backup og meta

โรคปอดบวมจากการสำลัก มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง

โรคปอดบวมจากการสำลัก มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง

โรคปอดบวมจากการสำลัก เป็นหนึ่งในโรคปอดบวมที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ที่ทุกคนอาจยังไม่คุ้นเคยกันมากนัก ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำสัญญาณเตือนเบื้องต้น ที่คุณควรทราบมาฝากให้ได้ลองนำไปเช็กตนเองพร้อม ๆ กันค่ะ

โรคปอดบวมจากการสำลัก คืออะไร

โรคปอดบวมจากการสำลัก เป็นโรคปอดบวมอีกประเภทที่เกิดจากการติดเชื้อที่ปอด และทางเดินหายใจ โดยเกิดการสำลักขึ้นเมื่อคุณมีการรับประทานอาหาร หรือดื่มของเหลวเข้าไป แต่แทนที่อาหารเหล่านี้จะถูกลำเลียงเข้าสู่หลอดอาหารลงกระเพาะ กลับเข้าไปในช่องปอด หรือทางเดินหายใจแทน

ถึงจะดูเหมือนเป็นการสำลักอาหารธรรมดา แต่ขณะเดียวกันก็อาจมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้คุณเสียชีวิตได้ เนื่องจากการสะสมของแบคทีเรียในอาหารเป็นพาหะที่ส่งผลให้เกิดโรคปอดบวม หากไม่เข้าขอรับรักษาจากแพทย์ ก็สามารถทำให้คุณเผชิญกับอาการที่แย่ลงเรื่อย ๆ

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็น โรคปอดบวมจากการสำลัก

ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดบวมจากการสำลักนั้น อาจมาจากปัจจัยการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ รวมไปถึงสภาวะสุขภาพอื่น ๆ ดังนี้

  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคสมองเสื่อม
  • ความผิดปกติในการกลืนอาหาร
  • โรคปอด
  • การรับรู้ สติปัญญาผิดปกติ
  • มีปัญหาเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต
  • โรคทางระบบประสาทบางชนิด
  • กรดไหลย้อน
  • ผู้ป่วยที่ผ่านการฉายรังสีบริเวณศีรษะ และคอ

สัญญาณเตือนของโรคปอดบวมจากการสำลัก

คุณควรมีการสังเกตอาการตนเองร่วมว่ากำลังเผชิญกับอาการ ดังต่อไปนี้ อยู่หรือไม่ เพื่อความปลอดภัย และเข้ารับการตรวจได้อย่างเท่าทัน

  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจลำบาก
  • ไข้ขึ้นสูง
  • เหงื่ออกมากจนเกินไป
  • สีผิวเปลี่ยนแปลงเป็นสีฟ้าซีด
  • ไอแบบมีเสมหะ
  • ลมหายใจมีกลิ่น

หากกรณีที่คุณมีไข้ พร้อมกับหายใจไม่ออก และมีอาการหนาวสั่นร่วม คุณควรรีบเข้าพบคุณหมอในทันที ไม่ควรรออาการให้หายไปเอง เพราะบางครั้งอาการเหล่านี้อาจทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนส่งผลอันตรายต่อปอดได้มากขึ้น

วิธีรักษา โรคปอดบวมจากการสำลัก

ในการรักษาโรคปอดบวมจากการสำลักอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่ละภาวะสุขภาพ และอาการที่เกิดขึ้นของแต่ละบุคคล หากมีอาการที่ไม่รุนแรงมากนัก แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะตามอาการ  พร้อมมีการทดสอบการกลืนอาหารว่ามีความเสี่ยงต่อการสำลักอีกหรือไม่ อีกทั้งแพทย์ยังอาจใช้การเอ็กซเรย์บริเวณหน้าอก การตรวจเม็ดเลือด การกล้องทางหลอดลม (Bronchoscopy) แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในอาการรุนแรง แพทย์อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือการให้ออกซิเจนเสริม เพื่อทำให้ระบบทางเดินหายใจคุณมีการทำงานตอบสนองได้ดี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Everything you need to know about aspiration pneumonia https://www.medicalnewstoday.com/articles/322091 . Accessed May 20, 2021

Aspiration pneumonia https://medlineplus.gov/ency/article/000121.htm . Accessed May 20, 2021

Mortality, morbidity, and disease severity of patients with aspiration pneumonia https://www.journalofhospitalmedicine.com/jhospmed/article/127449/patients-aspiration-pneumonia

Aspiration Pneumonia https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK470459/ . Accessed May 20, 2021

What is Aspiration Pneumonia? https://www.pennmedicine.org/for-patients-and-visitors/patient-information/conditions-treated-a-to-z/aspiration-pneumonia . Accessed May 20, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/05/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

อายุที่มากขึ้น ส่งผลต่อปอด อย่างไร

ไวรัสฮันตา เชื้อร้ายจากสัตว์ฟันแทะ ที่อาจส่งผลทำลายสุขภาพปอด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา