backup og meta

โรคปอดอักเสบ และ โรคหอบหืด มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

โรคปอดอักเสบ และ โรคหอบหืด มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

โรคปอดอักเสบ และ โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ที่อาจก่อให้เกิดอาการบางอย่างขึ้น เช่น อาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้  ไอ ทั้งนี้ทั้งสองโรคมีสาเหตุ และการรักษาที่แตกต่างกัน หากไม่เร่งรักษา หรือขอรับการตรวจอย่างเท่าทัน ก็อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้เมื่อมีแบคทีเรีย หรือไวรัสเกิดซ้ำภายในปอดอีกครั้ง

ทำความรู้จักกับ โรคปอดอักเสบ และ โรคหอบหืด

โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสที่อาจทำให้ปอด และถุงลมในปอดติดเชื้อเต็มไปด้วยหนอง ทำให้หายใจลำบาก และระดับออกซิเจนในเลือดลดลง โดยโรคนี้อาจมีความรุนแรงตั้งแต่ระดับเบา ปานกลาง และอันตรายถึงแก่ชีวิต ซึ่งจะส่งผลร้ายแรงที่สุดในเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่

โรคปอดอักเสบแบ่งออกเป็น 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทจะถูกจำแนกตามแหล่งที่ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อ ได้แก่

  • ปอดอักเสบจากแหล่งชุมชน เป็นโรคปอดอักเสบที่พบบ่อยที่สุด มีสาเหตุมาจาก แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส รวมถึงโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดในปัจจุบัน
  • ปอดอักเสบจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยอาจเป็นโรคปอดอักเสบระหว่างการรักษาตัวที่โรงพยาบาล เนื่องจากแบคทีเรียบางชนิดที่ผู้ป่วยได้รับอาจมีปฏิกิริยาการดื้อยา
  • ปอดอักเสบจากสถาน หรือหน่วยงานด้านสุขภาพ อาจมีความคล้ายคลึงกับปอดอักเสบจากโรงพยาบาล แต่ประเภทนี้จะรวมไปถึงแหล่งสถานที่ที่รับดูแล และรักษาสุขภาพด้านอื่น ๆ อย่าง คลินิก ศูนย์ล้างไต เป็นต้น
  • ปอดอักเสบการจากสำลัก อาจเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ป่วยมีการสำลักอาหารขณะรับประทานอาหาร และเครื่องดื่ม จนสารคัดหลั่ง หรือของเหลวเข้าสู่ปอด ซึ่งส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้

โรคหอบหืด (Asthma) เกิดจากสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจไม่ว่าจะเป็น ไรฝุ่น ขนสัตว์ มลพิษทางอากาศ สารเคมี เป็นต้น จนส่งผลให้เกิดภูมิแพ้ และทางเดินหายใจอักเสบ จากสารคัดหลั่ง หรือน้ำมูกอุดตันในหลอดลม เพราะเมื่อน้ำมูกอุดตันจะทำให้อากาศไหลเวียนผ่านได้ยาก เกิดอาการหายใจลำบาก หากไม่มีการรักษาอย่างเหมาะสม หรือปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ออกซิเจนในเลือดลดน้อยลง จนหมดสติได้

ความเชื่อมโยงของโรคปอดอักเสบ และ โรคหอบหืด

โรคหอบหืดอาจไม่ได้ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบโดยตรง แต่ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคปอดอักเสบ เนื่องจากปอด และเนื้อเยื่อในปอดอ่อนแอ ถูกทำลาย หรือได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ผู้ที่เป็นหอบหืดอาจมีอาการและโรคแทรกซ้อนเมื่อเป็นหวัด โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC) ระบุว่าผู้ใหญ่ และเด็กที่เป็นโรคหอบหืด และเป็นหวัดร่วมด้วย มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคปอดอักเสบได้มากกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคหอบหืด

การป้องกันโรคปอดอักเสบ และโรคหอบหืด

วิธีลดความเสี่ยงในการเกิดโรคปอดอักเสบ และโรคหอบหืดที่อาจทำลายสุขภาพ อาจเริ่มจากวิธีดังต่อไปนี้

  • ฉีดวัคซีนตามกำหนด โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC) แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม โดยเฉพาะผู้ใหญ่อายุ 65 ปีขึ้นไป
  • รักษาสุขอนามัย เช่น ล้างมือด้วยสบู่บ่อย ๆ เว้นระยะห่างกับผู้ป่วย ทำความสะอาดวัตถุโดยรอบโดยเฉพาะกับสิ่งที่สัมผัสบ่อย
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • อยู่ในห่างจากสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดภูมิแพ้

หากคุณหมอกำหนดยาที่ช่วยบรรเทาอาการโรคปอดอักเสบ และโรคหอบหืด ไม่ว่าจะในรูปแบบการรับประทาน หรือแบบพ่น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อลดอาการรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/09/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

ประเภทของหอบหืด กับวิธีการป้องกัน และรักษาเบื้องต้น ที่คุณควรรู้

สัญญาณเตือน หอบหืดกำเริบ รู้ทันก่อน ช่วยลดความเสี่ยง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 01/09/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา