ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) เกิดขึ้นเมื่อระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของเนื้อเยื่อในร่างกายได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไอ ผิวหนังเปลี่ยนสี ระบบหายใจผิดปกติ เป็นต้น
คำจำกัดความ
ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) คืออะไร
ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) เกิดขึ้นเมื่อระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของเนื้อเยื่อในร่างกายได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการไอ ผิวหนังเปลี่ยนสี ระบบหายใจผิดปกติ เป็นต้น
ภาวะพร่องออกซิเจน พบได้บ่อยแค่ไหน
ภาวะพร่องออกซิเจนสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจและปอด โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง และโรคหลอดลมอักเสบ เป็นต้น
อาการ
อาการของภาวะพร่องออกซิเจน
ผู้ป่วยที่อยู่ภาวะพร่องออกซิเจน จะมีอาการดังต่อไปนี้
- ปวดศีรษะ
- หายใจถี่
- หัวใจเต้นเร็ว
- ไอ
- หายใจไม่ออก
- รู้สึกสับสน
- เหงื่อออก
ควรไปพบหมอเมื่อใด
หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของของภาวะพร่องออกซิเจน
โดยปกติปอดจะต้องสูดลมอากาศแลกเปลี่ยนออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อให้เพียงพอต่อการหายใจ มีการไหลเวียนเลือดไปยังปอดและนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
โดยภาวะพร่องออกซิเจนนั้นเกิดจากหลายสาเหตุและหลายปัจจัย ดังนี้
- โรคโลหิตจาง
- กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome หรือ ARDS)
- โรคหอบหืด
- ความบกพร่องของหัวใจแต่กำเนิด
- โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
- โรคถุงลมโป่งพอง
- โรคปอดอักเสบ
- อาการบวมน้ำในปอด
- เส้นเลือดอุดตันในปอด
- หยุดหายใจขณะหลับ
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยภาวะพร่องออกซิเจน
ในการวินิจฉัย แพทย์จะทำการตรวจร่างกายฟังเสียงหัวใจและปอดของผู้ป่วย เพื่อดูสัญญาณความผิดปกติ รวมถึงการวินิจฉัยอื่น ๆ เพื่อตรวจสอบระดับออกซิเจนในร่างกาย ดังนี้
- ตรวจวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse oximetry) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์หนีบที่ปลายนิ้วเพื่อดูปริมาณออกซิเจนในเลือด
- ทดสอบหลอดเลือดแดง (Arterial blood gas test) แพทย์จะนำตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยไปทดสอบเพื่อดูระดับออกซิเจนในเลือด
- ทดสอบการหายใจอื่น ๆ แพทย์อาจใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ตรวจสอบอาการผิดปกติของระบบหายใจ
การรักษาภาวะพร่องออกซิเจน
การรักษาภาวะพร่องออกซิเจนมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือดให้กับผู้ป่วย ในเบื้องต้นแพทย์อาจใช้รักษาภาวะขาดออกซิเจน โดยการให้ออกซิเจนผ่านทางเครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถสูดดมยาเข้าไปในปอดได้
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงแพทย์อาจบำบัดด้วยออกซิเจนผ่านท่อที่เรียกว่าแคนนูล่า (Cannula) เพื่อให้ระบบออกซิเจนในเลือดดีขึ้น
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาภาวะพร่องออกซิเจน
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาภาวะพร่องออกซิเจน มีดังนี้
- ฝึกสูดลมหายใจ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือการรับควันบุหรี่มือสอง
- ดื่มน้ำมาก ๆ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น โยคะ การเดิน
- หากคุณเป็นโรคหอบหืด โปรดหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นโรคหอบหืด และรับประทานยาที่แพทย์สั่งจ่ายอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญคุณควรพกพาผลิตภัณฑ์ยาสูดพ่นเพื่อป้องกันกรณีฉุกเฉินใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ