ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

นอกเหนือจากปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่พบได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็น ไข้หวัดใหญ่ หอบหืด ปอดอักเสบ วัณโรค หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแล้ว ยังมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพปอดอื่น ๆ ที่หลายคนอาจมองข้าม และไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร แต่ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพปอดเหล่านั้น อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเราได้ Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น ให้คุณผู้อ่านได้ศึกษาเรียนรู้กัน ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

แน่นหน้าอก หายใจลำบาก สาเหตุและการดูแลตัวเอง

แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นอาการป่วยที่มักมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและปอด เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ วัณโรค โรคโควิด-19 ทั้งนี้ เมื่อพบอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ควรไปพบคุณหมอ เพราอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพซึ่งหากปล่อยไว้จะยิ่งแย่ลงหรืออาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] แน่นหน้าอก หายใจลำบากเกิดจากสาเหตุใดบ้าง แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นอาการป่วยที่มักเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน และมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับหัวใจและปอด เนื่องจากอวัยวะทั้ง 2 อย่างนี้ สัมพันธ์กับการหายใจ หรือการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ภายในร่างกาย สำหรับปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและปอด หมายถึงโรคต่างๆดังนี้ ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับปอด โรคครูป โรคซาร์คอยโดซิส โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด เยื่อหุ้มปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด พังผืดที่ปอด ปอดรั่ว ความดันเลือดปอดสูง วัณโรค โรคโควิด-19 นอกจากปัญหาสุขภาพข้างต้น อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ยังอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ โรคหอบหืด ความเครียด โรควิตกกังวล โรคอ้วน โรคกรดไหลย้อน ซี่โครงหัก […]

สำรวจ ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

หายใจมีเสียงวี้ด เป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพหรือเปล่า?

หากคุณสังเกตการหายใจของตัวเอง แล้วพบว่าตนเอง หายใจมีเสียงวี้ด คุณควรจะต้องไปพบคุณหมอ เพื่อวินิจฉัยสิ่งที่เกิดขึ้น จะได้รักษาอาการได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที เพราะอาการหายใจมีเสียงวี้ดนั้น อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพ แต่การ หายใจมีเสียงหวีด จะเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง ในวันนี้ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน [embed-health-tool-heart-rate] อาการหายใจมีเสียงวี้ด (Wheezing) เป็นอย่างไร หายใจมีเสียงวี้ด (Wheezing) เป็นการหายใจที่มีการส่งเสียงคล้ายนกหวีดออกมา ซึ่งเสียงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากอากาศที่เคลื่อนผ่านทางเดินหายใจที่แคบ โดยโรคหอบหืดจะพบอาการ หายใจมีเสียงหวีด บ่อยที่สุด แต่ก็ไม่ใช่แค่โรคหอบหืดเท่านั้นที่จะมีอาการนี้ อาการหายใจมีเสียงหวีด อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะต่าง ๆ ตั้งแต่ปัญหาเล็กน้อย เช่น การหายใจในอากาศเย็น ไปจนถึงอาการที่ร้ายแรงบางอย่าง เช่น อาการแพ้อย่างรุนแรง สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องจำไว้ก็คือ หายใจมีเสียงวี้ด เป็นเรื่องที่ไม่ปกติ เวลาหายใจเข้าและออกคุณพยายามสังเกตตัวเองให้ดี ๆ หากหายใจมีเสียงวี้ดแทรก อยู่เรื่อย ๆ หรือมีอาการที่แย่ลง คุณควรไปพบคุณหมอ เพื่อเข้ารับการวินิจิยฉัยถึงสาเหตุที่ส่งผลต่อการจำกัดทางเดินหายใจของคุณจะเป็นการดีที่สุด สาเหตุของอาการหายใจมีเสียงวี้ด การตีบของทางเดินหายใจ หรือที่เรียกว่า “การอุดตันของทางเดินหายใจ หรือทางเดินหายใจมีสิ่งกีดขวาง” มักเกิดขึ้นในหลอดลมขนาดเล็ก ในบางกรณีอากเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งรวมถึงหลอดลมคอ (Trachea) หลอดลมขั้วปอด (Bronchi) หรือสายเสียง (Vocal Cords) […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) ก๊าซพิษอันตรายที่มองไม่เห็น

คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide หรือ CO) เป็นก๊าซพิษอันตรายที่มองไม่เห็น แต่หากเคยได้ยินข่าว คนนอนเสียชีวิตในรถ เพราะว่าจอดรถนอนข้างทาง โดยเปิดเครื่องไว้ ไม่ยอมดับเครื่องยนต์ แล้วเกิดข้อสงสัยว่า การนอนหลับโดยสตาร์ทรถไว้มันอันตรายอย่างไร ทำไมเขาถึงเสียชีวิต สาเหตุนั้นก็มาจากคาร์บอนมอนอกไซด์นั่นเอง [embed-health-tool-bmi] คาร์บอนมอนอกไซด์ คืออะไร คาร์บอนมอนอกไซด์  เป็นก๊าซไร้สี ไร้กลิ่น ชนิดหนึ่ง ที่จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดการเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น เตาผิง เตาแก๊สทำอาหาร รถยนต์ หรือแม้กระทั่งควันบุหรี่ เมื่อเราสูดดมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปในร่างกาย ก๊าซนี้ก็จะไปแทนที่ออกซิเจนในเลือด และทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ แหล่งของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่พบได้บ่อย ได้แก่ สีย้อมผ้า เครื่องทำน้ำอุ่นแบบเตาแก๊ส ฮีตเตอร์ รถยนต์ เตาแก๊สทำอาหาร เตาผิง เตาถ่านปิ้งย่าง ควันบุหรี่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์นั้นเป็นก๊าซที่สามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน และคนส่วนใหญ่มักจะเผลอสูดดมก๊าซนี้เข้าไปโดยไม่รู้ตัวกันอยู่บ่อยครั้ง เพียงแต่ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่เจอในชีวิตประจำวันนั้นอาจจะไม่มีปริมาณมากพอที่จะทำอันตรายต่อร่างกายได้นั่นเอง อันตรายจากคาร์บอนมอนอกไซด์ แม้ว่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวันนั้นจะมีปริมาณไม่มากพอที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่หากอยู่ในพื้นที่ปิด ไม่มีอากาศถ่ายเท เช่น ในห้องอับที่ปิดหน้าต่าง หรือในรถยนต์ ก็อาจทำให้มีโอกาสสูดดมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปในปริมาณมากโดยไม่รู้ตัว และทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตได้ ออกซิเจนนั้นมีความสำคัญต่างอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น สมอง หัวใจ หรืออวัยวะอื่น ๆ เมื่อสูดดมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปในปริมาณมาก ก๊าซนั้นจะจะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดง […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ (Carbon Monoxide Poisoning)

คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ (Carbon monoxide poisoning) หมายถึงภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อเราสูดดมเอาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปมากเกินไป จนทำให้ระดับของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือดสูง คำจำกัดความคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ คืออะไร คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ (Carbon monoxide poisoning) หมายถึงภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อเราสูดดมเอาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปมากเกินไป จนทำให้ระดับของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือดสูง ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์นี้จะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง และทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ อวัยวะ และอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ เราสามารถพบก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ท่อไอเสียของรถยนต์ ฮีตเตอร์ เตาถ่านปิ้งย่าง เครื่องยนต์ของรถยนต์ เครื่องปั่นไฟฟ้า เตาแก๊สทำอาหาร การสูดดมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณเล็กน้อยนั้นอาจจะไม่ทำให้เกิดอันตรายอะไร แต่หากคุณได้รับก๊าซนี้ในปริมาณมาก เช่น จากการเผาถ่านในห้องอับ หรือเปิดเครื่องรถยนต์ไว้แล้วจอดนอนอยู่กับที่ ก็อาจทำให้ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์สะสมอยู่มากเกินไป จนกลายเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษพบบ่อยแค่ไหน ภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะกับผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ หรือเตาถ่านในบริเวณที่เป็นห้องอับ ไม่มีอากาศถ่ายเท หรือผู้ที่ต้องเดินทางไกลด้วยรถยนต์ และจอดนอนพักในรถยนตร์โดยติดเครื่องยนต์ไว้ อาการอาการของคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ อาการที่พบได้บ่อยมีดังต่อไปนี้ ปวดหัวตื้อ ๆ วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน หายใจไม่ออก สับสน มองเห็นไม่ชัด ตาพร่า หมดสติ ภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษนั้นจะมีอันตรายมากกับผู้ที่หมดสติ หรือผู้ที่มึนเมา เพราะอาจเกิดความเสียหายต่อสมอง หรือเสียชีวิตได้ ก่อนที่พวกเขาจะรู้ตัวกันเสียอีก ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด สัญญาณเตือนของภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษนั้นอาจจะมองออกค่อนข้างยาก หากคุณสังเกตพบว่าคุณหรือคนรู้จักอาจจะมีอาการของภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ ควรรีบระบายอากาศโดยรอบ และนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลในทันที หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการของโรคโปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ ภาวะคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษนั้นเกิดจากการที่ที่เราสูดดมเอาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปมากจนเกินไป จนส่งผลกระทบต่อร่างกาย ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์นั้นเกิดขึ้นจากการที่เชื้อเพลงต่าง ๆ เช่น แก๊ส น้ำมัน ถ่าน หรือไม้ เผาไหม้อย่างไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังอาจเกิดขึ้นจากการทำงานของเครื่องยนต์ การทำอาหาร หรือเผาฟืน แม้ว่าตามปกติแล้วกระบวนการเหล่านี้จะไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่หากในบริเวณนั้นเป็นห้องอับ อากาศไม่ถ่ายเท […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia)

ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) เกิดขึ้นเมื่อระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของเนื้อเยื่อในร่างกายได้  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไอ ผิวหนังเปลี่ยนสี ระบบหายใจผิดปกติ เป็นต้น คำจำกัดความภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) คืออะไร ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) เกิดขึ้นเมื่อระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของเนื้อเยื่อในร่างกายได้  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไอ ผิวหนังเปลี่ยนสี ระบบหายใจผิดปกติ เป็นต้น ภาวะพร่องออกซิเจน พบได้บ่อยแค่ไหน ภาวะพร่องออกซิเจนสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน  โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจและปอด โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง และโรคหลอดลมอักเสบ เป็นต้น อาการอาการของภาวะพร่องออกซิเจน ผู้ป่วยที่อยู่ภาวะพร่องออกซิเจน จะมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะ หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว ไอ หายใจไม่ออก รู้สึกสับสน เหงื่อออก ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของของภาวะพร่องออกซิเจน โดยปกติปอดจะต้องสูดลมอากาศแลกเปลี่ยนออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อให้เพียงพอต่อการหายใจ มีการไหลเวียนเลือดไปยังปอดและนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยภาวะพร่องออกซิเจนนั้นเกิดจากหลายสาเหตุและหลายปัจจัย ดังนี้ โรคโลหิตจาง กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome หรือ ARDS) โรคหอบหืด ความบกพร่องของหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอดอักเสบ อาการบวมน้ำในปอด เส้นเลือดอุดตันในปอด หยุดหายใจขณะหลับ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยภาวะพร่องออกซิเจน  ในการวินิจฉัย แพทย์จะทำการตรวจร่างกายฟังเสียงหัวใจและปอดของผู้ป่วย เพื่อดูสัญญาณความผิดปกติ รวมถึงการวินิจฉัยอื่น ๆ เพื่อตรวจสอบระดับออกซิเจนในร่างกาย ดังนี้ ตรวจวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse oximetry) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์หนีบที่ปลายนิ้วเพื่อดูปริมาณออกซิเจนในเลือด ทดสอบหลอดเลือดแดง […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ควันบุหรี่มือสอง อันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด

ควันบุหรี่มือสอง เป็นผลกระทบจากการได้รับควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบแล้วพ่นควันออกมา ถือเป็นการรับควันบุหรี่ทางอ้อม จึงนิยมเรียกว่าควันบุหรี่มือสอง ซึ่งควันบุหรี่มือสองส่งผลกระทบต่อสุขภาพไม่แพ้ควันบุหรี่จากการสูบบุหรี่เองโดยตรง ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่ [embed-health-tool-bmi] ควันบุหรี่มือสอง คืออะไร ควันบุหรี่มือสอง หมายถึง ควันที่ออกมาจากบุหรี่ ซิการ์ หรือยาสูบ ที่ผู้สูบพ่นออกมาในอากาศ ทำให้ผู้อื่นได้รับควันบุหรี่หรือหายใจเอาควันบุหรี่ที่ลอยมาเข้าไปในร่างกาย และได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีที่อยู่ในควันบุหรี่ไม่ต่างจากผู้ที่สูบบุหรี่โดยตรงเลยทีเดียว ในควันบุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 7,000 ชนิด โดยสารเคมีอย่างน้อย 69 ชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง และมีสารเคมีมากกว่า 250 ชนิดที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ ผลกระทบต่อสุขภาพจากควันบุหรี่มือสอง ผลกระทบของควันบุหรี่มือสองต่อผู้ใหญ่ วัยผู้ใหญ่กลุ่มคนวัยทำงาน ผู้ที่เข้าร่วมวงสังสรรค์ที่มีผู้ร่วมงานคนอื่นสูบบุหรี่ เช่น ตามผับบาร์ หรือมีคนในครอบครัวสูบบุหรี่ เป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่ประเภทนี้มากที่สุด ระบบหายใจ ผู้ใหญ่ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองส่วนใหญ่มักมีอาการหอบหืด และมีปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ หากเป็นผู้ที่มีอาการหอบหืดอยู่แล้ว ก็จะยิ่งทำให้อาการนั้นแย่ลงเมื่อได้รับควันบุหรี่มือสอง โรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้น 25-30% นอกจากนี้ ควันบุหรี่มือสองยังทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการความดันโลหิตสูงอาการแย่ลงด้วย โรคมะเร็งปอด ควันบุหรี่มือสองทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ คนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นถึง 30% นอกจากนี้ การได้รับควันบุหรี่มือสองยังอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งโพรงไซนัส ผลกระทบของ ควันบุหรี่มือสอง […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

10 ตัวการทำลายปอด ที่คุณอาจคาดไม่ถึง และไม่ทันได้ระวัง

เมื่อพูดถึง ตัวการทำลายปอด หลายคนน่าจะนึกถึงมลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นพีเอ็ม 2.5 และการสูบบุหรี่เป็นอันดับต้นๆ แต่คุณจะรู้ไหมว่า ยังมีอีกหลายอย่างรอบตัวเราที่สามารถเป็นต้นเหตุให้ปอดของคุณเสียหายหรือถูกทำลายได้ และนี่คือ 10 ตัวการทำลายปอด ที่คุณมักละเลย และไม่ทันได้ระวัง 10 ตัวการทำลายปอด ที่คุณอาจคาดไม่ถึง 1. เชื้อรา เชื้อรา ไม่ว่าจะเป็นตามซอกมุมของบ้าน ตามเฟอร์นิเจอร์ หรือจากอาหารที่คุณปล่อยไว้จนเน่าเสีย ราขึ้น ก็สามารถทำร้ายปอดของคุณได้ทั้งสิ้น เนื่องจากเชื้อรามีสปอร์ที่สามารถฟุ้งกระจายไปยังที่ต่างๆ ได้ หากเราสูดดมสปอร์เข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมากหรือเป็นระยะเวลานาน ก็อาจทำให้เกิดปอดติดเชื้อขั้นรุนแรงได้ โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นภูมิแพ้เชื้อรา ผู้ที่เป็นโรคปอด เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ ผู้เป็นโรคหอบหืด ผู้สูงอายุ คุณจึงควรหมั่นทำความสะอาดบ้าน เปิดบ้านเพื่อระบายอากาศ และทิ้งเศษอาหาร หรืออาหารที่ไม่กินแล้วทุกวัน จะได้ไม่มีเชื้อราสะสม 2. ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าแมลง ไม่ว่าจะเป็นประเภทดีดีที ที่นิยมใช้ฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลงกวนใจในบ้าน เช่น แมลงสาบ ยุง มด แมลงวัน หรือยาปราบศัตรูพืชที่ใช้ฆ่าหญ้า มักมีสารเคมีอันตรายเป็นส่วนประกอบ หากคุณกิน สัมผัส หรือสูดดมเข้าไป อาจส่งผลเสียต่ออวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกายได้มากมาย เช่น […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

วิธีล้างปอด ฟอกปอดให้สะอาดขึ้น แบบที่คุณก็ทำเองได้ไม่ยาก

ปอด จัดเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของร่างกาย ในแต่ละปี ปอดของเราหายใจเข้าออกมากกว่า 6 ล้านครั้ง เพื่อรับเอาอากาศเข้าสู่ร่างกายและลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผ่านกระแสเลือด จากนั้นจึงกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย โดยปกติแล้ว ปอดของเราจะทำความสะอาดตัวเอง เพื่อกำจัดมลพิษ สารเคมี หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ออกไปได้ แต่บางครั้งคุณก็ต้องช่วยทำความสะอาดปอดด้วย โดยเฉพาะเมื่อคุณเป็นโรคที่ทำให้ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น เช่น โรคหอบหืด โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) หรือโรคหลอดลมพอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือหากคุณสูบบุหรี่ โดยคุณสามารถฟอกปอดให้สะอาดขึ้นได้ ด้วย วิธีล้างปอด ที่เรานำมาฝากเหล่านี้ [embed-health-tool-heart-rate] วิธีล้างปอด ฟอกปอด ให้สะอาด ใช้เครื่องฟอกอากาศ เครื่องฟอกอากาศเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่จะช่วยปรับคุณภาพอากาศภายในบ้าน หรือรถของคุณให้ดีขึ้นได้ ปัจจุบันมีเครื่องฟอกอากาศวางขายมากมาย คณจึงสามารถเลือกซื้อมาใช้ได้ตามคุณสมบัติ ขนาด และระดับราคาที่ต้องการ โดยปกติแล้วคุณจะต้องเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศทุก 6-12 เดือน แล้วแต่ยี่ห้อและรุ่นของเครื่องฟอกอากาศ แต่หากอากาศแย่ มลพิษเยอะมาก คุณก็อาจต้องเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศเร็วกว่านั้น อย่าฝืนใช้ต่อ เครื่องจะได้กำจัดเชื้อโรคและมลพิษได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หรือหากคุณยังไม่พร้อมซื้อเครื่องฟอกอากาศ การสามารถหาต้นไม้ที่มีคุณสมบัติช่วยฟอกอากาศมาปลูกได้ หากอากาศดี ควรออกไปสูดอากาศบ้าง วิธีล้างปอด วิธีหนึ่งที่คุณสามารถทำได้ง่าย ๆ ก็คือ การออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์นอกบ้านบ้าง หากเป็นช่วงที่อากาศดี เพราะอากาศบริสุทธิ์จะช่วยขยายเนื้อเยื่อปอด และทำให้ปอดทำงานได้อย่างเป็นปกติ แต่ก่อนจะออกไปเดินเล่น […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

สาเหตุที่อาจทำให้ กระแอม บ่อยๆ

อาการ กระแอม เป็นอาการที่ร่างกายกำลังพยายามจัดการกับอาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นในลำคอ โดยพยายามกำจัดเสมหะ หรือสารคัดหลั่งที่อยู่ในลำคอ ซึ่งสาเหตุของการกระแอมเป็นไปได้หลายอย่าง เช่น รู้สึกคันคอ ความไม่สบายในลำคอ หรือบางคนอาจจะพยายามขับเสมหะออกมา การเรียนรู้เกี่ยวกับอาการกระแอมอาจช่วยให้สามารถรับมือกับอาการกระแอมได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุที่ทำให้ กระแอม บ่อย การกระแอมเรื้อรังนั้นไม่ใช่โรค แต่เป็นอาการที่เกิดมาจากสาเหตุของโรคอื่นๆ ดังนี้ กรดไหลย้อนทำให้ กระแอม ได้ คนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่ลำคอและกล่องเสียง (Laryngopharyngeal reflux หรือ LPR) มักจะมีปัญหาการกระแอมเรื้อรัง ซึ่งโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่ลำคอและกล่องสียงนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อ มีสิ่งแปลกปลอมจากกระเพาะอาหารขึ้นมาบริเวณลำคอ จนเกิดอาการระคายเคือง เมื่อมีอาการระคายเคืองที่ลำคอจึงทำให้กระแอมออกมา ซึ่งโรคกรดไหลย้อนชนิดนี้จะไม่มีอาการแสบร้อนกลางทรวงอกและท้อง หรืออาการอาหารไม่ย่อย เหมือนโรคกรดไหลย้อนชนิดอื่นๆ ซึ่งสามารถรับมือกับโรคนี้ด้วยวิธีง่ายๆ คือ นอนหมอนโดยให้หัวสูงในระดับ 30 องศาขึ้นไป หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน ไม่บริโภคอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารรสจัด อาหารมัน และอาหารที่เป็นกรด สารคัดหลั่งจากจมูกไหลลงคอ (Postnasal drainage) อาการสารคัดหลั่งไหลลงคอเป็น อาการที่ร่างกายมีการสร้างสารคัดหลั่งมามากเกินปกติจนทำให้ สารคัดหลั่งเหล่านี้ไหลเข้าไปในลำคอบริเวณหลังจมูก ซึ่งจะทำให้มีอาการกระแอมได้ นอกจากนี้ยังมีอาการต่างๆ เหล่านี้ด้วย ไอ แต่จะไอหนักขึ้นในเวลากลางคืน คลื่นไส้ เพราะสารคัดหลั่งไหลลงกระเพาะอาหาร เจ็บคอ และมีกลิ่นปาก สาเหตุโดยทั่วไปของอาการนี้เกิดจากอาการแพ้ แต่ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้อีกเช่น ไซนัส […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

อาการไอแห้ง ไร้เสมหะ เราสามารถรักษาได้อย่างไรกัน

ประเภทของอาการไอ มีอยู่ 3 ประเภทหลัก ๆ ที่ทั้งผู้ใหญ่และเด็กมักจะเป็นกันอยู่บ่อย ๆ ได้แก่ อาการไอแบบมีเสมหะ อาการไอที่มาพร้อมกับไข้หวัด และ อาการไอแห้ง ที่อาจทำให้คุณรู้สึกระคายเคืองคอ และทำให้ดำเนินกิจวัตรประจำวันได้อย่างไม่คล่องตัว แต่จะมีวิธีป้องกัน และรักษาอย่างไรนั้น Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมารู้จักกับอาการไอแห้งให้มากขึ้นในบทความนี้กันค่ะ อาการไอแห้ง คืออะไร อาการไอแห้ง (Dry Cough) คือ การไอที่เกิดจากสิ่งปนเปื้อนเล็ดลอดเข้าสู่ภายในช่องทางเดินหายใจ จนทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาตอบสนองออกมาในรูปแบบการไอฉับพลัน โดยไม่มีเสมหะ หรือเมือกใด ๆ ปะปน ซึ่งมีสาเหตุของอาการ ไอแห้ง ที่พบได้บ่อย มีดังนี้ ไอแห้ง จากโรคหอบหืด ผู้ป่วยโรคหอบหืดมักมีอาการ ไอแห้ง ในช่วงเวลากลางคืน และช่วงตื่นนอนในตอนเช้า เกิดจากการตีบของทางเดินหายใจที่ส่งไปยังปอด และมักมีการหายใจที่ถี่ขึ้น เจ็บหน้าอก และเสียงหายใจดังขณะนอนหลับ โรคพังผืดในปอดโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นภาวะเนื้อเยื่อในปอดเกิดหนาขึ้นทำให้หายใจลำบาก จนนำไปสู่อาการไอแห้ง สามารถสังเกตได้จากการที่คุณเริ่มหายใจถี่ รู้สึกร่างกายขาดน้ำ และมีอาการเหนื่อยเมื่อยล้าง่าย กรดไหลย้อน จากการศึกษาในปี 2015 พบผู้ที่เป็นกรดไหลย้อนมีอาการ ไอแห้ง และไอเรื้อรัง ถึง 40% จึงถูกสันนิฐานว่าสาเหตุที่ทำให้มีอาการไออยู่บ่อยครั้งอาจเป็นเพราะคุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารที่มีกรดไหลย้อนขึ้นกลับสู่หลอดอาหาร หรือท่ออาหารอีกครั้ง น้ำมูกไหลลงคอ เมื่อคุณเป็นหวัด หรือภูมิแพ้ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

ควันธูป ตัวการร้าย สร้างภัย มะเร็งปอด

ควันธูป เมื่อจุดแล้วย่อมก่อให้เกิดควันฝุ่นซึ่งมีขนาดเล็กมาก หากหายใจสูดดมเข้าไปบ่อยครั้งหรือเป็นเวลานานอาจเป็นอันตรายได้  โดยเฉพาะในผู้ที่ไม่มีการป้องกันใด ๆ อย่างการสวมหน้ากาก อาจกลายเป็นตัวการสำคัญที่ทำร้ายสุขภาพ หรือที่เลวร้ายกว่านั้น คืออาจทำให้กลายเป็นมะเร็งปอดได้ [embed-health-tool-bmi] อันตรายที่มาพร้อมกับ ควันธูป ควันธูปนั้นเมื่อจุดแล้ว จะทำให้เกิดควันฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า PM10  หากเราสูดดมเข้าไปเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของร่างกาย ไม่ต่างอะไรกับ ควัน ที่ได้จากการสูบบุหรี่หรือควันที่ได้จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงรถยนต์ ธูปนั้นทำขึ้นมาจากขี้เลื่อย กาว น้ำมันหอมระเหย ไม้หอม เปลือกไม้ และสารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม ที่ทำให้มีกลิ่นหอมเมื่อเราจุดไฟทำให้เกิดควัน โดยควันธูปเหล่านี้ หากสูดเข้าไปมาก ๆ เข้า อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ดังต่อไปนี้ โรคมะเร็งปอดจาก ควัน ภายใน ควันธูป นอกจากกลิ่นหอมแล้ว ยังจะพบสารพิษและสารระคายเคืองที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพเป็นจำนวนมากอีกด้วย มีงานวิจัยจากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เรื่อง “สารก่อมะเร็ง : ภัยเงียบที่มากับควันธูป” พบว่า ควันธูปนั้นจะมีสารก่อมะเร็งอยู่มากถึง 3 ชนิด ได้แก่ สารเบนซิน (Benzene) สารบิวทาไดอีน (Butadiene) สารเบนโซเอไพรีน (Benzopyrene) สารเหล่านี้เป็นสารเคมีที่ได้จากการเผาส่วนประกอบของธูป นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การใช้ธูปอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โดยโรคมะเร็งที่พบได้มากที่สุด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน