backup og meta

มาทำความเข้าใจ ระยะมะเร็งเต้านม ที่ทุกคนควรรู้

มาทำความเข้าใจ ระยะมะเร็งเต้านม ที่ทุกคนควรรู้

มะเร็งเต้านม หนึ่งในโรคร้ายที่พบได้บ่อยในผู้หญิงไทย โดยเกิดจากเซลล์ในเต้านมที่ผิดปกติ  ซึ่งสามารถแพร่กระจายและลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ โดยมีการแบ่ง ระยะมะเร็งเต้านม อย่างเป็นระบบ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษา 

[embed-health-tool-bmi]

ระยะมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมสามารถแบ่งระยะออกมาได้ 5 ระยะ โดยระยะที่ 1 2 และ 3 แบ่งออกเป็นประเภทย่อย โดยสามารถแบ่งออกเป็นระยะได้ดังต่อไปนี้ 

  • ระยะที่ 0 มะเร็งเต้านมที่ไม่ลุกลาม เช่น (Ductal Carcinoma In Situ: DCIS) ในระยะ 0 ไม่มีหลักฐานว่าเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายออกจากเต้านมไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง
  • ระยะที่ 1 มะเร็งเต้านมระยะเริ่มลุกลาม โดยอาจแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อเต้านมที่ปกติ 
    • ระยะ 1A โดยเนื้องอกมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่แพร่กระจายออกจากเต้านม รวมถึงต่อมน้ำเหลือง
    • ระยะ 1B อาจไม่พบก้อนเนื้องอก หรืออาจมีก้อนเนื้องอกที่ขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร  และพบเซลล์มะเร็งขนาดระหว่าง 0.2 ถึง 2 มิลลิเมตร บริเวณต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ 
  • ระยะที่ 2 มะเร็งได้เติบโต และแพร่กระจาย
    • ระยะ 2A 
      • เนื้องอกบริเวณเต้านมยังเล็กมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร ซึ่งอาจมีขนาดเล็กกว่านั้น หรือไม่มีก็ได้ แต่อาจพบเซลล์มะเร็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 มิลลิเมตร ในต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ประมาณ 1 ถึง 3 ต่อม 
      • พบเนื้องอกขนาดประมาณ 2 ถึง 5 เซนติเมตร และไม่พบเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลือง
    • ระยะ 2B 
      • พบเนื้องอกบริเวณเต้านมมีขนาด 2 ถึง 5 เซนติเมตร และเซลล์มะเร็งขนาด 0.2 ถึง 2 มิลลิเมตร ในต่อมน้ำเหลือง
      • พบเนื้องอกขนาด 2 ถึง 5 เซนติเมตร รวมถึงอาจพบเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ 1 ถึง 3 ต่อม และต่อมน้ำเหลืองใกล้กระดูกที่หน้าอก 
      • พบเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร แต่ไม่พบเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะที่ 3 มะเร็งยังไม่แพร่กระจายไปยังกระดูกหรืออวัยวะอื่น ๆ แต่ก็ลุกลามและยากที่จะยับยั้ง 
    • ระยะ 3A 
      • สามารถพบเนื้องอกบริเวณเต้าได้ทุกขนาด หรืออาจไม่พบ และพบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ 4 ถึง 9 ต่อม รวมถึงบริเวณต่อมน้ำเหลืองใกล้กระดูกหน้าอก
      • พบเนื้องอกขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และเซลล์มะเร็งขนาด 0.2 ถึง 2 มิลลิเมตรในต่อมน้ำเหลือง
      • พบเนื้องอกขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ 1 ถึง 3 ต่อม รวมถึงบริเวณต่อมน้ำเหลืองใกล้กระดูกหน้าอก 
    • ระดับ 3B  สามารถพบเนื้องอกได้ทุกขนาดหรืออาจไม่พบ แต่เซลล์มะเร็งได้เติบโตที่ผนังทรวงอกบริเวณเต้านม และอาจพบมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองถึง 9 ต่อม รวมถึงบริเวณต่อมน้ำเหลืองใกล้กระดูกหน้าอก 
    • ระดับ 3C สามารถพบเนื้องอกได้ทุกขนาดหรืออาจไม่พบ และมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังที่ผิวหนังของเต้านม และพบมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ที่อาจมากกว่า 10 ต่อมขึ้นไป รวมถึงบริเวณต่อมน้ำเหลืองใกล้กระดูกหน้าอก 
  • ระยะที่ 4 สามารถพบเนื้องอกได้ทุกขนาด และเซลล์มะเร็งเต้านมได้แพร่กระจายและลุกลามไปทั่วเต้านม รวมถึงต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง และอวัยวะอื่น ๆ เช่น ปอด ตับ สมอง 

การกำหนดระยะของมะเร็ง

นอกจากระยะที่ใช้ตัวเลขโรมันกำหนด แล้วการกำหนดระยะของโรคมะเร็งเต้านม อาจจะใช้ระยะ TNM staging เพื่อเป็นตัวกำหนดระยะของมะเร็ง โดยมีตัวอักษร T N และM ในการแยกผู้ป่วยออกเป็นระยะต่าง ๆ

    • T (Tumor) คือเนื้องอกหรือมะเร็งที่พบในเต้านม โดย T ตามด้วยตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 4 อธิบายถึงขนาดของเนื้องอก หากค่า T ที่สูงขึ้นหมายถึงเนื้องอกที่ใหญ่ขึ้น
    • N (Node Involement) การแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง โดยยังสามารถระบุเป็นตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 3 เพื่อบอกว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เต้านมหรือไม่ แล้วถ้ามี มีจำนวนเท่าใด
    • M (Metastasis) หมายถึงการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดย M ตามด้วย 0 หรือ 1 เพื่อบ่งชี้ว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะที่อยู่ห่างไกลหรือไม่ เช่น ปอด ตับ กระดูก

วิธีการรักษามะเร็งเต้านม 

โดยมะเร็งเต้านมมีหลายระยะ ซึ่งการรักษาในแต่ละระยะอาจจะแตกต่างกัน การรักษาหลักสำหรับมะเร็งเต้านม ซึ่งประกอบด้วย 

  • การผ่าตัด มี 2 ประเภทหลัก คือ 
    • การผ่าตัดรักษาเต้านมโดยเอาก้อนมะเร็ง หรือเนื้องอกออก 
    • การผ่าตัดตัดเต้านมโดยตัดเต้านมทิ้งทั้งหมด
  • รังสีบำบัด โดยใช้ปริมาณรังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง มักให้หลังการผ่าตัด หรือเคมีบำบัดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่อาจยังคงเหลืออยู่
  • เคมีบำบัด การใช้ยาต้านมะเร็ง cytotoxic เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง มักใช้หลังการผ่าตัดเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่ยังคงเหลืออยู่ สิ่งนี้เรียกว่าการให้ยาเคมีบำบัดเสริมภายหลังการผ่าตัด บางกรณีอาจได้รับเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัด เพื่อลดขนาดของเนื้องอก เรียกว่าการให้ยาเคมีบำบัดเสริมก่อนการผ่าตัด
  • ฮอร์โมนบำบัด มะเร็งเต้านมบางชนิดถูกกระตุ้นจากฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือโปรเจสเตอโรน ที่สามารถพบได้ตามปกติในร่างกาย โดยการบำบัดด้วยฮอร์โมนเป็นการช่วยลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกาย

วิธีการรักษาอาจใช้แบบใดแบบหนึ่งหรือผสมผสาน ซึ่งประเภทการรักษาหรือการผสมผสานอยู่กับการวินิจฉัยมะเร็งและระยะมะเร็งที่เป็น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Types of breast cancer. https://www.nationalbreastcancer.org/types-of-breast-cancer/. Accessed August 28, 2021

Types of Breast Cancer. https://www.webmd.com/breast-cancer/breast-cancer-types. Accessed August 28, 2021

Breast cancer types: What your type means. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/breast-cancer/in-depth/breast-cancer/art-20045654. Accessed August 28, 2021

Breast cancer stages. https://www.cancercenter.com/cancer-types/breast-cancer/stages. Accessed August 28, 2021

Breast Cancer Screening Tests. https://www.cdc.gov/cancer/breast/basic_info/screening.htm. Accessed August 28, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/06/2024

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขข้อข้องใจทำไมต้องรีบ ตรวจเต้านม

มะเร็งเต้านมกับทางเลือกรักษาที่ไม่ต้องตัดเต้า


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 25/06/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา