โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา (Granuloma Pneumonia) เป็นโรคปอดที่อาจพบเจอได้ยาก เนื่องจากบางบุคคลมักไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ เผยออกมา นับว่าเป็นโรคอีกหนึ่งโรคที่เราทุกคนควรเฝ้าระวัง ด้วยการทำความรู้จักกับ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา เอาไว้เบื้องต้น ที่ Hello คุณหมอ นำมาฝากทุกคนในวันนี้
คำจำกัดความ
โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา (Granuloma Pneumonia) คืออะไร
โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา คือ โรคที่อาจสืบทอดมาจากระบบภูมิคุ้มกันที่มีลักษณะผิดปกติจับตัวเป็นกลุ่มก้อนเซลล์ ส่วนใหญ่มักพบอยู่ภายในปอด ถึงแม้จะเป็นกลุ่มเซลล์ที่จับตัวเป็นก้อน แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปเพราะจะไม่สามารถพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งอย่างแน่นอน
โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา สามารถพบบ่อยได้เพียงใด
โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา มักพบได้บ่อยตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก แต่บางครั้งก็อาจวินิจฉัยเจอได้ช่วงระหว่างการเจริญเติบโต
อาการ
อาการ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา
ผู้ป่วยบางคนนั้นอาจไม่เผยอาการใด ๆ ของ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา นอกเสียจากว่า ได้ตรวจพบเจอระหว่างการตรวจสุขภาพประจำปี แต่ถึงอย่างไรก็คงยังมีผู้ป่วยบางกรณีที่เผชิญกับอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ไข้ขึ้น
- น้ำมูกไหลต่อเนื่อง
- รู้สึกผิวหนังมีการระคายเคือง ผื่นขึ้น บวมและแดง
- ปากบวม
- อาเจียน
- ท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด
- ปวดท้อง
- ต่อมน้ำเหลืองบวม
- อาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะตอนที่คุณกำลังหายใจเข้า หายใจออก
สาเหตุ
สาเหตุ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา
สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม โดยปกติแล้ว ยีนเหล่านี้จะช่วยผลิตโปรตีนที่สร้างเอนไซม์ให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ คอยปกป้องเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย แต่เมื่อใดที่ยีนเกิดกลายพันธุ์ผิดปกติต่างออกไป โปรตีนจะไม่ถูกผลิตขึ้น และไม่สามารถส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้ดีได้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อสู่ปอด พัฒนาเป็นกลุ่มก้อนที่ทำลายปอดนั่นเอง
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยง โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเผชิญกับ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ได้ง่ายขึ้นกว่าคนทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรังต่าง ๆ ดังนี้
- โรคซาร์คอยโดซิส (Sarcoidosis)
- วัณโรค
- ฮิสโตพลาสโมซิส (Histoplasmosis)
- ข้ออักเสบรูมาตอยด์
การวินิจฉัยและการรักษา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา
ก่อนรับการวินิจฉัยแพทย์อาจสอบถามถึงประวัติครอบครัว และตัวคุณเอง เกี่ยวกับด้านสุขภาพ และจึงเริ่มทำการตรวจร่างกายเพิ่มเติมด้วยเทคนิค ดังต่อไปนี้
- การทดสอบเม็ดเลือดขาว เพื่อดูการทำงานของเม็ดเลือดขาวว่าผิดปกติใด ๆ หรือไม่
- การทดสบทางพันธุกรรม เป็นการทดสอบที่อาจช่วยยืนยันได้ว่า ยีนที่กลายพันธุ์นั้นอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา
- การตรวจด้วยเทคนิคซีที แสกน (CT Scan) เพื่อเช็กโครงสร้างภายในของบอก ได้อย่างละเอียด
การรักษา โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา
แพทย์อาจเริ่มควบคุมการติดเชื้อด้วยยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง และติดตามอาการของคุณ โดยยาที่แพทย์นิยมใช้ในการรักษาโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ได้แก่ ไทรเมโทพริม (Trimethoprim) ซัลฟาเมทอกซาโซล (Sulfamethoxazole) และ ไอทราโคนาโซล (Itraconazole) หากอาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์จำเป็นต้องการวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด จากผู้ที่เต็มใจบริจาค
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษาโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา
ระหว่างรับการรักษา คุณควรปรับพฤติกรรมบางอย่างร่วมด้วย เพื่อให้อาการของ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา บรรเทาลง ได้แก่ การรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ จนกว่าแพทย์จะสั่งให้หยุดยา ไม่ควรเพิ่มปริมาณของยาเอง พร้อมทั้งหมั่นเข้าตรวจสุขภาพตามการนัดหมายของแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อในปอด