backup og meta

ตั้งครรภ์ หลังเป็นมะเร็งเต้านม เป็นไปได้และปลอดภัยหรือไม่

ตั้งครรภ์ หลังเป็นมะเร็งเต้านม เป็นไปได้และปลอดภัยหรือไม่

ผู้คนทุกวัยสามารถป็น มะเร็งเต้านม ได้ ซึ่งมันก่อให้เกิดความเจ็บปวดทั้งทางกาย และสร้างความกดดันทางจิตใจ มีผู้ป่วยหลายคนที่เกิดคำถามขึ้นว่า ตั้งครรภ์ หลังเป็นมะเร็งเต้านม จะเป็นไปได้และปลอดภัยหรือไม่? ทาง Hello คุณหมอได้หาข้อมูลมาตอบคำถามนี้พร้อมทั้งยังมีข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้มาให้อ่านกัน

[embed-health-tool-due-date]

ตั้งครรภ์ หลังเป็นมะเร็งเต้านม ได้หรือไม่

การรักษามะเร็งแต่ละประเภท อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการมีบุตรของแต่ละคน เช่น การให้ยาเคมีบำบัด อาจส่งผลให้ผู้หญิงเป็นหมัน เพราะผลเสียที่เกิดขึ้นกับรังไข่ระหว่างการรักษา

โชคดีที่หลายคนสามารถคลอดบุตรได้หลังจากเข้ารับการรักษา เราแนะนำให้คุณแจ้งแผนการที่จะมีบุตรให้แพทย์ทราบ ก่อนจะเริ่มการรักษามะเร็งเต้านม

ความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นหรือไม่จากการตั้งครรภ์

เราทุกคนรู้ว่า มะเร็งเต้านมสัมพันธ์กับฮอร์โมนเอสโตรเจน นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมผู้คนถึงเชื่อว่า อาจจะกลับมาเป็น มะเร็งเต้านม อีกในช่วงตั้งครรภ์ เพราะร่างกายผลิตฮอร์โมนมากในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า การตั้งครรภ์ไม่ได้เพิ่มโอกาสที่จะกลับไปเป็นมะเร็งเต้านมอีกครั้ง

เช่นเดียวกัน การให้นมบุตรจะไม่เพิ่มโอกาสการกลับไปเป็น มะเร็งเต้านม อีก แท้จริงแล้ว งานวิจัยบางงานเสนอว่า ผู้ที่ให้นมบุตรอาจมีความเสี่ยงต่ำกว่า ที่จะกลับไปเป็นมะเร็งอีกครั้ง

ตั้งครรภ์หลังเข้ารับการรักษา มะเร็งเต้านม ได้เมื่อไหร่

ไม่ได้มีการระบุเวลาที่แน่นอน แต่แพทย์จะแนะนำให้คนไข้ที่ป่วย มะเร็งเต้านม ควรรออย่างน้อย 2 ปี หลังการรักษาเสร็จสิ้น ก่อนที่จะเริ่มตั้งครรภ์ ระลึกไว้เสมอว่า สถานการณ์ของทุกคนล้วนต่างกัน และไม่ได้มีระยะเวลาแนะนำที่ได้รับการยืนยันโดยการทดลองทางคลินิก แผนที่คุณจะตั้งครรภ์ควรขึ้นอยู่กับอายุ ประเภทของมะเร็ง รวมถึงความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นมะเร็งอีก

แม่เป็นมะเร็ง ลูกมีความเสี่ยงหรือไม่

ไม่ได้มีหลักฐานแน่ชัดว่า การป่วยเป็น มะเร็งเต้านม มาก่อนจะส่งผลโดยตรงกับทารกในครรภ์ นอกจากนั้น นักวิจัยยังไม่พบอัตราความพิการแต่กำเนิด หรือปัญหาสุขภาพในระยะยาวที่เพิ่มขึ้นของเด็ก ที่มีแม่เคยเป็น มะเร็งเต้านม แต่อย่างใด

แต่ระหว่างที่ตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่ต้องทำการรักษามะเร็งเต้านม ด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด การรักษาด้วยฮอร์โมน หรือการรักษามะเร็งเฉพาะจุด สามารถส่งผลต่อทารกในครรภ์ ดังนั้น ก่อนที่การรักษาจะเสร็จสิ้น อย่าตั้งครรภ์ คุณยังไม่ควรที่จะหยุดการรักษาก่อนกำหนด เพื่อที่จะตั้งครรภ์อีกด้วย แต่การหยุดการรักษาก่อนกำหนด จะเพิ่มความเสี่ยงที่มะเร็งจะเติบโตได้รวดเร็วขึ้น หรือกลับมาเป็นมะเร็งได้อีกครั้ง

การให้นมลูกปลอดภัยหรือไม่ หลังรับการรักษามะเร็งเต้านม

หลังจากการรักษาทั้งหมดเสร็จสิ้น คุณยังสามารถให้นมบุตรได้ แต่การศัลยกรรมหน้าอก หรือการฉายรังสี จะสร้างปัญหาให้คุณ หากเต้านมของคุณผ่านกระบวนการเหล่านี้ การรักษามะเร็งเต้านมอาจทำให้คุณผลิตน้ำนมได้น้อยลง ในขณะที่การศัลยกรรมตกแต่งจะทำให้คุณเจ็บปวดเมื่อทารกดึงหน้าอกของคุณ

ในทางกลับกัน หากคุณยังรับประทานยาอยู่ ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแผนการให้นมบุตร เพราะมียาหลายชนิดสามารถซึมเข้าไปในน้ำนม และอาจส่งผลต่อเด็กได้ ในระหว่างการให้นมบุตรได้ คุณแม่จึงควรระมัดระวังและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pregnancy After Breast Cancer. https://www.cancer.org/cancer/breast-cancer/living-as-a-breast-cancer-survivor/pregnancy-after-breast-cancer.html. Accessed July 08, 2017

Pregnancy After Breast Cancer Does Not Increase Chance of Recurrence. https://www.asco.org/about-asco/press-center/news-releases/pregnancy-after-breast-cancer-does-not-increase-chance. Accessed July 08, 2017

Planning pregnancy after breast cancer treatment. https://breastcancernow.org/information-support/facing-breast-cancer/breast-cancer-in-younger-women/fertility-pregnancy-breast-cancer-treatment/planning-pregnancy-after-breast-cancer-treatment. Accessed July 08, 2017

Pregnancy After Breast Cancer. https://www.cancer.org/cancer/breast-cancer/living-as-a-breast-cancer-survivor/pregnancy-after-breast-cancer.html. Accessed June 10, 2021

Pregnancy After Treatment for Early Stage Breast Cancer. https://www.mskcc.org/cancer-care/patient-education/pregnancy-after-treatment-early-stage-breast. Accessed June 10, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/10/2022

เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

มาทำความเข้าใจ ระยะมะเร็งเต้านม ที่ทุกคนควรรู้

ประเภทของมะเร็งเต้านม และการตรวจวินิจฉัย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 31/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา