backup og meta

ปัจจัยเสี่ยงของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ที่ควรรู้ เพื่อรับมือในการป้องกัน

ปัจจัยเสี่ยงของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ที่ควรรู้ เพื่อรับมือในการป้องกัน

โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด เป็นโรคที่ทำให้เกิดการอุดตันภายในหลอดเลือด ส่งผลให้ออกซิเจนไม่สามารถไปถึงภายในปอด ทั้งยังทำให้การไหลเวียนของเลือดเกิดความผิดปกติ ดังนั้น หากคุณได้ทราบถึง ปัจจัยเสี่ยงของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ซึ่งโรคนี้อาจจะมีผลอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต คุณจะได้สังเกตตัวเองและพยายามหลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยบทความนี้ของ Hello คุณหมอ ได้นำปัจจัยเสี่ยงของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดมาฝากกัน

สาเหตุของการเกิด โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด อาจเป็นผลมาจากสิ่งแปลกปลอมที่มีอนุภาคขนาดเล็กเข้าสู่กระแสเลือด รวมถึงผู้ป่วยที่มีการนอนพักฟื้นเป็นเวลานานหลังการผ่าตัด เพราะการที่คุณไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ อาจทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงจนเลือดสะสมก่อให้เกิดปฏิกิริยาทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อน หรือลิ่มเลือดขึ้น ส่วนใหญ่ลิ่มเลือดที่พบได้มากจะเริ่มจากบริเวณหลอดเลือดดำส่วนแขนและขา แล้วค่อยเคลื่อนที่เข้าสู่ปอด เรียกได้ว่า เป็นโรคที่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว เพราะลิ่มเลือดจะขวางการไหลเวียนของเลือดไม่สามารถนำส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และปอดได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด มีอะไรบ้าง

บุคคลที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น อาจมีแนวโน้มที่จะเป็น โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ได้ โดยเฉพาะช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป อีกทั้งผู้ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ก็สามารถเสี่ยงต่อการเป็นลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดได้เช่นเดียวกัน

อีกทั้งหากบุคคลใดที่กำลังรับประทานยาคุมกำเนิด รักษาโรคหัวใจด้วยการใส่สายสวน และเครื่องตุ้นหัวใจ พร้อมกับกำลังตั้งครรภ์ในช่วง 6 สัปดาห์ เป็นไปได้ว่าอาจส่งผลให้หลอดเลือดแดงมีขนาดที่แคบลง หรือหลอดเลือดได้รับความเสียหาย ที่เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดขึ้น

แนวทางการป้องกันโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกัน โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ควรเริ่มจากการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ดังนี้ เพื่อลดโอกาสที่จะทำให้ลิ่มเลือดก่อตัวขึ้น

  • การออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวเล็กน้อย อย่างที่ทราบกันดีเมื่อคุณอยู่กับที่เป็นเวลานานจนเกินไป อาจทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี จนก่อตัวเป็นลิ่มเลือดขึ้นนั่นเอง
  • รักษาความสมดุลของน้ำหนัก
  • หากคุณจำเป็นต้องมีการใช้ยาคุมกำเนิด หรือต้องรับการรักษาที่มีความเสี่ยงอย่างการผ่าตัด คุณอาจจำเป็นต้องพิจารณา และร่วมวางแผนการรักษากับแพทย์เสียก่อน
  • หยุดสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง อาจต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดร่วมด้วย โดยจะเลือกเป็นยายี่ห้อหรือชนิดไหนนั้น ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน เพื่อความปลอดภัย และจะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What’s to know about pulmonary embolism?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/153796. Accessed July 21, 2021

Pulmonary embolism. https://www.nhs.uk/conditions/pulmonary-embolism/. Accessed July 21, 2021

What Is a Pulmonary Embolism?. https://www.webmd.com/lung/what-is-a-pulmonary-embolism. Accessed July 21, 2021

Pulmonary Embolism. https://medlineplus.gov/pulmonaryembolism.html. Accessed July 21, 2021

Pulmonary Embolism. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pulmonary-embolism/symptoms-causes/syc-20354647. Accessed July 21, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/07/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เครื่องเอคโม เครื่องมือช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด

โรคปอดบวมจากการสำลัก มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 22/07/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา