backup og meta

สมุนไพรแก้หวัด ที่หาได้ง่าย ๆ ใกล้ตัว

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/02/2023

    สมุนไพรแก้หวัด ที่หาได้ง่าย ๆ ใกล้ตัว

    ไข้หวัด เป็นโรคทั่วไปที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำปฏิกิริยากับเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่เข้ามาในร่างกาย จึงส่งผลให้มีไข้ หนาวสั่น คัดจมูก ไอ และปวดกล้ามเนื้อ วิธีรักษาคือการดูแลตนเอง ดื่มน้ำให้มาก ๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนั้น ยังมีการใช้ สมุนไพรแก้หวัด ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการได้ อย่างไรก็ดี ควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้สมุนไพรแก้หวัด เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

    สมุนไพรแก้หวัด มีอะไรบ้าง

    สมุนไพรแก้หวัด ที่อาจช่วยบรรเทาอาการ และหาได้ใกล้ตัว มีดังต่อไปนี้

    1. ฟ้าทะลายโจร

    ฟ้าทะลายโจร เป็นสมุนไพรที่อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นด่านแรกในร่างกายที่ต้องเผชิญกับไวรัส หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ ฟ้าทะลายโจรยังอาจช่วยกระตุ้นให้ม้ามผลิตลิมโฟไซต์ หรือเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทสำคัญในการต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหวัด รวมทั้งอาจช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

    งานวิจัยชิ้นหนึ่ง  ศึกษาเกี่ยวกับ การใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อบรรเทาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจในเด็กและผู้ใหญ่ เผยแพร่ในวารสาร PLoS One พ.ศ. 2560 ระบุว่า ฟ้ะลายโจร มีประโยชน์และปลอดภัยต่อการใช้บรรเทาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยเป็นสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพและมีส่วนช่วยให้ใช้ยาฆ่าเชื้อเพื่อบรรเทาอาการติดเชื้อในจำนวนที่ลดลง

    อย่างไรก็ตาม เด็ก สตรีมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง ผู้มีภาวะเลือดออกผิดปกติ และผู้ที่วางแผนเข้ารับการผ่าตัด ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจรในระยะยาว และควรระวังผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล มีผื่น อาเจียน ท้องเสีย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ควรเข้ารับคำปรึกษาจากคุณหมอเกี่ยวกับปริมาณ และวิธีการรับประทานฟ้าทะลายโจรที่เหมาะสม

    1. สะระแหน่

    สะระแหน่ เป็นพืชสมุนไพรที่มีสารประกอบอย่างเมนทอล (Menthol) ที่อาจมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย บรรเทาอาการคัดจมูก ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารเมนทอลอาจนำมาใช้บำรุงสุขภาพได้หลากหลายรูปแบบ เช่น อบแห้งทำเป็นชาสำหรับดื่ม สกัดเป็นผงอัดเม็ดในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรืออยู่ในยาที่ช่วยบรรเทาอาการเยื่อจมูกบวม ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น

    อย่างไรก็ตาม สะระแหน่อาจส่งผลข้างเคียง และอาจทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่น ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาลดความดันโลหิต รวมถึงอาจเกิดอันตรายกับผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อน โรคเบาหวาน จนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

    1. กระเทียม

    สารสกัดจากกระเทียมที่ชื่อว่า อัลลิซิน (Allicin) มีคุณสมบัติที่อาจช่วยบรรเทาอาการรุนแรงจากหวัด ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อราหลายชนิดได้ การรับประทานกระเทียมอาจปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ในบางราย เช่น ปวดท้อง อาการแพ้

    4. หอมแดง

    หอมแดงอุดมไปด้วยวิตามินซีซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ หัวหอมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยบรรเทาอาการหวัดรุนแรง และเยื่อจมูกบวมได้

    อย่างไรก็ตาม ควรรับประทานหอมแดงอย่างพอเหมาะ โดยเฉพาะในสตรีมีครรภ์ ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ผู้ที่มีภาวะเลือดออกมากกว่าปกติ ผู้ที่อาหารไม่ย่อย หรือเป็นโรคเบาหวาน

    1. โสม

    โสมมีสารจินเซนโนไซด์ (Ginsenosides) ที่อาจช่วยลดการอักเสบ ส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และอาจช่วยปกป้องเนื้อเยื่อปอดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ นอกจากนี้ โสมอาจส่งผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ มีปัญหาด้านการนอนหลับ ปัญหาทางเดินอาหาร ท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว หรือส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด

    อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับประทานโสมเพื่อรักษาไข้หวัด

    เคล็ดลับบรรเทาอาการไข้หวัด

    นอกจากการรับประทาน สมุนไพรแก้หวัด แล้ว วิธีบรรเทาอาการไข้หวัดเบื้องต้นด้วยตัวเอง มีดังต่อไปนี้

  • ดื่มน้ำให้มาก ๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • เปิดเครื่องทำความชื้น
  • ประคบบริเวณจมูกด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น
  • ล้างจมูก สั่งน้ำมูก เพื่อกำจัดเชื้อโรค
  • กลั้วปากด้วยน้ำเกลือ เพื่อลดอาการระคายเคืองในลำคอ
  • รับประทานอาหารที่อาจช่วยต้านการติดเชื้อ เช่น วิตามินซี ผัก ผลไม้
  • ปกติเมื่อเป็นไข้หวัดอาจเป็นนาน 2 สัปดาห์ และมักมีอาการรุนแรง 2-3 วัน หากมีอาการยาวนานกว่า 10 วัน โดยอาการไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำ และตรวจรักษาตามอาการอย่างเหมาะสม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 27/02/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา