มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในผู้หญิงทั่วโลก และสามารถเกิดได้กับผู้หญิงทุกเพศทุกวัย แต่การดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เช่น ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ ก็สามารถช่วยหาความเสี่ยงมะเร็งให้คุณผู้หญิงได้ แล้ววิธีลดความเสี่ยงและรับมือกับมะเร็งปากมดลูกจะมีอะไรอีก เราไปหาคำตอบกันเลย

เรื่องเด่นประจำหมวด

มะเร็งปากมดลูก

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก อาจเป็นอีกวิธีที่จะช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกในเบื้องต้นได้โดยการประเมินความเสี่ยงของแต่ละบุคคล เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคเรื้อรังที่อาจเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อเอชพีวี (HPV) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พันธุกรรม หรือความเสี่ยงในการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่จัด ดังนั้น เพื่อลดความกังวลและป้องกันความเสี่ยง ควรทำแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำเพื่อคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเอง [embed-health-tool-ovulation] ทำไมถึงควรใช้แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก อาจช่วยให้ผู้หญิงค้นหาและประเมินปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูกของตัวเองในเบื้องต้น เพื่อป้องกันหรือเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที ด้วยการตอบแบบประเมินที่ได้รับการยืนยันและตรวจสอบข้อมูลจากคุณหมอ โดยสามารถเข้าทำแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกได้ ฟรี! ทุกที่ทุกเวลาผ่านมือถือ แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ ได้ที่เว็บไซต์ Hello คุณหมอ เพื่อสุขภาพที่ดีและห่างไกลจากโรคมะเร็งปากมดลูก วิธีการใช้แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก สำหรับวิธีการใช้แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก เพื่อค้นหาและประเมินความเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูก อาจทำได้ดังนี้ เข้าไปที่เว็บไซต์ www.hellokhunmor.com จากนั้นเลือกเมนู เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ เลือกเมนู ดูเครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพทั้งหมด แบบประเมินจะอยู่ในหมวด ความเสี่ยงสุขภาพ จากนั้นเลือก แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก คลิกเมนู เริ่ม เพื่อทำแบบประเมิน โดยคำถามจะมีทั้งหมด 12 ข้อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก พร้อมทั้งข้อมูลความรู้และคำแนะนำสำหรับการป้องกันความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก เมื่อทำแบบประเมินเรียบร้อย ในตอนท้ายจะมีสรุปและคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้น โดยแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลความรู้และการป้องกันเบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถใช้แทนการวินิจฉัย การรักษาและให้คำแนะนำทางการแพทย์ได้ ดังนั้น หากมีข้อสงสัยหรือพบอาการผิดปกติควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาทันที การตรวจมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมักเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย อาจเสี่ยงต่อการมีคู่นอนหลายคนและมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวี การเปลี่ยนคู่นอน อาจเพิ่มโอกาสในการได้รับเชื้อเอชพีวี หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น […]

สำรวจ มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก

ฉายแสง มะเร็ง ปากมดลูก กับผลข้างเคียงและข้อควรระวังที่ควรรู้

วิธีการ ฉายแสง เพื่อรักษา มะเร็ง ปากมดลูก ส่วนใหญ่แล้วจะใช้รังสีเอกซ์ เพื่อทำลายหรือฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยคุณหมอจะฉายรังสีไปยังบริเวณที่เซลล์มะเร็งอยู่ หรือบริเวณที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังบริเวณนั้น ๆ การฉายแสง อาจเกิดผลกระทบต่อเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดีบริเวณรอบ ๆ บางส่วน และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น อ่อนเพลีย ขนร่วง ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphoedema) ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ [embed-health-tool-bmr] ฉายแสง มะเร็ง ปากมดลูก ทำอย่างไร วิธีการฉายแสงรักษามะเร็งปากมดลูก เป็นการใช้รังสีที่มีความเข้มข้นสูงฆ่าเซลล์มะเร็งหรือชะลอการเจริญเติบโต เมื่อเซลล์มะเร็งหยุดแบ่งตัวหรือตาย ร่างกายจึงจะกำจัดเซลล์ที่ถูกทำลายเหล่านั้นออกได้ การรักษา มะเร็งปากมดลูกด้วยการฉายแสงไม่ได้ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ในทันทีทันใด แต่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาหลายสัปดาห์ โดยก่อนทำการฉายแสงรักษามะเร็งปากมดลูก คุณหมอจะทำซีทีสแกน (CT Scan) หาตำแหน่งของมะเร็ง เพื่อที่จะได้ฉายแสงได้ตรงจุดและแม่นยำยิ่งขึ้น จากนั้นคุณหมอจะใช้เครื่องนำลำแสงยิงลำแสงไปยังบริเวณปากมดลูก ต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะอื่น ๆ ที่มีเซลล์มะเร็งอยู่ แล้วทำการฉายแสงเพื่อรักษาโรคมะเร็งในบริเวณนั้น การฉายแสงในแต่ละครั้งใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที แต่ผู้ป่วยอาจจะต้องฉายแสงหลายครั้งในระยะเวลา 4-6 สัปดาห์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งการรักษามะเร็งด้วยการฉายแสงเป็นการรักษาและช่วยบรรเทาอาการของโรคมะเร็ง เช่น อาการปวด อาการที่เกิดจากเนื้องอก ทั้งยังป้องกันไม่ให้มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำหรือเจริญเติบโตใหม่ได้อีกด้วย ผลข้างเคียงจากการ ฉายแสงรักษามะเร็งปากมดลูก ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งปากมดลูกด้วยการฉายแสง อาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปริมาณรังสี […]


มะเร็งปากมดลูก

เตรียมตัวก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก เตรียมอย่างไร และใครที่ควรตรวจ

สิ่งสำคัญที่ผู้หญิงหลายคนไม่ควรละเลยคือการ ตรวจมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบได้ในผู้หญิง ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus หรือ HPV) ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก ส่วนใหญ่แล้วโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก ๆ มักไม่แสดงอาการ ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ และ จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้พบมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ระยะแรก ๆ ซึ่งมีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้สูงและยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้อีกด้วย สำหรับการ เตรียมตัวก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก อาจทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการล้างช่องคลอดด้วยของเหลวต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อจะได้ไม่ส่งผลกระทบกับผลตรวจ ผู้ที่ควร ตรวจมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้มากในผู้หญิงที่มีอายุในช่วง 30-65 ปี ดังนั้น ผู้หญิงทุกคนควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก ๆ 3 ปี เริ่มตั้งแต่อายุ 21 ปี ไปจนถึงอายุ 29 สำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 30-65 ปี ควรปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางสำหรับการตรวจที่มีความเหมาะสม หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นโรคมะเร็งปากมดลูก คือ การติดเชื้อเอชพีวี ส่วนใหญ่ในช่วงระยะแรก ๆ ของการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีมักจะไม่มีอาการใด ๆ บางครั้งระบบภูมิคุ้มกันก็จะกำจัดเชื้อนั้นออกไปจากร่างกายได้เอง แต่มีเพียงบางส่วนที่เชื้อไวรัสเอชพีวีติดนานหรือเรื้อรังจนทำให้เกิดเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก […]


มะเร็งปากมดลูก

การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก มีกี่รูปแบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร

เนื้องอกมดลูก (Uterine Fibroids) เป็นการเจริญเติบโตของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกที่ผิดปกติ ขนาดของเนื้องอกในมดลูกมีตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าเมล็ดพืช จนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา ไปจนถึงขนาดใหญ่จนทำให้มดลูกขยายตัวได้ การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาเนื้องอกในมดลูกที่คุณหมออาจแนะนำ อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัดเนื้องอกมดลูกรวมไปถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น เนื้องอกมดลูก คืออะไร อันตรายแค่ไหน เนื้องอกมดลูก เป็นการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก ซึ่ง เนื้องอกมดลูก ส่วนใหญ่แล้วไม่เกี่ยวข้องกับ การเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งมดลูก เนื้องอกส่วนใหญ่แทบจะไม่พัฒนาไปเป็นมะเร็งมดลูกเลย แต่หากเนื้องอกมีขนาดใหญ่ จนขยายไปถึงซี่โครง อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ จริง ๆ แล้วหากขนาดของ เนื้องอกมดลูก มีขนาดเล็กมาก ๆ และไม่มีอาการใด ๆ ที่แสดงออกมา ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่สำหรับผู้ที่มีอาการหรือสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับ เนื้องอกมดลูก อาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด อาการเหล่านี้เป็นอาการที่พบได้บ่อย อาการปวดท้อง ท้องอืด ความดัน เจ็บหรือปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน เจ็บหรือปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อย เลือดออกผิดปกติ ปวดหลังหรือปวดขา ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ โดยที่อาการไม่หายไปเลย หรือมีอาการอยู่เป็นประจำ ควรเข้าปรึกษาแพทย์ ประเภทของ การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก ในช่วงชีวิตของผู้หญิงหลาย ๆ คน อาจจะมีเนื้องอกโดยที่ไม่รู้ตัวก็ได้ เพราะ เนื้องอกมดลูก ที่มีขนาดเล็กมักจะไม่มีอาการหรือสัญญาณใด […]


มะเร็งปากมดลูก

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก อย่างถูกวิธี ดีต่อผู้ป่วย

เมื่อคนใกล้ชิดตรวจพบ โรคมะเร็งปากมดลูก การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ตั้งแต่เรื่องพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาหารที่รับประทานในแต่ละวัน การนัดหมายกับคุณหมอ การเข้ารับการตรวจและการรักษา หรือแม้กระทั่งการดูแลในเรื่องอื่น ๆ รวมถึงสภาพจิตใจของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกด้วย เพราะการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก อย่างถูกต้อง ถือเป็นเรื่องที่ดี มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายและสภาพจิตใจได้ดีขึ้นนั่นเอง [embed-health-tool-ovulation] การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ควรทำอย่างไร การรักษา โรคมะเร็งปากมดลูก อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดผลข้างเคียง ที่ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงตามมาได้ แต่ผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ในแต่ละคนอาจจะมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและวิธีการรักษา ในช่วงที่ทำการรักษา แน่นอนว่าผู้ป่วยหลาย ๆ คนอาจจะรู้สึกกลัว กังวลใจ หรือเกิดความเครียด จนไม่สามารถจัดการเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ดีเท่าที่ควร การมีคนคอยดูแล จัดการเรื่องต่าง ๆ ให้ถือเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจ และใช้ชีวิตง่ายขึ้น ไม่ต้องคอยกังวลในส่วนนี้ ซึ่งผู้ดูแลจำเป็นที่จะต้องดูแลในหลาย ๆ เรื่อง ดังนี้ การรับประทานอาหาร และน้ำหนักของผู้ป่วย ผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ที่เข้าทำการรักษา ไม่ว่าจะด้วยวิธีการทำเคมีบำบัดหรือการรักษาด้วยการฉายรังสี เป็นรูปแบบการรักษาที่อาจทำให้ผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก บางรายเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น การรับรสชาติของอาหารเปลี่ยนไป น้ำหนักเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นผู้ดูแลจึงจำเป็นต้องเลือกอาหารเหมาะสำหรับผู้ป่วย เช่น อาหารที่รับประทานได้ง่าย และมีสารครบถ้วน […]


มะเร็งปากมดลูก

ไขข้อสงสัย ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีกี่วิธี อะไรบ้าง

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นเรื่องที่ผู้หญิงไม่ควรละเลย โรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV ซึ่งสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากการติดเชื้อ HPV แล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งปากมดลูก อีกด้วย หากตรวจพบหรือเข้าข่ายว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง จะได้ปรึกษาคุณหมอเพื่อวางแผนการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำความเข้าใจกับ มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดในเซลล์ปากมดลูก ซึ่งเป็นช่วงล่างของมดลูกที่เชื่อมต่อกับช่องคลอด โรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งสามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HPV ระบบภูมิคุ้มกันจะพยายามต่อสู้ไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าไปทำอันตรายต่อร่างกาย ร่างกายบางคนอาจต่อสู้กับเชื้อจนสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ ในขณะที่บางรายร่างกายอ่อนแอกว่าทำให้มีเชื้ออยู่ในร่างกายนานหลายปี นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งปากมดลูกได้ เช่น อายุ 50 ปีขึ้นไป การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ สูบบุหรี่ มีบุตรหลายคน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทั้งนี้ การ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นประจำ หรือรับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งปากมดลูก ได้ วิธีการ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก […]


มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร

ปากมดลูก เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างช่องคลอดและมดลูก เมื่อเซลล์ปากมดลูกผิดปกติ และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วก็อาจพัฒนากลายไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้หากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที อย่างไรก็ตาม การทราบข้อมูลเบื้องต้นว่า มะเร็งปากมดลูกเกิดจาก อะไร และอาจป้องกันได้ด้วยวิธีใดบ้าง อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้ มะเร็งปากมดลูกคืออะไร มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดบริเวณปากมดลูก ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อกลวงที่เชื่อมระหว่างช่วงล่างของมดลูกและช่องคลอด เซลล์มะเร็งปากมดลูกมักเกิดขึ้นที่บริเวณพื้นผิวของปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการใด ๆ ส่วนใหญ่อาการจะแสดงออกเมื่ออยู่ในระยะลุกลาม โดยอาการที่อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ เลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดออกระหว่างมีประจำเดือน เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะผิดปกติ เช่น กลิ่นหรือสีเปลี่ยนไป ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ หรือปัสสาวะกะปริดกะปรอย เจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ ปวดกระดูกเชิงกราน มะเร็งปากมดลูกเกิดจาก อะไร ส่วนใหญ่แล้ว มะเร็งปากมดลูกเกิดจาก การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus หรือ HPV) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับที่ทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ไวรัสชนิดนี้มีอยู่หลายร้อยสายพันธุ์ แต่สายพันธ์ที่มักทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมี 2 สายพันธุ์ คือ HPV-16 และ HPV-18 อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีเชื้อ HPV-16 และ HPV-18 ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นมะเร็งปากมดลูกเสมอไป เพราะร่างกายสามารถกำจัดเชื้อเหล่านี้ได้ภายใน 2 […]


มะเร็งปากมดลูก

สัญญาณมะเร็งปากมดลูก สาว ๆ อย่าลืมสังเกตตัวเองก่อนสาย

ผู้หญิงโดย 80% สามารถรับเชื้อ HPV ได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ซึ่งเชื้อ HPV หลายชนิดนั้น สามารถก่อให้เกิดการเป็นมะเร็งปากมดลูกที่เป็นหนึ่งในโรคร้ายแรง ดังนั้นผู้หญิงไม่ควรมองข้าม และควรตรวจสุขภาพกับแพทย์ พร้อมรับคำปรึกษา หากสังเกตเห็นถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นอย่างเป็นประจำ นั้นอาจเป็นเพราะร่างกายเริ่มส่งสัญญาณต่าง ๆ เป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าคุณอาจเป็นมะเร็งปากมดลูก โดยวันนี้ Hello คุณหมอ มาพร้อมกับบทความดี ๆ เกี่ยวกับ สัญญาณมะเร็งปากมดลูก มาให้ศึกษากันค่ะ สัญญาณมะเร็งปากมดลูก มีอะไรบ้าง กรดไหลย้อนหรืออาหารไม่ย่อย เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกไม่สบายตัว หรือมีอาการเจ็บปวดเพียงเล็กน้อย หลังจากรับประทานอาหารมื้อหลักหรืออาหารที่มีไขมันสูง แต่ถ้าคุณกำลังมีอาการกรดไหลย้อนหรืออาหารไม่ย่อยมากจนเกินไป ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ เลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการเลือดออกในก่อนมีประจำเดือนเป็นอาการปกติจากผลข้างเคียงของการใช้ยาคุมกำเนิด แต่อาการเลือดออกจากช่องคลอดก่อนมีประจำเดือน ภายหลังการมีเพศสัมพันธ์หรือในวัยหมดประจำเดือนเป็นหนึ่งในสัญญาณมะเร็งปากมดลูก หากเริ่มมีอาการควรเข้ารับการตรวจรักษากับแพทย์ ท้องอืดตลอดเวลา เรื่องปกติของผู้หญิงที่มักมีอาการท้องอืดที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว แต่ถ้าคุณมีอาการท้องอืดมากกว่าสองอาทิตย์ ควรรีบเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ เหงื่อออกมากในเวลากลางคืน อาการเหงื่อออกมากในเวลากลางคืนอาจเป็นผลมาจากการติดเชื้อ หรืออาการไม่พึงประสงค์ เนื่องจากการใช้ยาในปัจจุบัน ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมักมีอาการเหงื่อออกมาก แต่อาการเหงื่อออกมาในเวลากลางคืน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกมะเร็งปากมดลูก เต้านมมีการเปลี่ยนแปลงผิดปกติ การตรวจพบก้อนเนื้ออาจไม่ใช่เป็นสาเหตุเดียวที่คุณควรไปหาหมอ หากพบความผิดปกติของเต้านม เช่น ขนาด รูปร่าง การเปลี่ยนแปลงสีผิว ผื่นแดง อาการเจ็บปวดเต้านม การเปลี่ยนแปลงหัวนม หัวนมมีของเหลวไหลออกมาทั้งที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ คุณควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ เพื่อทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีเลือดในปัสสาวะ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเมื่อพบเลือดออกในปัสสาวะ โดยปกติแล้วนี่อาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากการเกิดโรคมะเร็งและสามารถรักษาให้หายได้อย่างง่ายได้ แต่ในบางครั้งนี่อาจเป็นสัญญาณการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก แพทย์จะสามารถให้คำปรึกษาและข้อมูลเพิ่มเติมให้กับคุณได้ มีเลือดในอุจจาระ สาเหตุหลักของอาการเลือดออกในอุจจาระคือการเกิดโรคริดสีดวงทวาร แต่อาการเลือดออกในอุจจาระอาจมีสาเหตุมาจากมะเร็ง […]


มะเร็งปากมดลูก

ข้อเท็จจริง ที่ควรรู้ เกี่ยวกับ โรคมะเร็งปากมดลูก

ในปัจจุบันผู้หญิงจำนวนมากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับ มะเร็งปากมดลูก เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นการเตรียมความพร้อม โดยหาข้อมูลความรู้ เกี่ยวกับ มะเร็งปากมดลูก ให้กับตัวเอง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หลาย ๆ ครั้งที่คุณอาจจะไปเจอข้อมูลเกี่ยวกับ มะเร็งปากมดลูก ที่มีอยู่อย่างมากมาย จนทำให้สับสนว่าข้อมูลเหล่านั้นน่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูล ข้อเท็จจริงเรื่อง โรคมะเร็งปากมดลูก ที่คุณไม่ควรพลาด ลองมาดูกันค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง ข้อเท็จจริงเรื่อง โรคมะเร็งปากมดลูก อ้างอิงจากรายงานของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา ในปี 2016 มีผู้ป่วยใหม่ที่เป็นโรค มะเร็งปากมดลูก จำนวน 12,990 ราย ผู้หญิงในจำนวนนั้น มีจำนวน 4,120 ราย เสียชีวิตจาก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับสองในโลก มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ในสหรัฐอเมริกา มีรายงานการลดลงของโรค มะเร็งปากมดลูก เนื่องจากมีการจัดทำกลยุทธ์ในการป้องกัน มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ โดยสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของเชื้อมะเร็งและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการตรวจเชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus การติดเชื้อ Human Papilloma […]


มะเร็งปากมดลูก

การรักษา มะเร็งปากมดลูกส่งผลต่อการตั้งครรภ์ อย่างไรบ้าง มาดูกันเลย

มะเร็งปากมดลูกและวิธีการรักษาอาจมีผลกระทบต่อความสามารถในการตั้งครรภ์ในบางกรณี แต่ก็ไม่เสมอไป โดยบทความนี้จะช่วยให้คุณเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการและการรักษาว่าโรค มะเร็งปากมดลูกส่งผลต่อการตั้งครรภ์ อย่างไรบ้าง การรักษา มะเร็งปากมดลูกส่งผลต่อการตั้งครรภ์ อย่างไร เมื่อคุณต้องเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก บางวิธีการรักษาอาจสร้างความเสียหายต่ออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ เช่น ท่อนำไข่ มดลูก และปากมดลูก นอกจากนี้ยังอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการผลิตฮอร์โมน ซึ่งนั้นรวมถึงรังไข่ด้วย เนื่องจากรังไข่เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญเป็นพื้นที่เก็บรวบรวมไข่ และผลิตไข่ อย่างไรก็ตามการรักษามะเร็งปากมดลูกนั้นอาจสร้างความเสียหายให้กับรังไข่ ซึ่งนำไปสู่การลดจำนวนไข่ที่เก็บสะสม รวมไปถึงไข่ที่มีความสมบูรณ์ ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากหรือประจำเดือนหมดก่อนวัยอันสมควร โดยหลักความเป็นจริงแล้วหากร่างกายของคุณไม่สามารถผลิตไข่ได้อีก นั้นหมายความว่าร่างกายของคุณไม่สามารถซ่อมแซมความเสียหายนี่ได้ และนี่คือสาเหตุที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ภายหลังเข้ารับการรักษามะเร็งปากมดลูก วิธีการรักษา มะเร็งปากมดลูก แบบไหนที่ทำให้ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ เคมีบำบัด มีรายงานว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษามีความเสี่ยงที่ไข่จะถูกทำลาย และไม่สามารถมีบุตรได้ อย่างไรก็ตามการรักษาอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ของคุณ ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับอายุ ชนิดของยา และปริมาณยาที่ได้รับ จากปัจจัยเหล่านี้ แพทย์จึงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าคุณจะสามารถมีบุตรได้หรือไม่ หากได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด สิ่งที่ควรทำคือปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับตัวยาทีคุณได้รับและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการตั้งครรภ์ภายหลังการรักษา คุณอาจหาข้อมูลต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองถึงผลกระทบของยาบางตัวที่มีความเสี่ยงสูงต่อการทำลายไข่ของคุณ โดยยาเหล่านั้น ได้แก่ busulfan carboplatin carmustine cisplatin และอื่น ๆ ในขณะที่ยาชนิดอื่น ๆ อาจมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ของคุณน้อยลง ได่แก่ 5-fluorouracil (5-FU) bleomycin cytarabine dactinomycin รังสีรักษา เป็นความจริงที่ว่าการบำบัดด้วยรังสีรักษาโดยใช้รังสีที่มีพลังงานสูงมีผลในการฆ่าเซลล์มะเร็งและมีผลต่อการทำลายรังไข่ของคุณ […]


มะเร็งปากมดลูก

ความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูก ที่สาว ๆ ควรรู้

จากการรายงานของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา ในปี 2016 มีผู้ป่วยใหม่ที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกจำนวน 12,990 ราย และผู้หญิงในจำนวน 4,120 ราย เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากสงสัย และอยากรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น ความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูก เป็นหนึ่งในเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจมะเร็งปากมดลูกมาฝากกันค่ะ แนวทางการตรวจหามะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเริ่ม ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้หญิงปฎิบัติตามแนวทางต่อไปนี้ เพื่อช่วยในการตรวจหามะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเริ่ม ข้อปฏิบัติต่อไปนี้สามารถใช้ในการตรววจหาชิ้นเนื้อที่อาจมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ซึ่งช่วยไม่ให้เกิดการก่อตัวของมะเร็ง ผู้หญิงทุกคนควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่อายุ 21 ปี ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 21 – 29 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุก ๆ 3 ปี โดยอาจมีการตรวจหาเชื้อ HPV ร่วมด้วย หากผลการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีความผิดปกติ ผู้หญิงที่ผ่านการผ่าตัดมดลูกอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจ เว้นแต่ว่าการผ่าตัดนั้นเป็นการผ่าเอาชิ้นเนื้อร้ายที่อาจก่อมะเร็งออกไป รวมถึงผู้ที่รับการผ่าตัดมดลูก โดยไม่ได้นำปากมดลูกออกไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรอง เมื่ออายุ 30 ปี ขึ้นไปควรรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกับการตรวจหาเชื้อ HPV เป็นประจำทุก ๆ 5 ปี เรียกการตรวจนี้ว่าการตรวจร่วม ซึ่งควรรับการตรวจไปจนถึงอายุ 65 ปี ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ซึ่งเข้ารับการตรวจเป็นประจำในช่วง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน