สายด่วนและศูนย์รวบรวมข้อมูลโควิด-19 ในประเทศไทย

ความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ยังคงทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หลายๆ คนต่างก็พยายามหาเกาะติดกระแสข่าว และหาข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสโควิด -19 ให้ได้มากที่สุด เพื่อจะได้เตรียมการเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด แต่ข่าวสารที่มีอยู่มากมายบนโลกอินเตอร์เน็ตนั้นอาจมีทั้งข่าวจริงและข่าวปลอมปะปนกัน และการจะคัดแยกข่าวจริงกับข่าวปลอมนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา บทความนี้ ได้ทำการรวบรวม สายด่วนและศูนย์รวบรวมข้อมูลโควิด-19 ในประเทศไทย ที่น่าเชื่อถือมาให้ทุกคนได้รับทราบ เพื่อที่การเฝ้าระวังภัยโควิด-19 ของทุกคน จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สายด่วนและศูนย์รวบรวมข้อมูลโควิด-19 ในประเทศไทย 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรค สายด่วนให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงนี้มีจุดประสงค์หลัก คือ ให้ข้อมูล ตอบคำถาม และข้อสงสัยของประชาชน เป็นการตอบคำถามจากหน่วยงานของกรมควบคุมโรคโดยตรง ดังนั้นจึงมั่นใจได้ในความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูล แจ้งเหตุผู้ที่มีความเสี่ยงเข้าเกณฑ์ป่วยติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเมื่อมีการแจ้งผ่านทางสายด่วนนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุขจะทำการประสานไปยังโรงพยาบาลที่มีความพร้อม เพื่อจัดเตรียมรถไปรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ถึงที่บ้าน ส่วนสำหรับในต่างจังหวัด ทางสายด่วนจะประสานกับโรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ และโรคพยาบาลประจำอำเภอเพื่อเตรียมความพร้อมในการให้บริการผู้ป่วย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php เว็บไซต์ให้ความรู้เกี่ยวกับ COVID-19 โดยตรงจากกรมควบคุมโรค ตลอดจนถึงอัพเดทสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิต สถานที่พบผู้ป่วย และสถานการณ์ อัพเดทรายวัน และคำถามที่พบบ่อย รวมเบ็ดเสร็จในหนึ่งเว็บไซต์ กระทรวงสาธารณสุข https://www.facebook.com/fanmoph/ เว็บเพจของกระทรวงสาธารณสุข ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 คำถามและคำตอบจากบุคลากรทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และการอัพเดทสถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกสาขาประเทศไทย https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019 ศูนย์รวมข้อมูลความรู้ […]


ไวรัสโคโรนา

รู้หรือไม่ ไวรัสโควิด-19 อาจทำร้ายภูมิคุ้มกันของคุณได้เหมือนกับ HIV

เป็นที่ทราบกันว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 หรือที่เรียกกันว่า โรคโควิด-19 เป็นเชื้อไวรัสที่เมื่อติดเชื้อแล้ว เชื้อไวรัสนี้จะสามารถทำลายระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง แต่ในงานวิจัยล่าสุดเผยว่า โควิด 19 อาจ ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายเรา ได้เช่นเดียวกับเชื้อ HIV มาติดตามรายละเอียดไปพร้อมกับ Hello คุณหมอ โควิด 19 ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ได้จริงเหรอ เราต่างก็รู้กันดีว่า ระบบภูมิคุ้มกันมีหน้าที่ในการช่วยปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่อาจจะมาทำร้ายร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย สารเคมี หรือฝุ่นละอองต่าง ๆ และหากระบบภูมิคุ้มกันของเราอ่อนแอ ก็จะทำให้มีโอกาสป่วยได้ง่ายกว่าปกติ ดังนั้นแพทย์หลายคนจึงได้พยายามให้คำแนะนำในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 หรือเพื่อให้อาการของโรคโควิด-19 นั้นไม่รุนแรงมากเกินไป แต่ในการวิจัยล่าสุดพบว่า เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือที่เรียกกันว่า COVID-19 อาจสามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ร่างกายของเราอ่อนแอลง และทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบภูมิคุ้มกันได้ คล้ายคลึงกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัส HIV นักวิจัยพบว่า โครงสร้างพิเศษของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีลักษณะเป็นหนามนั้น สามารถกระตุ้นให้เกิดการรวมตัวกันของไวรัสและเยื่อหุ้มเซลล์อวัยวะเมื่อมีการสัมผัสกัน ยีนของเชื้อไวรัสนั้นจะทำการแทรกแซงเข้าสู่ T-lymphocytes หรือที่เรียกว่า T-cell ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เป็นส่วนหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกัน และทำหน้าที่ช่วยปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ยีนของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้จะเข้าควบคุม […]


ไวรัสโคโรนา

วิธีแก้เบื่อ เมื่อต้องอยู่แต่ในบ้าน แบบสร้างสรรค์และได้ผลจริง

ช่วงนี้คนส่วนใหญ่ต้องอยู่บ้าน หรือทำงานที่บ้าน ตามหลักการเว้นระยะห่างจากสังคม (Social Distancing) เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังเป็นปัญหาระดับโลกอยู่ในขณะนี้ และเมื่อต้องอยู่บ้านนานๆ ไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น เดินห้าง ดูหนัง กินบุฟเฟต์ ได้อย่างที่เคย ก็อาจทำให้คุณเกิดอาการเบื่อหน่าย ไม่อยากจะขยับตัวทำอะไร จนนำไปสู่ภาวะสุขภาพ เช่น โรคอ้วน โรคซึมเศร้า และลดประสิทธิภาพในการทำงานได้ Hello คุณหมอ เลยอยากชวนคุณมาแก้เบื่อ ด้วย วิธีแก้เบื่อ สุดสร้างสรรค์ เหล่านี้ บอกเลยว่า นอกจากจะช่วยให้หายเบื่อแล้ว ยังดีต่อสุขภาพด้วย วิธีแก้เบื่อ สุดสร้างสรรค์และดีต่อสุขภาพ แก้เบื่อ ด้วยการนอนงีบสักพัก หากคุณรู้สึกเบื่อหน่าย ลองแก้เบื่อด้วยการนอนงีบสัก 10-30 นาทีดูสิ รับรองว่าจะช่วยให้คุณหายเบื่อ ช่วยคลายเครียด ทำให้อารมณ์ดีขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มความกระปรี้กระเปร่า และความตื่นตัวได้ด้วย โดยเฉพาะเมื่อคุณนั่งๆ ทำงานอยู่แล้วเบื่อ ลองผละจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ แล้วนอนพักสายตาสักพัก เมื่อตื่นขึ้นมา คุณจะรู้สึกได้เลยว่าสมองไบรท์ และมีพลังในการทำงานมากขึ้น งานมีประสิทธิภาพขึ้นแน่นอน แต่คุณต้องงับหลับแบบพอดีนะ คือ ไม่เกินครั้งละ 10-30 นาที และควรเลี่ยงการนอนงีบหลับในเวลาเย็นหรือช่วงใกล้เวลานอนกลางคืนด้วย เพราะไม่อย่างนั้นอาจทำให้คุณนอนตอนกลางคืนไม่หลับ […]


ไวรัสโคโรนา

ศูนย์รวมความรู้เกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 ที่คุณสามารถศึกษาและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ประชากรทั่วโลกเกิดความตื่นตัวและให้ความสำคัญในการติดตามข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ตนเองได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับ เชื้อโควิด-19 และสามารถรับมือกับ โรคที่เกิดจากเชื้อโควิด-19 ได้อย่างทันท่วงที บทความนี้นี้ Hello คุณหมอจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับ ศูนย์รวมความรู้เกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 มาฝากทุกคนกันค่ะ ศูนย์รวมความรู้เกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 ที่คุณควรรู้จัก ไม่เพียงแต่รายงานความเคลื่อนไหวของ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว ศูนย์รวมความรู้เกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 ยังทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลที่รวบรวมองค์ความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ เชื้อโควิด-19 ที่คุณสามารถศึกษาเพื่อการเตรียมการรับมือ โรคโควิด-19 ได้ด้วยตนเอง องค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO)   เว็บไซต์: https://www.who.int/ องค์การอนามัยโลก ได้เผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนได้ทราบถึงสถานการณ์ความคืบหน้าในแต่ละวันของ โรคโควิด-19 (COVID-19) เช่น จำนวนยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลก ยอดผู้ติดเชื้อสะสมในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำทางวิชาการจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ทั่วโลกต่อการรับมือโรคโควิด-19 เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention; CDC) เว็บไซต์: https://www.cdc.gov/ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา ได้ทำการรวบรวมบทความให้ความรู้เกี่ยวกับ โรคโควิด-19 เช่น การดูแลและป้องกันตนเองจาก โรคโควิด-19 วิธีการดูแลสุขภาพตนเองในบ้านทั้งในวัยเด็กและวัยผู้สูงอายุ รวมถึงการรายงานการแพร่ระบาด และข่าวสารต่าง ๆ […]


ไวรัสโคโรนา

แค่หายใจก็ติดแล้ว นักวิทยาศาสตร์ชี้ โควิด-19 อาจจะติดต่อสู่กันได้ เพียงแค่คุณหายใจ

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ ผ่านทางละอองฝอยขนาดใหญ่ ที่มาจากการจามหรือการไอ และเมื่อละอองฝอยเหล่านี้ตกกระทบลงบนพื้นผิว แล้วมีคนไปสัมผัสพื้นผิวนั้นแล้วมาสัมผัสหน้า พวกเขาก็จะติดเชื้อได้เช่นกัน แต่ล่าสุด นักวิจัยบางรายได้ตั้งข้อสงสัยว่า โควิด-19 อาจ ติดต่อกันผ่านทางการหายใจ หรือเพียงแค่พูดตามปกติ ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงใน New England Journal of Medicine พบว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 อาจสามารถแพร่กระจายมากับละอองลอย และคงอยู่ในอากาศนานถึง 3 ชั่วโมง แม้ว่างานวิจัยนี้จะยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องความเชื่อถือของวิธีการที่ใช้ในการวิจัย แต่ก็มีงานวิจัยชิ้นอื่นที่สนับสนุนข้อสมมุติฐานนั้น เช่น งานวิจัยของ University of Nebraska Medical Center พบรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในบริเวณที่ยากต่อการเข้าถึงในห้องของผู้ป่วยที่กักตัว “งานวิจัยในปัจจุบันนั้น ได้สนับสนุนความเป็นไปได้ที่ว่า เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือ โควิด-19 อาจสามารถแพร่กระจายติดต่อกันได้ผ่านทาง ละอองลอยชีวภาพ (bioaerosols) ที่ออกมาเมื่อผู้ป่วยหายใจ” เป็นส่วนหนึ่งจากรายงานของนักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และการแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา ที่ส่งให้ทำเนียบขาว สหรัฐอเมริกา สภาวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกาได้แจ้งต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาว่า สาเหตุส่วนหนึ่งของการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ อาจเนื่องมาจากการแพร่กระจายของไวรัสผ่านทางละอองลอยชีวภาพที่มาจากการพูดหรือการหายใจ หรืออธิบายได้ว่า โควิด-19 อาจ […]


ไวรัสโคโรนา

สิงห์นักสูบโปรดทราบ! สูบบุหรี่ ยิ่งเสี่ยง ติดเชื้อโควิด-19 แถมอาการอาจทรุดหนัก

นอกจากผู้สูงอายุ และกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจ แล้ว ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญเผยว่า พฤติกรรมอย่าง “การสูบบุหรี่” อาจเพิ่มความเสี่ยงในการ ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) และถ้าหากติดเชื้อแล้ว ยังอาจทำให้อาการรุนแรงกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ด้วย ทำไมคนสูบบุหรี่ ถึงเสี่ยงติดโควิด-19 ได้มากกว่า การสูบบุหรี่ ไม่ว่าจะแบบบุหรี่มวน หรือบุหรี่ไฟฟ้า แค่เพียงมวนเดียว ก็สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพปอดและระบบทางเดินหายใจ ทำให้เสี่ยงเกิดการติดเชื้อในอวัยวะดังกล่าวได้มากขึ้น ยิ่งคุณสูบบุหรี่มาเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่ ความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ปอดและระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดอักเสบ รวมถึงการติดเชื้อโควิด-19 ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่แค่นั้น เพราะอวัยวะที่ใช้สัมผัสและหยิบจับสิ่งของอย่าง มือ รวมไปถึง บุหรี่มวน บุหรี่ไฟฟ้า ก็เสี่ยงปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อคุณใช้มือคีบบุหรี่เข้าปากเพื่อสูบ หรือสูบบุหรี่ไฟฟ้า จึงทำให้มีโอกาสที่ เชื้อไวรัสโควิด-19 จากมือหรือบุหรี่จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางปากได้ และผู้ที่สูบบุหรี่บางคนยังมีพฤติกรรมสูบบุหรี่มวนเดียวกันกับคนอื่น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ล้วนทำให้คนที่สูบบุหรี่เสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 ได้มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ทั้งสิ้น คนสูบบุหรี่ ติดเชื้อโควิด-19 อาการจะรุนแรงมากกว่าจริงไหม ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า คนที่สูบบุหรี่ หากติดเชื้อโควิด-19 ก็มีโอกาสที่อาการจะทรุดหนักหรือรุนแรงมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ได้ นั่นเพราะปอดและอวัยวะอื่นๆ ในระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลม กะบังลม […]


การติดเชื้อไวรัสแบบอื่น

ไข้ลาสซา หนึ่งในโรคที่มาจากสัตว์ อาจนำไปสู่การเจ็บป่วย

ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ หรือสัตว์ขนาดเล็กก็ล้วนแต่เป็นพาหะนำโรคเข้ามาสู่มนุษย์ได้ทั้งนั้น แม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงแสนน่ารักในบ้านของเราที่เราอาจคิดว่าเราดูแลทำความสะอาดเขาเป็นอย่างดี แต่บางทีเชื้อโรคในตัวเขาก็อาจนำโรคบางอย่างมาให้ โดยอาจส่งผ่านทางการสัมผัสทางน้ำลาย การกอด การหอม เป็นต้น บทความนี้ Hello คุณหมอ มีอีกหนึ่งโรคจากสัตว์ที่ตอนนี้ก็กำลังเป็นที่ระบาดอย่าง ไข้ลาสซา มาฝาก เพื่อให้ทุก ๆ คนพึงระวัง และตระหนักกันมากขึ้น ไข้ลาสซา คืออะไร ไข้ลาสซา (Lassa fever) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่พบได้มากที่สุดในร่างกายของสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู ซึ่งถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในปี 1969 ประเทศไนจีเรีย โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไข้ลาสซานี้เป็นผู้สอนศาสนาจำนวน 3 คน และได้เสียชีวิตลงเป็นเวลาต่อมา ทำให้ทีมวิจัย บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทุกคนหันมาใส่ใจโรคนี้กันมากขึ้น การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้พบได้ทั่วไปในแถบแอฟริกาตะวันตก ซึ่งมียอดคนติดเชื้อประมาณ 100,000 – 300,000 ราย ต่อปี และมีผู้เสียชีวิตราว ๆ 5,000 คนจากโรคร้ายนี้ และยังมีความเสี่ยงที่อาจกระจายไปยังประเทศใกล้เคียง หรือประเทศอื่น ๆ ได้ อาการของไข้ลาสซา แสดงออกมาในรูปแบบใดได้บ้าง การส่งผ่านของอาการไข้ลาสซามักมาในรูปแบบการสูดดม การสัมผัส หรือเผลอรับประทานอาหารที่มีมูล หรือปัสสาวะของหนูเสียส่วนใหญ่ รวมถึงการรับเชื้อโรคผ่านทางผิวหนังโดยตรงเมื่อผิวหนังของคุณบริเวณนั้นมีแผลเปิด แผลสด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน